"..การมาทับมิ่งขวัญนี้ เป็นการเริ่มต้นชีวิตใหม่ ต้องเป็นคนจริง ทำจริง พูดจริง เมื่อทำจริง พูดจริงก็ต้องรู้ของจริง จริงๆ.."
หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ 12 กรกฎาคม 2530
www.wattubmingkwan.com เวบหลัก วัดทับมิ่งขวัญ เวบนี้เป็นเพียง เวบสำรองครับผู้จัดทำ 9 มิถุนายน 2555

การปฏิบัติธรรม "ทำความรู้สึกตัว"


   การปฏิบัติธรรม "ทำความรู้สึกตัว" 
                                                     โดย...หลวงพ่อเทียน  จิตฺตสุโภ
                                             (จากหนังสือคู่มือการทำความรู้สึกตัว  หน้า10 - 32)
               "หมายถึง ความระลึกได้ ไม่ใช่ระลึกชาติแล้วชาติก่อนนะ  ระลึกได้เพราะการเคลื่อน  การไหว การนึก  การคิดนี่เอง  จึงว่าสติ-ความระลึกได้ สัมปชัญญะ-ความรู้ตัว                                                               (18)
               บัดนึ้เราไม่ต้องพูดอย่างนั้น  เพราะคนไทยไม่ได้(พูด)ว่า สติ  "ให้รู้สึกตัวนี่ หลวงพ่อพูดอย่างนี้ให้รู้สึกตัว  การเคลื่อน การไหว กะพริบตาก็รู้หายใจก็ู้  นี่  จิตใจมันนึกคิดก็รู้อันนี้เรียกว่าให้มีสติก็ได้หรือว่าให้รู้สึกตัวก็ได้           (18)       
                ความรู้สึกตัวนั้น  จึงมีค่ามีคุณมากเอาเงินชื้อไม่ได้  ให้คนอื่นรู้แทนเราไม่ได้ เช่นหลวงพ่อกำ(มือ)อยู่นี่  คนอื่นมองเห็นว่าความรู้สึก(ของหลวงพ่อเป็นอย่างไร? รู้ไหมไม่รู้เลย แต่คนอื่นมองเห็นว่า หลวงพ่อกำมือ    แต่ความรู้สึก(ที่)มือหลวงพ่อสัมผัสกันเข้านี่คนอื่นไม่รู้ด้วย  คนอื่นทำ   หลวงพ่อก็เห็นแต่หลวงพ่อรู้นำ(ด้วย)ไม่ได้                                                      )         
             นี้แหละใบไม้กำมือเดึยว คือ ให้รู้การเคลื่อนไหวของรูปกายภายนอก  และให้รู้การเคลื่อนไหวของจิตใจมันนึกคิด                                         (7)
                                       การสร้างจังหวะ
               การเจริญสติ   เจริญสมาธิ  เจริญปัญญานั้น  ต้องมี "วิธีการที่จะนำตัวเรา ไปสู่ตัวสติ ตัวสมาธิ ตัวปัญญาได้ การทำทุกสิ่งทุกอย่างต้องมีวิธีการ  จึงจะเข้าถึงจุดหมายปลายทางได้                                                           (7)                                   
              ดังนั้นการมาที่นี่ต้องพยายาม ไม่ต้องนั่งนิ่งๆ สอนกันแนะนำกัน ให้มีวิธีทำ  โดยเคลื่อนไหวอยู่เสมอ ทำเป็นจังหวะ                            (22 .8-9)                      
              วิธีทำนั้น  ก็ต้องนั่ง แต่ไม่ต้องหลับตา  อันนี้มีวิธีทำ  นั่งพับเพียบก็ได้  นั่งขัดสมาธิก็ได้  นั่งเก้าอี้ก็ได้ นอนก็ได้  ยืนก็ได้  ทำความรู้สึกตัว.....
             พลิกมือขวาตะแคงขึ้น..ทำช้าๆ...ให้รู้สึก  ไม่ใช่(พูด "พลิกมือขวา"อันนั้นมากเกินไป  เพียงแต่ว่า ให้รู้สึกเท่านั้นเอง พลิกมือขึ้น...ให้รู้สึก หยุดไว้  ยกมือขึ้น...ให้รู้สึก  ให้มันหยุดก่อน  ให้มันหยุด มันไหวไป...ให้รู้  ขึ้นครึ่งตัวนี่...ให้มันรู้
 แล้วก็เอามาที่สะดือ 
            อันนี้มีจังหวะซ้าย-ขวา  เป็น 6 จังหวะ  เวลาเอามือออกมาก็ซ้าย-ขวา  รวมกันเข้ามี 8 จังหวะ อันนี้เป็นจังหวะ เป็นจังหวะ               (22 นง62-63)                                                                    
                การเจริญสตินั้น  ท่านว่าให้ทำบ่อยๆ ทำบ่อยๆก็ทำความรู้สึกนี่เอง 
เมื่อพูดถึงความรู้สึกแล้ว  ก็พูดวิธีปฏิบัติพร้อมๆกันไปทุกคนทำตามอาตมาก็ได้
   (ดูภาพประกอบ)
1.  เอามือวางไว้ที่ขาทั้ง
     สองข้าง..คว่ำาไว้    
2.  พลิกมือขวาตะแตง
     ขึ้น.....ให้รู้สึก
3.  ยกมือขวาขึ้นครึ่งตัว
   ให้รู้สึก..หยุดก็ให้รู้สีก
4.  เอามือขวาขึ้นมาที่
     สะดือ.....ให้รู้สึก
5.  พลิกมือซ้ายตะแคง
     ขึ้น...ให้มีความรู้สึก 
6.  ยกมือซ้ายขึ้นครึ่งตัว
     ...ให้มีความรู้สึก
7. เอามือซ้ายมาที่สะดือ
    .....ให้รู้สึก    
8. เลื่อนมือขวาขึ้นหน้า
     อก.....ให้รู้สึก
9. เอามือขวาออกตรงข้าง...ให้รู้สึก  10. ลดมือขวาลงที่ขาขวา ตะแคงไว้..ให้รู้สึก
11. ว่ำมือขวาลงที่ขาขวา...ให้รู้สึก  12. ลื่อนมือซ้ายขึ้นที่หน้าอก.ให้มีความรู้สึก
13. เอามือซ้ายออกมาข้าง...ให้รู้สึก 14.ลดมือซ้ายออกที่ขาซ้าย ตะแคงไว้.ให้รู้สึก 
 15. คว่ำามือซ้ายลงที่ขาซ้าย..ให้รู้สึก(จากนั้นทำเหมือนเดิมเป็นรอบๆไปเรื่อยๆ)  
              อันนี้เป็นวิธีปฏิบัติ   เป็นการเจริญสติ   เราไม่ต้องไปศึกษาเล่าเรียนใน
พระไตรปิฎกก็ได้  การไปศึกษาเล่าเรียนในพระไตรปิกฎนั้นมันเป็นพิธี  คำพูดเท่า
นั้น  มันไม่ใช่เป็นการปฏิบัติเพื่อความเห็นเเจ้ง  การปฏิบัติเพื่อความเห็นแจ้ง  ทำอย่างนี้แหละ                                                                            (9)                                                                                                    
               เวลาลุกขึ้นมี 7 จังหวะ-วิธีลุก  เวลานั่งลงมี 8 จังหวะ-วิธีนั่ง แต่วิธีนอนตะแคงซ้าย  ตะแคงขวา   หรือนอนหงาย   ลุกทางซ้ายลุกทางขวา ลุกทางหงาย อันนั้นก็มีจังหวะ เช่นเดียวกัน   หรือจังหวะกราบ...เมื่อผมมาเข้าใจ คำว่า  เบญจางคประดิษฐ์ หมายถึง 5 จังหวะ เมื่อรู้อย่างนี้ก็ยกมือไหว้ตัวเอง  ไหว้ตัวเองก็มี 5 จังหวะเช่นเดียวกัน                                                      (22 .63)
                                การเดินจงกรม
              เดินจงกรม ก็หมายถึง  เปลี่ยนอิริยาบถนั่นเอง  ให้เข้าใจว่า เดินจงกรมเพื่ออะไร(เพื่อ)เปลี่ยนอิริยาบถ  คือนั่งนานมันเจ็บแข้งเจ็บขา บัดนี้ เดินหลาย(เดินมาก)มันก็เมื่อยหลังเมื่อยเอว  นั่งด้านหนึ่ง เขาเรียกว่าเปลี่ยนอิริยาบถ  เปลี่ยนให้เท่าๆกัน   นั่งบ้างนอนบ้าง ยืนบ้าง เดินบ้าง  อิริยาบถ  ทั้ง 4 ให้เท่าๆกัน  แบ่งเท่ากันหรือไม่แบ่งเท่ากันก็ได้  เพราะว่าเราไม่มีนาฬิกานี่  น้อยมากอะไร ก็พอดีพอควร เดินเหนื่อยแล้ว ก็ไปนั่งก็ได้ นั่งเหนื่อยแล้ว ลุกเดินก็ได้                        (9)
       เวลาเดินจงกรมไม่ให้แกว่งแขนเอามือกอดหน้าอกไว้หรือเอามือไขว้ไว้ข้างหลังก็ได้    (1)
          เดินไปเดินมา  ก้าวเท้าไปก้าวเท้ามาทำความรู้สึก แต่ไม่ได้พูดว่า "ซ้ายย่างหนอขวาย่างหนอ"ไม่ต้องพูดเพียงเอาความรู้สึกเท่านั้น  (9)                
            เดินจงกรมก็อย่าไปเดินไวเกินไป อย่าไปเดินช้าเกินไปเดินให้พอดี            (23 .1)
            เดินไปก็ให้รู้...นี่เป็นวิธีเดินจงกรมไม่ใช่ว่าเดินจงกรม  เดินทั้งวันไม่รู้สึกตัวเลย อันนั้นก็เต็มทีแล้ว  เดินไปจนตายมันเป็นอย่างนั้น ไม่ใช่เดินอย่างนั้น  เดินก้าวไปก้าวมา"รู้"นี่(เรียก)ว่าเดินจงกรม                          (9) 
           การเจริญสติในชีวิตประจำวัน                                 
     การเจริญสตินี้ ต้องทำมากๆ  ทำบ่อยๆ นั่งทำก็ได้ นอนทำก็ได้ ขึ้นรถลงเรือทำได้ทั้งนั้น เวลาเรานั่งรถเมล์นั่งรถยนต์ก็ตามเราเอามือวางไว้บนขา พลิกึ้น-คว่ำลงก็ได้หรือเราไม่อยากพลิกขึ้น-คว่ำลง เราเพียงเอามือสัมผัสนิ้วอย่างนี้ก็ได้สัมผัสอย่างนี้ให้มีความตื่นตัวทำช้าๆหรือจะกำมือ-เหยียดมืออย่างนี้ก็ได้    (9)
                  
            แบมือ                      กำมือ                        คลึงนี้วมือ
    ไปไหนมาไหน  ทำเล่นๆไป  ทำเพื่อความสนุก นี่อย่างนี้ ทำมือเดียว อย่าทำพร้อมกันสองมือสามมือทำมือขวามือซ้ายไม่ต้องทำทำมือซ้ายมือขวาไม่ทำ  (9)                                                                            
             "ไม่มีเวลาที่จะทำ"  บางคนว่า  "ทำไม่ได้ มีกิเลสเข้าใจอย่างนั้น   อันนี้ถ้าเราตั้งใจแล้ว  ต้องมีเวลา มีเวลาเพราะเราหายใจได้   เราทำการทำงานอะไรให้มีความรู้สึกตัว เช่น เราเป็นครูสอนหนังสือ  เวลาเราจับดินสอเอามาเขียนหนังสือ...เรามีความรู้สึกตัว เขียนตัวหนังสือไปแล้ว...เราก็รู้   อันนี้เป็นการเจริญสติแบบธรรมดาๆ ศึกษาธรรมะกับธรรมชาติ
              เวลาเราทานอาหาร  เราเอาช้อนเราไปตักเอาข้าวเข้ามาในปากเรา...เรามีความรู้สึกตัวในขณะที่เราเคี้ยวข้าว...เรามีความรู้สึกตัว  กลืนข้าวเข้าไปในท้องไปในลำคอ...เรามีความรู้สึกตัว  อันนี้เป็นการเจริญสติ                    (9)                                   
                   ทำให้ติดต่อกันเหมือนลูกโซ่
             ที่อาตมาพูดนี้  อาตมารับรองคำสอนของพระพุทธเจ้า  และรับรองวิธีที่อาตมาพูดนี้รับรองจริงๆ  ถ้าพวกท่านทำจริงๆแล้ว  ทำให้มันติดต่อกันเหมือนลูกโซ่  หรือเหมือนนาฬิกาที่มันหมุนอยู่ตลอดเวลา
             แต่ไม่ใช่ว่าทำอย่างนี้  ให้มันเหมือนลูกโซ่  หมุนอยู่เหมือนกับนาฬิกานี่ 
ไม่ให้ไปไปให้ไปทำการทำงานอื่นใดทั้งหมด    ให้ทำความรู้สึก    ทำจังหวะเดิน
จงกรม  อยู่อย่างนี้ตลอดเวลาหรือไม่ใช่อย่างนั้น
              คำว่า"ให้ทำอยู่ตลอดเวลา"นั้น (คือ)เราทำความรู้สึก  ซักผ้าซักเสื้อ  ถู
บ้านกวาดบ้าน  ล้างถ้วยล้างจาน  เขียนหนังสือ  หรือชื้อขายก็ได้  เพียงเรามีความรู้สึกเท่านั้น  แต่ความรู้สึกอันนี้แหละ  มันจะสะสมเอาไว้ทีละเล็กทีละน้อย  เหมือนกับเราที่มีขันหรือมีโอ่งน้ำ หรือมีอะไรก็ตามที่มันดี  ที่รองรับมันดี  ฝนตกลงมา  ตกทีละนิดทีละนิด  เม็ดฝนเม็ดน้อยๆตกลงนานๆ แต่มันเก็บได้ดีน้ำก็เลยเต็มโอ่งเต็มขันขึ้นมา
               อันนี้ก็เหมือนกัน  เราทำความรู้สึกยกเท้าไป  ยกเท้ามา ยกมือไป ยกมือมา เรานอนกำมือ เหยียดมือ  ทำยยู่อย่างนั้น  หลับแล้วก็แล้วไป  เมื่อนอนตื่นขึ้นมา  เราก็ทำไป  หลับแล้วก็แล้วไป  ท่านสอนอย่างนี้  เรียกว่าทำบ่อยๆ นี้เรียกว่า เป็นการเจริญสติ                                                                   (9)
                                     สรุปวิธีปฏิบัติ
               ถ้าทำจังหวะให้ติดต่อกันเหมือนลูกโซ่มีความรู้สึกอยู่ทุกขณะ ยืน เดิน นั่ง นอน คู้เหยียด เคลื่อน ไหว อย่างที่พระพุทธเจ้าท่านสอนนั้น
                 แต่เรามาทำเป็นจังหวะ  พลิกมือขึ้นคว่ำมือลง  ยกมือไป  เอามือมา กัม เงย เอียงซ้าย เอียงขวา กะพริบตา  อ้าปาก  หายใจเข้า  หายใจออก รู้สึกอยู่ทุกขณะ จิตใจมันนึกมันคิด  รู้สึกอยู่ทุกขณะ   อันนี้แหละวิธีปฏิบัติ   คือให้รู้ตัวไม่ให้นั่งนิ่งๆไม่ให้นั่งสงบคือให้มันรู้                         (22 .28)                                             
         รับรองว่าถ้าทำจริง  ในระยะ 3 ปีอย่างนาน  ทำให้ติดต่อกันจริงๆนะ อย่างกลาง 1 ปี อย่างเร็วที่สุดนับแต่ 1 ถึง 90 วัน อานิสงส์ไม่ต้องพูดถึงเลย ความทุกข์จะลดน้อยไปจริงๆ ทุกข์จะไม่มารบกวนเรา              (22 .29)

      ­(ที่เป็นตัวเลขในวงเล็บ นั้นคือระหัสของหนังสือและม้วนเทปหลวงพ่อ)