"..การมาทับมิ่งขวัญนี้ เป็นการเริ่มต้นชีวิตใหม่ ต้องเป็นคนจริง ทำจริง พูดจริง เมื่อทำจริง พูดจริงก็ต้องรู้ของจริง จริงๆ.."
หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ 12 กรกฎาคม 2530
www.wattubmingkwan.com เวบหลัก วัดทับมิ่งขวัญ เวบนี้เป็นเพียง เวบสำรองครับผู้จัดทำ 9 มิถุนายน 2555

การปฏิบัติธรรม(ทำ)


     การปฏิบัติธรรม(ทำ)
                   (นำแสดงเพียงบางส่วนเพื่อเป็นข้อสังเกตและนำไปปฏิบ้ติ)             
                 *************************************************
             พระพุทธเจ้าทรงสอนให้รู้จักหน้าที่ของเรา หน้าที่ของ
มนุษย์คือการปฏิบัติธรรมะ  หน้าที่ของมนุษย์คือการสอนมนุษย์ให้เป็นมนุษย์ ดังนั้นเราจึงควรดูที่ตัวของเราเองก่อน เราควรพิจารณาตัวของเราเองก่อน เราควรสอนตัวเราเองก่อนถ้าเราทำชีวิตของเราให้สูญไปโดยไร้ประโยชน์ เราไม่สามารถจะซื้อมันกลับมาได้อีก  ถ้าเราปล่อยให้ชีวิตของเราเป็นทุกข์เราทำชีวิตของเราให้สิ้นเปลือง พระพุทธเจ้ามิได้ ทรงสอนอะไรอื่นนอกจากการดับทุกข์  แต่เมื่อเราไม่รู้เราแสวงหาออกนอกตัวเรา แต่ทุกข์ชนิดนั้นมิได้ดำรงอยู่
             คำสอนของผู้เป็นครูของโลกทั้งหลายเปรียบเหมือนกับใบไม้ทั้งป่า แต่ใบไม้ที่สามารถนำมาทำยาได้มีเพียงเล็กน้อยอย่า ได้เอามาทั้งหมดทั้งรากและลำต้น เมื่อมาปฏิบัติกรรมฐานหรือวิปัสสนา เราควรจะเอาเฉพาะสิ่งที่สามารถป้องกันไม่ให้ทุกข์เกิด  สามารถดับทุกข์ที่ต้นเหตุของมัน สามารถทำลายโมหะเราเอาเฉพาะแก่น แก่นของคำสอนที่  ข้าพเจ้าพูดถึงอยู่นี้คือ การมีสติ มีปัญญา เห็นความคิด  เมื่อความคิดเกิดขึ้นเห็นมันรู้มัน  เข้าใจมันรู้มันในทุกลักษณะที่มันเกิด และรู้ถึงวิธีป้องกันมิให้มันมาลวงเรา
           ไม่ว่าเราจะอยู่    ที่ใด  นั่นคือที่  ที่เราจะต้องปฏิบัติ ไม่มีใครจะทำแทนเราได้ ไม่ว่าเราจะไปที่ใดเราเป็นบุคคลที่ไป ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไดเราเป็นบุคคลที่อยู่ นั่ง กิน ดื่ม  นอนหลับเราเองเป็นผู้กระทำ ถ้าเราเป็นบุคคลที่รักษาศีลหรือให้ทานเราสามารถปฏิบัติได้ และถ้าเราเป็นบุคคลที่ไม่เคยกระทำสิ่งเหล่านี้  เราก็สามารถปฏิบัติได้เช่นเดียวกัน  การช่วยเหลือบุคคลอื่นนั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่ก็ดีในทางโลก  ส่วนการปฏิบัติเจริญสติ  สมาธิ  ปัญญา นั้นดีในทุกๆทาง ดังนั้นก่อนที่เธอจะสอนผู้อื่นเธอควรจะฝึกฝนตัวเองกระทั่งเธอเห็น รู้ และเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งและอย่างแท้จริง  เมื่อเธอเห็นจริง รู้จริงและเป็นจริงแล้ว เธอจะสามารถสอนผู้อื่นได้อย่างสบาย
           ดังนั้นการปฏิบัตินี้เราต้องเรียนด้วยตัวของเราเอง  เราต้องสอนตัวเราเอง  เราต้องเห็นด้วยตัวของเราเอง เราต้องรู้ด้วยตัวของเราเอง  เราต้องเข้าใจด้วยตัวของเราเอง  เราต้องทำด้วยตัวของเราเอง ดังนั้นเธอไม่จำต้องสนใจในบุคคลอื่นเพียงปฏิบัติการเคลื่อนไหวนี้ให้มาก ทำเฉยๆ ไม่รีบร้อนไม่ลังเลสงสัยไม่คาดคิดล่วงหน้า และทำโดยไม่คาดหวังผล  ให้ง่ายๆ และเพียงแต่เคลื่อนไหว เคลื่อนไหวทีละครั้งและรู้เมื่อเธอไม่รู้ปล่อยมันไป เมื่อเธอรู้ปล่อยมันไป บางครั้งเธอรู้บางครั้งเธอไม่รู้มันเป็นเช่นนั้น แต่ให้รู้ เมื่อร่างกายเคลื่อนไหวรู้มันเมื่อจิตใจเคลื่อนไหว รู้มัน การปฏิบัตินี้เป็นการปฏิบัติตลอด๒๔  ชั่วโมง  ดังนั้นให้ผ่อนคลายและให้เป็นธรรมชาติ เป็นปกติธรรมดา จงตั้งใจปฏิบัติจริงๆ และปฏิบัติอย่างสบาย
วิธีของการเจริญสติในชีวิตประจำวัน
เมื่อเราขึ้นรถหรือลงเรือและนั่งลงเรียบร้อยแล้ว เราพลิกมือขึ้นพลิกมือลง เราเคลื่อนมือ เหยียดมือหรือคลึงนิ้วมือ กะพริบตา หายใจ กลืนน้ำลาย และอื่นๆ
                                               
               คลึงนิ้วมือ                    กำมือ                         เหยียดมือ
ให้รู้สึกตัวถึงการเคลื่อนไหวเหล่านี้มันเป็นวิธีที่เรียกความรู้สึกตัวให้กลับมา ที่ตัวของเราเอง เมื่อความคิดเกิดขึ้น ให้รู้สึกถึงความคิดนั้นและปล่อยวาง
     วิธีของการเจริญสติเมื่อเราอยู่ที่บ้าน
เราอาจจะนั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งบนเก้าอี้ หรือนั่งเหยียดขา เราอาจจะยืนหรือนอนสร้างจังหวะได้เช่นเดียวกันเมื่อเราเดินจงกรม (เดิน กลับไปกลับมาระยะประมาณ ๘–๑๒ ก้าว)เราต้องไม่แกว่งแขน เราอาจกอดอก หรือเอามือประสานไว้ข้างหน้า หรือประสานไว้ข้างหลังก็ได้

วิธีปฏิบัติในท่านั่งมีดังนี้ (ดูภาพประกอบวิธีสร้างจังหวะ)
1. มือทั้งสองข้างคว่ำไว้ที่ขา                2.พลิกมือขวาตะแคงขึ้น....ให้รู้สึก
3. ยกมือขวาขึ้นครึ่งตัวให้รู้สึกแล้วหยุด  4.เอามือขวาขึ้นมาที่สะดือ.....ให้รู้สึก
5 พลิกมือซ้ายตะแคงขึ้น..ให้มีความรู้สึก 6.ยกมือซ้ายขึ้นครึ่งตัว.ให้มีความรู้สึก
7. เอามือซ้ายมาที่สะดือ.....ให้รู้สึก        8.เลื่อนมือขวาขึ้นหน้าอก....ให้รู้สึก
9. เอามือขวาออกตรงข้าง...ให้รู้สึก    10. ลดมือขวาลงที่ขาขวาตะแคงไว้...ให้รู้สึก              11. คว่ำมือขวาลงที่ขาขวา...ให้รู้สึก    12.เลื่อนมือซ้ายขึ้นที่อก.ให้มีความรู้สึก  
13. เอามือซ้ายออกมาข้าง.ให้รู้สึก  14.ลดมือซ้ายออกที่ขาซ้ายตะแคงไว้ให้รู้สึก 15.คว่ำมือซ้ายลงที่ขาซ้าย..ให้รู้สึก



กล่องข้อความ:            จากนั้นทำเหมือนเดิมเป็นรอบๆไปเรื่อยๆ (วิธีการสร้างจังหวะนี้ เป็นการกำหนดความรู้ตัว เพื่อให้การเคลื่อนไหวนี้เป็นนิมิต เป็นเครื่องหมาย ในการตรวจสอนจิต จะเป็นการนำเอาจิตนั้นมาฝึกหัดหรือพัฒนาปรับปรุง แก้ไขให้ดียิ่งขึ้น (ซึ่งไปตรงกับคำสอนของพระพุทธเจ้า ในหลักสติปัฏฐานสูตร ที่ว่าให้มีการกำหนด กาย เวทนาจิต ธรรม ให้มีสติสัมปะชัญญะ มีความ รู้สึกตัวทั่วพร้อม ในการเคลื่อนไหว คู้เหยียด แลเหลียว กระพริบตา หายใจ กลืนน้ำลาย เป็นต้น ถ้าอยู่บนรถหรือในที่ชุมชนต่างๆที่ไม่เหมาะ กับการสร้าง จังหวะ  เราก็ให้วิธีพริกมือคว่ำมือ กำมือเหยียดมือ หรือจะกำหนดรู้ส่วนใด ส่วนหนึ่งของร่างกายก็ได้ )
                         การเดินจงกรม
    การเดินจงกรมไม่ใช่เดินเป็นวงกลมแต่เดินกลับไปกลับมาให้รู้สึกตัว” โดยไม่ต้องแกว่งแขน ไม่ต้องบริกรรมไม่ต้องหลับตา ให้กำหนดความรู้สึกเฉยๆเส้นทางประมาณ 8-12 ก้าว เดินธรรมดาแต่ให้มีความ”รู้สึกตัว” รู้อยู่กับการเคลื่อนไหวกลับไปกลับมา  เพื่อเป็นการสลับกับการสร้างจังหวะ จะได้เจริญสติได้ยาวนานและต่อเนื่อง  เมื่อนั่งเหนื่อยก็ลุกขึ้นมาเดิน (สลับไปสลับมา)