"..การมาทับมิ่งขวัญนี้ เป็นการเริ่มต้นชีวิตใหม่ ต้องเป็นคนจริง ทำจริง พูดจริง เมื่อทำจริง พูดจริงก็ต้องรู้ของจริง จริงๆ.."
หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ 12 กรกฎาคม 2530
www.wattubmingkwan.com เวบหลัก วัดทับมิ่งขวัญ เวบนี้เป็นเพียง เวบสำรองครับผู้จัดทำ 9 มิถุนายน 2555

สุภาษิตเตือนใจ สุภาษิตเตือนใจ


Éภาค  9 สุภาษิตเตือนใจÊ

1.ปัจฉิมโอวาท (วาจาครั้งสุดท้าย)
วะยะ ธัมมา สังขารา,         สังขารทั้งหลาย มีความ
                                   เสื่อมไปเป็นธรรมดา,
อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถะ, ท่านทั้งหลายจงทำความ
                                ไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด,          
อะยัง ตะถาคะตัสสะ ปัจฉิมา วาจา. นี้เป็นพระวาจา
                              มีในครั้งสุดท้าย ของ
                              พระตถาคตเจ้า.

L ความยาก 4 อย่าง J
   กิจโฉ มะนุสสะปะฏิลาโภ,  การได้อัตภาพเป็น
                                     มนุษย์เป็นของยาก,
  กิจฉัง มัจจานะ ชีวิตัง,       การดำรงชีวิตอย่างสะ
                                     ดวก สบายเป็นของยาก,
   กิจฉัง สัทธัมมัสสะวะนัง,   การได้ฟ้งพระสัทธรรม
                                     เป็นสิ่งที่หาได้ยาก,
   กิจโฉ พุทธานะมุปปาโท,    ความเกิดขึ้นแห่งพุทธ
                                     ทั้งหลายเป็นการยาก,

K ต่างกันö
อาหาระนิททา ภะยะ เมถุนัญจะ สามัญญะ เม ตัปปสุภินะรานัง, ธัมโมหิ อธิโก วิเสโส ธัมเมนะ หี นา ปสุภิ นะรานัง.  การกิน การหลับนอน การระแวงภัย การสืบพันธ์     
          4 อย่างนี้, คนกับสัตว์มีเหมือนกัน,  ธรรมะเท่านั้น
          ที่ทำให้คนแตกต่าง จากสัตว์, ถ้าเพิกถอนธรรมะ
          ออกแล้ว  คนกับสัตว์ก็เหมือนกัน.
ÉจิตเดิมประภัสสรÊ
        ปะภัสสะระมิทัง ภิกขะเว จิตตัง ตัญจะ โข,
        อาคันตุเกหิ    อุปักกิเลเสหิ    อุปักกิลิฏฐัง,  
  ภิกษุทั้งหลายจิตนี้ประภัสสร  แต่ว่าจิตนั้นแลเศร้าหมอง-
  แล้ว ด้วยอุปกิเลส ที่เปรียบเหมือนอาคันตุกะผู้จรเข้ามา,

**ธรรมชาติของจิต** 
        ผันทนัง จะปะลัง จิตตัง ทุรักขัง ทุนนิวารยัง.
    จิตมีธรรมชาติ ดิ้นรนกวัดแกว่ง รักษายากห้ามยาก.

É จิตดี สุคติมีหวัง Ê
       จิตเต  สังกิลิฏเฐ  ทุคคะติ  ปาฏิกังขา,
   เมื่อจิตเศร้าหมอง ทุคติเป็นอันพึงหวัง,    
       จิตเต  อะสังกิลิฏเฐ  สุคะติ ปาฏิกังขา,
        เมื่อจิตผ่องใส สุคติเป็นอันพึงหวัง,

มีใจเป็นใหญ่
มะโน ปุพพังคะมา ธัมมา มะโนเสฏฐา มะโนมะยา,
ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นใหญ่ มีใจประเสริฐ สำเร็จได้ที่ใจ,
มะนะสา เจ ปะทุฏเฐนะ  ตาสะติ วา กะโรติ วา,
  ถ้าคนมีใจชั่วแล้ว  พูดอยู่ก็ตาม  ทำอยู่ก็ตาม,
ตะโต นัง  ทุกขะมะเวติ จักกังจะ วะหะโต  ปะทัง,
  ความทุกข์ย่อมติดตามคนเหล่านั้น  เหมือนล้อเกวียน
  หมุนตามรอยเท้าโคฉันนั้น,

wอย่าลืมเป้าหมายw
      อัตตทัตถัง  ปรัตเถนะ  พหุนาปิ  นะ  หาปเย 
      อัตตทัตถม  ภิญญายะ  สทัตถปสุโต  สิยา 
  ถึงจะทำประโยชน์แก่คนอื่นมากมาย  ก็ไม่ควรละ 
  ทิ้งจุดหมาย ปลายทางของตน, แล้วก็ควรเอาใจใส่
ขวนขวายทำสิ่งนั้นด้วย.
É ผู้ชี้ขุมทรัพย์ Ê   
นะ เต อะหัง อานันทะ  ตะถา ปะรักกะมิสสามิ,  
อานนท์ เราจะไม่ทำกะพวกเธออย่างทะนุถนอม,
ยะถา  กุมภะกาโร  อามะเก  อามะกะมัตเต,      
    เหมือนพวกช่างหม้อ ทำกับหม้อที่ยังเปียกยังดิบอยู่,
นิคคัยหะนิคคัยหาหัง  อานันทะ  วักขามิ,                       
อานนท์   เราจะขนาบแล้วขนาบอีกไม่มีหยุด,
ปะวัยหะ  ปะวัยหาหัง  อานันทะ  วักขามิ,      
อานนท์  เราจะชี้โทษแล้วชี้โทษอีก  ไม่มีหยุด, 
โยสาโร โส ฐัสสะติ, มหาสุญญตสุตฺต  อุปริ.ม.14/245/356     
ผู้ใดมีมรรคผลเป็นแก่นสาร ผู้นั้นจักทนอยู่ได้,) 

Éการบูชาที่สูงสุดÊ
โยโข อานันทะ ภิกขุ วา ภิกขุณี วา อุปาสะโกวา
อุปาสิกา วา,    อานนท์ผู้ใดจะเป็นภิกษุ เป็นภิกษุณี  
                        หรือเป็นอุบาสกอุบาสิกาก็ตาม,
ธัมมาัมมะปะฏิปันโน วิหะระติ สามีจิปะฏิปันโน อะนุธัมมะจารี, ถ้าเป็นผู้ประพฤติธรรม สมควรแก่
                        ธรรมปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตามธรรมอยู่,
โส ตะถาคะตัง สักกะโรติ คะรุกะโรติ มาเนติ ปูเชติ ปะระมายะปูชายะ, ผู้นั้นแล ชื่อว่าได้สักการะ ได้ให้   
   (มหาปรินิพพาน     ความเคารพนับถือ  และบูชาเรา 
   สูตร 10/133)      ตถาคต ด้วยการบูชาอย่างสูงสุด,

Fตถาคตเพียงชี้ทางE
ตุมเหหิ กิจจัง  อาตัปปัง อักขาตาโร ตะถาคะตา,
ปะฏิปันนา  ปะโมกขันติ   ฌายิโน  มาระพันธนา,
   จงทำความเพียรด้วยตนเอง  ตถาคตเป็นแต่เพียงผู้ชี้ 
   บอก, ผู้ทำและเพ่งพินิจตามนั้น จักพ้นจากบ่วงแห่งมาร, 
É คำชี้ชวนÊ
      เอตานิ ภิกขะเว รุกขะมูลานิ เอตานิ สุญญาคารานิ, 
  ภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ทั้งหลาย นั่นเรือนว่างทั้งหลาย,
         ฌายะถะ  ภิกขะเว มา  ปะมาทัตถะ,
  ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเพียรเผากิเลสอย่าได้ประมาท,
         มา  ปัจฉา  วิปปะฏิสาริโน อะหุวัตถะ,
  เธอทั้งหลาย อย่าได้เป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ ในภายหลังเลย,
         อะยัง โว อัมหากัง อะนุสาสะนี,
 นี่แลเป็นพระวาจาเครื่องพร่ำสอน แด่เธอทั้งหลายของเรา,

Yอย่าพึ่งนอนใจY
   น สีลัพพตมัตเตนะ  พาหุสัจเจนะ   วา  ปะนะ
อะถะวา สมาธิลาเภนะ วิวิตตะสะยะเนนะ วา
     ผุสามิ  เนกขัมมสุขัง  อปุถุชชนเสวิตัง  ภิกขุ 
     วิสสาสมาปาทิ  อัปปัตโต  อาสวักขยัง ฯ272ฯ
ภิกษุทั้งหลาย เพียงมีศีลาจารวัตร เพียงมีภูมิปริยัติคงแก่
เรียน, เพียงพากเพียรปฏิบัติจนได้ฌาน เพียงอยู่ในสถาน
สงบสงัด, แต่ถ้าขจัดกิเลสไม่ได้หมด เธออย่าพึ่งนิ่งนอนใจ,     ว่าเธอได้รับสุขในบรรพชา ที่สามัญชนทั่วไปมิได้สัมผัส.


J ถอนราก J
ยถาปิ มูเล อนุปัททเว พัฬเห ฉินโนปิ รุกโข ปุนเรว รูห
ติ  เอวัมปิ  ตัณหานุสเย อนูหเต นิพพัตตติ ทุกขมิทัง    
              เมื่อรากยังมั่นคง ไม่มีอันตราย ตนไม้แม้ถูก
              ตัดแล้ว ย่อมงอกได้อีกฉันใด, เมื่อตัณหานุสัย 
               ยังไม่ถูกกำจัดแล้ว ทุกข์นี้ย่อมเกิดร่ำไปฉันนั้น,

 Éระวังจิต Ê
เย จิตตัง สัญญะเมสสันติ โมกขันติ มาระพันธะนา,
     ผู้ใดรู้จักระวังจิต ผู้นั้นจะพ้นจากบ่วงแห่งมาร,
.เส้นทาง(ทำ)สูความเจริญ. ฯ375ฯ
 ตัตรายะมาทิ  ภวติ  อิธะ  ปัญญัสสะ  ภิกขุโน
 อินทริยคุตติ  สนฺตุฏฐิ  ปาฏิโมกเข    สังวโร 
 มิตเต  ภชัสสุ  กัลยาเณ  สุทธาชีเว อตันทิเต,       
 สิ่งแรกที่ภิกษุผู้มีปัญญาจะต้องทำในพระศาสนานี้คือ, 
 สำรวมอินทรีย์ มักน้อยสันโดษ ระมัดระวังในศีลวินัย, 
 คบกัลยาณมิตรที่ดีงาม   คือ  เป็นผู้มีอาชีวะสะอาด.

ปัญญาเกิดเพราะปฏิบัติ
ยคา  เว  ชายะเต  ภูริ  อโยคา  ภูริสังขโย  เอตัง  
     เทวธาปถัง ญัตวา ภวายะ  วิภวายะ จะ  ตถัตตานัง 
     นิเวเสยย  ยะถา ภูริ  ปวัฑฒติ. ฯ282ฯ
   ปัญญาเกิดมิได้ เพราะตั้งใจพินิจเสื่อมไป  หรือเพราะ
   ไม่ได้ตั้งกระทำ,  เมื่อรู้ทางเจริญและทางเสื่อมของ
   ปัญญาแล้ว,  ควรตั้งตนโดยวิถีทางที่ปัญญาจะเจริญ.

Éดีเลว ที่กระทำÊ
    นะ ชัจจา  วะสะโล  โหติ,    จะเป็นคนเลวเพราะ 
                                      ชาติกำเนิด ก็หาไม่,
   นะ ชัจจา โหติ พรัหมะโณ,  จะเป็นคนดีเพราะ
                                      ชาติกำเนิด ก็หาไม่,
 กัมมุนา  วะสะโล  โหติ,      แต่จะเป็นคนเลว
                                            เพราะกระทำของตน,
กัมมุนา  โหติ  พรัหมะโณ,   จะเป็นคนดี เพราะ                
                                    การกระทำของตน.
Jเช่นไรได้ผลเช่นนั้นJ
      ยาทิสัง วะปะเต พีชัง ตาทิสัง ละภะเต ผะลัง
      กัลยาณะการี กัลยาณัง ปาปะการี จะ ปาปะกัง, 
         คนเราหว่านพืชเช่นใดย่อมได้รับผลเช่นนั้น,
         ทำดีย่อมได้รับผลดี ทำชั่วย่อมได้รับผลชั่ว.

                        ความดีของสติ.
 สะติ  เตสัง  นิวาระณัง, สติเป็นเครื่องกั้นบาปนิวรณ์,
  สะติ โลกัสมิ  ชาคะโร, สติเป็นธรรมปลุกให้ตื่นในโลก,
 สะติมะโต สะทา ภัททัง, ผู้มีสติเป็นคนทันสมัย,
 สะติ สัพพัตถะ ปัตติยา, สติจำปรารถนาในที่ทั้งปวง,

                   หมวดสุภาษิตแบบไทยๆ
J จิตอ่อนแอ 11 ประการ L

 1. อยู่ที่วิเวกยังปล่อยจิต ให้คิดหมกมุ่นในเรื่องโลกๆ,
2. แสวงหาแต่อามิส  มาเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว,  
3. ขาดความอดกลั้นต่อพระธรรมวินัย  ยึดมั่นในรักชัง,
4. ชอบความดี แต่ไม่ละบาป ไม่ปฏิบัติตนให้ก้าวหน้า,
5  ไม่ลดละสิ่งที่ควรลด ยกย่องตนเอง ส่ร้ายป้ายสีผู้อื่น
6. สอนผู้อื่นอย่างไร  ตนเองทำไม่ได้อย่างนั้น,
7. ชอบแลกเปลี่ยนสัจธรรม ด้วยอาหารและเงินตรา,
8. เข้ากับสิ่งแวดล้อมไม่ได้ ไม่มั่นใจตน มองคนในแง่ร้าย,
9. ไม่ดำรงตนในอุเบกขา เมื่อกระทบดอกไม้และก้อนอิฐ,
10.ไม่พอใจในสิ่งที่มี ไม่ยินดีในสิ่งที่ได้ จิตใจชอบดิ้นรน,
11.เกียจคร้านเห็นแก่ปากท้องชอบคลุกคลีไม่รู้หน้าที่,

         É ควรระวังใจใน 4 สถานÊ
1.ระวังใจไม่ให้กำหนัดในอารมณ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด,
2.ระวังใจไม่ให้ขัดเคืองในอารมณ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง,
3.ระวังใจไม่ให้หลงในอารมณ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความหลง,
4.ระวังใจไม่ให้มัวเมาในอารมณ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา,

[สัจจธรรมชีวิต[
-   ราตรีหนึ่งจะยาวนาน สำหรับคนนอนไม่หลับ หรือป่วยไข้
-   หนทางโยชหนึ่งจะยาวไกล สำหรับคนเดินทางเหนื่อยล้า,
-  สังสารวัฏ จะมีทุกข์วนเวียน เพราะคนไม่เข้าใจสัจรรม,
                             ÉคติธรรมÊ
คนรักกัน ถ้าทำผิดก็เห็นเป็นของน่าขำ ไม่ถือโทษไม่เอาความผิด  ถ้าทำถูกก็เห็นเป็นคนเก่งน่ายกย่อง น่าสรรเสริญ ทำอะไรก็มองในทางที่ดี ไม่จดจ่องเอาผิด
คนเกลียดกัน ถ้าทำถูกก็เห็นว่าอวดดี อวดเก่ง ถ้าทำ
ผิด ก็เห็นว่าโง่เชอะซะไม่ถูกต้อง โดยประการทั้งปวง,
คนมีคุณธรรม ย่อมชี้ถูกชี้ผิดตามเป็นจริง ไม่ลำเอียง   
มีความเป็นธรรม และมีการเจริญสติ แก้ไขตนเองเสมอ

 พัฒนาคน
   จะปลูกพืชต้องเตรียมดิน  จะกินต้องเตรียมอาหาร
   จะพัฒนาการต้องเตรียมคน จะพัฒนาคนก็ต้องพัฒนา
   ที่จิตใจ จะพัฒนาจิตใจก็ต้องพัฒนาด้วยการ”เจริญสติ”

จริตนิสัยแตกต่าง                               
 1. ราคะจริต     2. โทสะจริต    3.โมหะจริต  
 4. สัทธาจริต     5.พุทธิจริต     6.วิตกจริต

ลักษณะความู้ในธรรม                          
    ลักษณะที่ 1   รู้จัก     รู้จำ     รู้แจ้ง    รู้จริง
    ลักษณะที่ 2   รู้เท่า    รู้ทัน    รู้กัน     รู้แก้
    ลักษณะที่ 3   รู้         เห็น    เป็น     มี

                     Jมักเข้าข้างตนK
          - ถ้าตัวเองทำผิด นั้นเป็นการพลั้งเผลอ 
            ถ้าคนอื่นทำผิดเขาเป็นคนเซ่อ,
          - ถ้าคนอื่นพูดลับหลัง นั้นเป็นการนินทา
            ถ้าตัวเองพูดบ้าง นั้นเป็นการวิจารณ์,
          - ถ้าคนอื่นตระหนี่ เขาเป็นคนขี่เหนียว
            ถ้าตัวเองตระหนี่ ต้องเป็นคนมัธยัสถ์,
          ถ้าคนอื่นได้เปรียบ  เขาเป็นคนโกง
            ถ้าตนได้เปรียบ  ตนเป็นคนฉลาด, 
' กำหนดรู้ดูใจ '
    ดูกายเห็นจิต ดูคิดเห็นธรรม ดูกรรมเห็นนิพพาน
    ดูอาการเห็น ปรมัตถ์ ดูอริยสัจ เห็นความจริง,

[ไม่ทิ้งธรรม[
           อันธรรมดาไม้จัน แม้จะแห้ง  ก็ไม่ทิ้งกลิ่น,
           อัศวิน แม้จะเข้าก้าวสู่สงคราม  ก็ไม่ทิ้งลีลา,
           อ้อย แม้จะเข้าสู่หีบยนต์  ก็ไม่ทิ้งรสหวาน,
           บัณฑิต แม้จะประสบทุกข์ ก็ไม่ทิ้งธรรม.

จบภาค 9 สุภาษิตเตือนใจ
  หมายเหตุ สุภาษิตอาจผิดพลาด แต่ธรรมชาติหาผิดไม่              


















"ทำดีแต่ไม่ละชั่ว "
          คนเราชอบความดี  แต่ตนเองไม่ละทำชั่ว,
               เหมือนคนเราชอบทำบุญ  แต่ไม่ละบาป,

พระพุทธองค์ให้ดูโลก
เอถ  ปัสสถิมัง โลกัง  จิตตัง  ราชรถูมัง
ยัตถพาลา  วิสีทันติ     นัตถิ  สังโค  วิชานตัง.
  สูทั้งหลาย  จงมาดูโลกนี้  อันตระการตาดุจราชรถ
  ที่พวกคนเขลาหมกอยู่   แต่ผ้ร้หาข้องอย่ไม่. 

    คนแบกโลก     
  คนแบกโลก  ยิ่งแบก   ก็ยิ่งหนัก 
 มีคนทัก   ว่ามันทุกข์   อย่าแบกไว้ 
 ขาดสติ    หลงความคิด  ติดยึดไป
 ผลสุดท้าย  โลกทับ        ดับชีวา

              โลกคืออะไร,? 
                   โลกภายนอกกว้างไกลใครๆรู้
                   โลกภายในลึกซึ่งอยู่รู้บ้างไหม
                   ถ้าจะมองโลก ภายนอก มองออกไป   
                   ถ้าจะมองโลก ภายใน ให้มองตน
            






































Éภาค  สุภาษิตเตือนใจÊ

1.ปัจฉิมโอวาท (วาจาครั้งสุดท้าย)
วะยะ ธัมมา สังขารา  สังขารทั้งหลาย มีความ
                           เสื่อมไปเป็นธรรมดา,
อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถะท่านทั้งหลายจงทำความ
                       ไม่ประมาท  ให้ถึงพร้อมเถิด,          
อะยัง ตะถาคะตัสสะ ปัจฉิมา วาจา. นี้เป็นพระวาจา
                          มีในครั้งสุดท้าย ของพระ
                          ตถาคตเจ้า.

L ความยาก 4 อย่าง J
  กิจโฉ มะนุสสะปะฏิลาโภ,  การได้อัตภาพเป็นมนุษย์ เป็นของยาก,
  กิจฉัง มัจจานะ ชีวิตัง,      การดำรงชีวิตอย่างสะดวกสบายเป็นของยาก,
  กิจฉัง สัทธัมมัสสะวะนัง  การได้ฟ้งพระสัทธรรม  เป็นสิ่งที่หาได้ยาก,
  กิจโฉ  พุทธานะมุปปาโท ความเกิดขึ้นแห่งพุทธทั้งหลาย เป็นการยาก,

K คนกับสัตว์ต่างกันö
     อาหาระนิททา   ภะยะ  เมถุนัญจะ  สามัญญะ เม ตัปปสุภิ   
  นะรานัง, ธัมโมหิ อธิโก วิเสโส ธัมเมนะ หี นา ปสุภิ นะรานัง.
  การกิน  การหลับนอน การระแวงภัย  การสืบพันธ์  4 อย่างนี้,     
  คนกับสัตว์มีเหมือนกัน,  ธรรมะเท่านั้นที่ทำให้คนแตกต่าง    
  จากสัตว์, ถ้าเพิกถอนธรรมะออกแล้ว  คนกับสัตว์ก็เหมือนกัน.

ÉจิตเดิมประภัสสรÊ
        ปะภัสสะระมิทัง ภิกขะเว จิตตัง ตัญจะ โข,
        อาคันตุเกหิ    อุปักกิเลเสหิ    อุปักกิลิฏฐัง,  
  ภิกษุทั้งหลายจิตนี้ประภัสสร  แต่ว่าจิตนั้นแลเศร้าหมอง-
  แล้ว  ด้วยอุปกิเลส ที่เปรียบเหมือนอาคันตุกะผู้จรเข้ามา,

**ธรรมชาติย่างนี้** 
        ผันทนัง จะปะลัง จิตตัง ทุรักขัง ทุนนิวารยัง.
     จิตมีธรรมชาติ ดิ้นรนกวัดแกว่ง  รักษายาก  ห้ามยาก.

É จิตดี สุคติมีหวัง Ê
       จิตเต  สังกิลิฏเฐ  ทุคคะติ  ปาฏิกังขา,
เมื่อจิตเศร้าหมอง ทุคติเป็นอันพึงหวัง,    
       จิตเต  อะสังกิลิฏเฐ  สุคะติ ปาฏิกังขา,
       เมื่อจิตผ่องใส สุคติเป็นอันพึงหวัง,

                   Éระวังจิต พ้นจากมารÊ
  เย จิตตัง สัญญะเมสสันติ  โมกขันติ มาระพันธะนา,
     ผู้ใดรู้จักระวังจิต ผู้นั้นจะพ้นจากบ่วงแห่งมาร,

ธรรมมีใจเป็นใหญ่
  มะโน ปุพพังคะมา  ธัมมา  มะโนเสฏฐา  มะโนมะยา,
  ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นใหญ่ มีใจประเสริฐ สำเร็จได้ที่ใจ,
  มะนะสา  เจ  ปะทุฏเฐนะ  ตาสะติ  วา  กะโรติ  วา,
  ถ้าคนมีใจชั่วแล้ว  พูดอยู่ก็ตาม  ทำอยู่ก็ตาม,
  ตะโต นัง  ทุกขะมะเวติ  จักกังจะ  วะหะโต  ปะทัง,
  ความทุกข์ย่อมติดตามคนเหล่านั้น  เหมือนล้อเกวียน
  หมุนตามรอยเท้าโคฉันนั้น,

Éผู้ชี้ขุมทรัพย์ Ê   
นะ เต อะหัง อานันทะ  ตะถา ปะรักกะมิสสามิ,  
อานนท์  เราจะไม่ทำกะพวกเธออย่างทะนุถนอม,
 ยะถา  กุมภะกาโร  อามะเก  อามะกะมัตเต,      
      เหมือนพวกช่างหม้อ ทำกับหม้อที่ยังเปียกยังดิบอยู่,
  นิคคัยหะนิคคัยหาหัง  อานันทะ  วักขามิ,                       
อานนท์   เราจะขนาบแล้วขนาบอีกไม่มีหยุด,
ปะวัยหะ  ปะวัยหาหัง  อานันทะ  วักขามิ,      
อานนท์  เราจะชี้โทษแล้วชี้โทษอีก  ไม่มีหยุด, 
โยสาโร โส ฐัสสะติ,     มหาสุญญตสุตฺต  อุปริ.14/245/356     
ผู้ใดมีมรรคผลเป็นแก่นสาร  ผู้นั้นจักทนอยู่ได้,) 

Éการบูชาที่สูงสุดÊ
 โย โข  อานันทะ ภิกขุ วา  ภิกขุณี  วา อุปาสะโกวา อุปาสิกา วา,
 อานนท์ผู้ใดจะเป็นภิกษุ  เป็นภิกษุณี  หรือเป็นอุบาสกอุบาสิกาก็ตาม,
 ธัมมาัมมะปะฏิปันโน วิหะระติ สามีจิปะฏิปันโน อะนุธัมมะจารี,
 ถ้าเป็นผู้ประพฤติธรรม สมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตามธรรมอยู่,
โส ตะถาคะตัง สักกะโรติ คะรุกะโรติ มาเนติ ปูเชติ ปะระมายะปูชายะ,
ผู้นั้นแล ชื่อว่าได้สักการะ ได้ให้ความเคารพนับถือ  และบูชาเรา 
ตถาคต   ด้วยการบูชาอย่างสูงสุด (มหาปรินิพพานสูตร 10/133)

Éคำชี้ชวนพร่ำสอนÊ
         เอตานิ ภิกขะเว รุกขะมูลานิ เอตานิ สุญญาคารานิ, 
     ภิกษุทั้งหลาย  นั่นโคนไม้ทั้งหลาย นั่นเรือนว่างทั้งหลาย,
         ฌายะถะ  ภิกขะเว มา  ปะมาทัตถะ,
     ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเพียรเผากิเลสอย่าได้ประมาท,
         มา  ปัจฉา  วิปปะฏิสาริโน อะหุวัตถะ,
     เธอทั้งหลาย  อย่าได้เป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ  ในภายหลังเลย,
         อะยัง โว อัมหากัง อะนุสาสะนี,
     นี่แลเป็นพระวาจาเครื่องพร่ำสอน แด่เธอทั้งหลายของเรา,

Yอย่าพึ่งนอนใจY
           สีลัพพตมัตเตนะ  พาหุสัจเจนะ   วา  ปะนะ
     อะถะวา  สมาธิลาเภนะ วิวิตตะสะยะเนนะ วา 271
     ผุสามิ  เนกขัมมสุขัง  อปุถุชชนเสวิตัง  ภิกขุ 
     วิสสาสมาปาทิ  อัปปัตโต  อาสวักขยัง        272
ภิกษุทั้งหลาย เพียงมีศีลาจารวัตร เพียงมีภูมิปริยัติคงแก่
 เรียน, เพียงพากเพียรปฏิบัติจนได้ฌาน เพียงอยู่ในสถานสงบ
 สงัด, แต่ถ้าขจัดกิเลสไม่ได้หมด เธออย่าพึ่งนิ่งนอนใจ, ว่าเธอ
 ได้รับสุขในบรรพชา ที่สามัญชนทั่วไปมิได้สัมผัส.

J ถอนรากถอนโคน J
     ยถาปิ  มูเล  อนุปัททเว  พัฬเห  ฉินโนปิ  รุกโข  ปุนเรว  รูหติ 
    เอวัมปิ ตัณหานุสเย  อนูหเต นิพพัตตติ ทุกขมิทัง  ปุนปปุนัง.
เมื่อรากยังมั่นคง ไม่มีอันตราย  นไม้แม้ถูกตัดแล้ว ย่อมงอกได้อีก
ฉันใด, เมื่อตัณหานุสัยยังไม่ถูกกำจัดแล้ว ทุกข์นี้ย่อมเกิดร่ำไปฉันนั้น,
Fตถาคตเพียงชี้ทางE
ตุมเหหิ  กิจจัง  อาตัปปัง  อักขาตาโร  ตะถาคะตา,
ปะฏิปันนา  ปะโมกขันติ   ฌายิโน  มาระพันธนา,
      จงทำความเพียรด้วยตนเอง  ตถาคตเป็นแต่เพียงผู้ชี้ 
      บอก, ผู้ทำและเพ่งพินิจตามนั้น จักพ้นจากบ่วงแห่งมาร, 

    wอย่าลืมเป้าหมายw
      อัตตทัตถัง  ปรัตเถนะ  พหุนาปิ  นะ  หาปเย 
      อัตตทัตถม  ภิญญายะ  สทัตถปสุโต  สิยา 
  ถึงจะทำประโยชน์แก่คนอื่นมากมาย  ก็ไม่ควรละทิ้งจุดหมาย 
  ปลายทางของตน, แล้วก็ควรเอาใจใส่ ขวนขวายทำสิ่งนั้นด้วย.

.เส้นทาง(ทำ)สูความเจริญ. 375
 ตัตรายะมาทิ    ภวติ   อิธะ  ปัญญัสสะ  ภิกขุโน
 อินทริยคุตติ   สนฺตุฏฐิ   ปาฏิโมกเข     สังวโร 
 มิตเต   ภชัสสุ   กัลยาเณ   สุทธาชีเว  อตันทิเต,       
 สิ่งแรกที่ภิกษุผู้มีปัญญาจะต้องทำในพระศาสนานี้คือ, 
 สำรวมอินทรีย์ มักน้อยสันโดษ ระมัดระวังในศีลวินัย, 
 คบกัลยาณมิตรที่ดีงาม   คือ  เป็นผู้มีอาชีวะสะอาด.

ปัญญาเกิดเพราะปฏิบัติ
ยคา  เว  ชายะเต  ภูริ  อโยคา  ภูริสังขโย  เอตัง  
     เทวธาปถัง ญัตวา ภวายะ  วิภวายะ จะ  ตถัตตานัง 
     นิเวเสยย  ยะถา ภูริ  ปวัฑฒติฯ282ฯ
   ปัญญาเกิดมิได้ เพราะตั้งใจพินิจเสื่อมไป  หรือเพราะ
   ไม่ได้ตั้งกระทำ,  เมื่อรู้ทางเจริญและทางเสื่อมของ
   ปัญญาแล้ว,  ควรตั้งตนโดยวิถีทางที่ปัญญาจะเจริญ.

Éดีเลว ที่กระทำÊ
    นะ ชัจจา  วะสะโล  โหติ,    จะเป็นคนเลวเพราะชาติกำเนิด ก็หาไม่,
   นะ ชัจจา โหติ พรัหมะโณ,   จะเป็นคนดีเพราะชาติกำเนิด ก็หาไม่,
 กัมมุนา  วะสะโล  โหติ,    แต่จะเป็นคนเลวเพราะการกระทำของตน,
กัมมุนา  โหติ  พรัหมะโณ  จะเป็นคนดี เพราะการกระทำของตน.
Jพืชเช่นไร ได้ผลเช่นนั้นJ
      ยาทิสัง วะปะเต พีชัง ตาทิสัง ละภะเต ผะลัง
      กัลยาณะการี กัลยาณัง ปาปะการี จะ ปาปะกัง, 
         คนเราหว่านพืชเช่นใดย่อมได้รับผลเช่นนั้น,
         ทำดีย่อมได้รับผลดี ทำชั่วย่อมได้รับผลชั่ว.

                      ความดีของสติ.
 สะติ  เตสัง  นิวาระณัง, สติเป็นเครื่องกั้นบาปนิวรณ์,
 สะติ  โลกัสมิ  ชาคะโร, สติเป็นธรรมปลุกให้ตื่นในโลก,
 สะติมะโต สะทา ภัททัง, ผู้มีสติเป็นคนทันสมัย,
 สะติ สัพพัตถะ ปัตติยา, สติจำปรารถนาในที่ทั้งปวง,

          หนทางที่จะพ้นจากความทุกข์
เอกายะโน อะยัง ภิกขะเว มัคโค, ภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้
                              เป็นหนทางเพียงทางเดียว,
สัตตานังวิสุทธิยา,         เพื่อความบริสุทธิ์หมดจด
                                  ของสัตว์ทั้งหลาย,
โสกะปะริเทวานัง  สะมะติกกะมายะเพื่อการก้าวล่วงเสีย
                                  ซึ่งความโศกและความร่ำไรรำพัน,
ทุกขะโทมนัสสานัง  อัฏฐังคะมายะ,  เพื่อความตั้งอยู่
                                  ไม่ได้แห่งทุกข์และโทมนัส,
ญายัสสะ  อะธิคะมายะ,   เพื่อบรรลุธรรมอันสัตว์พึงรู้,
นิพพานัสสะ สัจฉิกิริยายะ,  เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง,
ยะทิทังจัตตาโร สะติปัฏฐานา, หนทางนี้คือสติปัฏฐานสี่,
กะตะเม จัตตาโร,          สติปัฎฐานสี่คืออะไรเล่า,
อิธะ  ภิกขะเว ภิกขุ,        ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้,
กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ, เป็นผู้มีปรกติเห็นกายในกายอยู่,
อาตาปีสัมปะชาโนสะติมา,  เธอมีความเพียรเครื่องเผาบาป
                                          มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม  มีสติ,
วิเนยยะ  โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง,  นำความพอใจ และ
                                          ความไม่พอใจในโลกออกเสียได้, 
                                          เรียกว่าสติปัฏฐาน,
                      หมวดสุภาษิตแบบไทยๆ

J อาการของจิตอ่อนแอ 12 ประการ L

     1. ยู่ในที่วิเวกยังปล่อยจิตใจให้คิดหมกมุ่นในเรื่องโลกๆ,
2. แสวงประโยชน์ที่เป็นอามิส มาเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว,  
3. ขาดความอดกลั้นต่อพระธรรมวินัย  ยังยึดมั่นในรักชัง,
4. ติดอยู่กับความดี กอบโกยเอาแต่บุญ ไม่ปฏิบัติให้ก้าวหน้า,
 ไม่สามารถละธรรมที่ควรละ ยกย่องตนเอง ส่ร้ายป้ายสีผู้อื่น
6. สอนผู้อื่นอย่างไร  ตนเองทำไม่ได้อย่างนั้น,
7. แลกเปลี่ยนสัจธรรม  ด้วยอาหารและเงินตรา,
8. เข้ากับสิ่งแวดล้อมไม่ได้  ไม่กล้าประเชิญความจริง,
9. ไม่ดำรงตนในอุเบกขาธรรมได้ เมื่อถึงคราวกระทบดอกไม้และก้อนอิฐ,
10.ไม่พอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่  ชอบดิ้นรนเพ้อหา ไม่เห็นความดีในตัวเอง,
11.ขี้เกียจ เห็นแก่ปากท้อง คลุกคลีหมู่คณะ ไม่รักหน้าที่ของตน.
 12.ชอบวิตกกังกล ไม่มั่นใจตนเอง ขาดความอดทน เกรงกลัวสิ่งอื่น.

[ สัจจธรรมของชีวิต [
-   ราตรีหนึ่งจะยาวนาน  สำหรับคนนอนไม่หลับ หรือป่วยไข้
 -   หนทางโยชหนึ่งจะยาวไกล  สำหรับคนเดินทางเหนื่อยล้าแล้ว
       -    สังสารวัฏจะยาวนานเพราะไม่เข้าใจพระสัทธรรม

                    É คติธรรมประจำใจ Ê
   คนรักกัน        ถ้าทำผิดก็เห็นเป็นของน่าขำ ไม่ถือโทษไม่เอาความผิด 
                   ถ้าทำถูกก็เห็นเป็นคนเก่งน่ายกย่อง  น่าสรรเสริญ,
คนเกลียดกัน    ถ้าทำถูกก็เห็นว่าอวดดี อวดเก่ง  ถ้าทำผิด ก็เห็นว่า
                   โง่เซอะซะ ไม่ถูกต้องโดยประการทั้งปวง,
คนมีคุณธรรม   ย่อมชี้ถูกชี้ผิดตามเป็นจริง ไม่ลำเอียง มีสติอยู่เสมอ,

"ทำดีแต่ไม่ละชั่ว "
          คนเราชอบความดี  แต่ตนเองไม่ละทำชั่ว,
               เหมือนคนเราชอบทำบุญ  แต่ไม่ละบาป,  
[บัณฑิตไม่ธรรม [
           อันธรรมดาไม้จัน แม้จะแห้ง  ก็ไม่ทิ้งกลิ่น,
           อัศวิน แม้จะเข้าก้าวสู่สงคราม  ก็ไม่ทิ้งลีลา,
           อ้อย แม้จะเข้าสู่หีบยนต์  ก็ไม่ทิ้งรสหวาน,
           บัณฑิต แม้จะประสบทุกข์ ก็ไม่ทิ้งธรรม.


 ต้องมีขั้นตอน
        จะปลูกพืชต้องเตรียมดิน  จะกินต้องเตรียมอาหาร
        จะพัฒนาการต้องเตรียมคน จะพัฒนาคนก็ต้องพัฒนา
        ที่จิตใจ  จะพัฒนาจิตใจก็ต้องพัฒนาด้วยการ”เจริญสติ”



จริตคนมีหลายอย่างจึงทำนิสัยต่างกัน                               
1.  ราคะจริต     2.  โทสะจริต     3.  โมหะจริต  
4.  สัทธาจริต     5.  พุทธิจริต       6.  วิตกจริต


           J คนเรามักจะเข้าข้างตัวเอง เช่น K

 - ถ้าตัวเองทำผิด นั้นเป็นการพลั้งเผลอ  ถ้าคนอื่นทำผิดเขาเป็นคนเซ่อ,
 -ถ้าคนอื่นพูดลับหลัง ก็ว่าเขานินทา ถ้าตัวเองพูดบ้าง ก็บอกว่าวิจารณ์,
 -ถ้าคนอื่นตระหนี่ ก็ว่าเขาเป็นคนขี่เหนียว แต่ถ้าตัวเองก็บอกว่ามัธยัสถ์,
 -ถ้าคนอื่นได้เปรียบก็ว่าเขาเป็นคนโกง ถ้าตนได้เปรียบก็ว่าเพราะฉลาด, 
 -ถ้าเอื่อมมือถึง ก็บอกว่าของอยู่สูงเกินไป ไม่บอกว่าเพราะแขนตัวเองสั้น,


ลักษณะความู้ในภาคปฏิบัติธรรม(ทำ)                          
ลักษณะที่ 1   รู้จัก        รู้จำ      รู้แจ้ง      รู้จริง
ลักษณะที่ 2   รู้เท่า       รู้ทัน     รู้กัน       รู้แก้
ลักษณะที่ 3   รู้           เห็น     เป็น        มี

            

É ควรระวังใจ่ใน 4 สถานÊ

        1. ระวังใจไม่ให้กำหนัดในอารมณ์ อันเป็นที่ตั้งความกำหนัด,
    2. ระวังไม่ให้ขัดเคืองในอารมณ์   อันเป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง,
    3. ระวังใจไม่ให้หลงในอารมณ์     อันเป็นที่ตั้งแห่งความหลง,
    4. ระวังใจไม่ให้มัวเมาในอารมณ์   อันเป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา,


' กำหนดรู้ดูต่อเนื่อง '
    ดูกายเห็นจิต ดูคิดเห็นธรรม  ดูกรรมเห็นนิพพาน
      ดูอาการเห็น ปรมัตถ์ ดูอริยสัจ เห็นความจริง,

                                    ***************************************
จบภาค 8 สุภาษิตเตือนใจ

“สุภาษิตอาจผิดพลาด แต่ธรรมชาติหาผิดไม่ 
พระพุทธองค์ตรัสเรืยกให้ดูโลก
เอถ  ปัสสถิมัง โลกัง  จิตตัง  ราชรถูมัง
ยัตถพาลา  วิสีทันติ     นัตถิ  สังโค  วิชานตัง.
  สูทั้งหลาย  จงมาดูโลกนี้   อันตระการตาดุจราชรถ
  ที่พวกคนเขลาหมกอยู่   แต่ผ้ร้หาข้องอย่ไม่.  
โลกภายนอกกว้างไกลใครๆรู้โลกภายในลึกซึ่งอยู่รู้บ้างไหมถ้าจะมองโลก  ภายนอก  มองออกไป        ถ้าจะมองโลก    ภายใน    ให้มองตน





คนแบกโลก     
  คนแบกโลก  ยิ่งแบก   ก็ยิ่งหนัก 
 มีคนทัก   ว่ามันทุกข์   อย่าแบกไว้ 
 ขาดสติ    หลงความคิด   ยึดติดไป
ผลสุดท้ายโลกทับดับชีวา


























                   นวชีวัน (ชีวิตใหม่)
                                  .โดยรุ่งอรุณ  สนธยา
           
               เราจะมีชีวิตอยู่เพื่อสิ่งใด  นอกจากการได้มีชีวิต การได้มาซึ่งชีวิตนั้นจำต้องสละความยึดถือในทุกสิ่ง  ซึ่งเท่ากับสละตัวเราอันก่อกำเหนิดจากความยึดถือ ชีวิตที่ก่อกำเนิดมาจากความยึดถือเป็นเพียงมายาภาพหาใช่ตัวชีวิตแท้จริงไม่  ต่อเมื่อมีสติรู้อยู่ถึงการก่อกำเหนิดของความคิด  เราจะหยั่งรู้ถึงการเกิดของตัวเราอันเป็นมาภาพทั้งรู้ถึงธรรมชาติที่แท้จริงของชีวิตอันมีสภาพกลมกลืนและอิสระ
          การปฏิบัติเพื่อรู้จักธรรมชาติแท้ของเรานั้น ก็โดยบทเรียนง่ายๆ ในการ เดิน,นั่ง,นอน,ดื่ม,ถ่าย,สนทนา,ซักผ้า ฯลฯ นี้เองที่ธรรมชาติของเราจะแสดงออกมา ควบคู่กับการดำเนินชีวิตในโลกนี้  ไม่ใช่ว่าต้องอาศัยพิธีกรรม  หรือการเรียน,ทรงจำความรู้จากพระคัมภีร์  หรือท่าทีทางวัฒนะธรรม  ซึ่งรังแต่จะก่อกำเหนิดตัวตนอันเป็นมายาภาพได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องเคร่งครัดกับระเบียบ  กฎเกณฑ์หรือทฤษฎีใดๆแต่ด้วยการมีชีวิตอยู่และมีสติรู้อยู่ต่อการมีชีวิตมีความรักชีวิต  กลมกลืนกันหน้าที่การงานของชีวิตศีล สมาธิและปัญญาจะถูกพัฒนาขึ้นเองอย่างเหมาะเจาะ  และมันจะมีผลในทางขจัดทุกข์ได้โดยตรง  มันไม่ใช่การรักษาศีลเพื่อตอบสนองข้อบัญญัติทางวัฒนธรรม หรือสังคม  และไม่ใช่การเจริญสมาธิ เพียงเพื่อได้หลบหลีกปัญหาประจำวัน ไปอยู่กับโลกในจินตนาการอันตนสร้างขึ้นให้เกิดอาการภาคภูมิว่า ได้พบความมหัศจรรย์ลึกซึ้ง  ตามทางของวัฒนธรรมแล้ว มันไม่ใช่  การมีปัญญาเนื่องแต่ทรงจำวัจนะ,  ศัพท์ศาสนา  และการขบคิดอย่างลึกซึ้ง เพื่อตอบสนองต่อความอยาก จะได้เป็นนักศาสนา กับเขาคนหนึ่งเท่านั้น  หากเป็นเช่นนั้น,  แม้เป็นผู้ลงมือปฏิบัติอย่างจริงจังเท่าใด  ความยึดมั่นถือมั่นต่อชีวิตหาคลายลงได้ไม่  เพราะมันเป็นการเพิ่มมายาภาพให้แก่ชีวิต  ด้วยท่าทีทางวัฒนธรรม แม้ว่ามันจะได้ปิติสุข  หรือเสียงสรรเสริญเช่นไรก็ตาม จนกว่าความรู้สึกตังทั่วพร้อม(สติ-สัมปชัญญะ)ได้เป็นไปย่างบริสุทธิ ไม่มีความต้อง การสิ่งอื่นใดเจือปน  ชีวิตมีความกลมกลืน  จนหลุดพ้นจากอิทธิพลของวัฒนธรรม  จิตเป็นจิตที่รู้แจ้งตามธรรมชาติขึ้นเหนือภาษา เพศ อดีต อนาคต ดี-ชั่ว รวมทั้งความต้องการรสนิยม ค่านิยมต่างๆแล้ว จะเจ้าถึงการตรัสรู้(สัมโพธิ)หนแรก  คือการเห็นแจ้งต่อสังขารธรรม  อันบริสุทธิ์เป็นไปเองชื่อว่าได้ลุถึงธรรมจักษุเห็นแล้วซึ่งธรรมแท้ บริสุทธิ์อยู่นอกเหนือสมมุติ และบัญญัติใดๆ (อันเป็นท่าทีของวัฒนะธรรม ของแต่ละชุมชนเท่านั้น)
             การเห็นอันบริสุทธิ์ผุดผ่องนี้  จะลบล้างความเชื่อที่รับมาผิดๆ และหลงยึดถือแต่ถ้อยคำ  ท่าทีอันจำและลอกเรียนมาจากผู้อื่น  ความหยั่งรู้จะเปิดเผยถึงชีวิตที่แท้จริงของเราและ  ชีวิตอันเป็นประสบการณ์อันต่อเนื่องอยู่ทุกขณะ  เราจะรักชีวิต และไม่กลัวต่อการเปลี่ยนแปลง  ไม่ขัดแย้งไม่เป็นศัตรูกับชีวิตอีก  ประสบการณ์ในการเห็นธรรมแท้บริสุทธิ์นี้  จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ และวิธีการครองชีวิตอย่างใหญ่หลวงแม้จะต้อง กินดื่ม,ทำงานอยู่อย่างเดิม  มันเป็นการเปลี่ยนแปลงในภายใน  จากความเข้าใจผิต่อชีวิต  เป็นเข้าใจถูกต้องตามทางชีวิตเองอย่างไม่ลังเลสงสัย  และจากวันนั้นความเข้าใจอันลึกซึ้งนั้นจะเติบใหญ่ขึ้นชัดเจน ไพศาล แจ้งฉาน ชนิดไม่มีสิ่งใดยับยั้งมันได้  มันเป็นเมล็ดพันธ์แห่งการตรัสรู้  ครั้งสุดท้ายอันยิ่งใหญ่(อนุตรสัมมาสัมโพธิ)ครั้งเดี่ยว  เป็นทวารแห่งวิมุติทางให้ถึงโมกษะถึงไกวัลย์ธรรม  ทางให้ถึงความเป็นอันเดียวกับพระผู้เป็นเจ้า  และความรักในพระองค์
          ชีวิตใหม่ (นวชีวันของคุณตั้งต้นตรงนี้ มันไม่ใช่การได้มีรถยนต์คันใหม่,เสื้อผ้า ชื่อเสียง หรือโชคลาภอันใด แต่ได้มีชีวิตแห่งความรู้แจ้ง กลมกลืนและอิสระ ได้ล่วงรู้ถึงความวิสุทธิอยู่เองของชีวิตล้วนๆ  ชีวิตแท้ไม่เคยมีมลทินมัวหมอง กิเลสไม่ได้มีอยู่เลยในชีวิตที่แท้ นอกจากในโลกแห่งความคิดนึกและขาดความรู้สึกตัว อันก่อเกิดความยึดถือในทฤษฎี(ทิฏฐิ),ความหื่นกระหาย(ตัณหา)และเชื่อตัวตน(มานะ)ผิดๆอันเป็นชีวิตที่มีปัญหา,ทุกข์ทรมาน
              ชีวิตใหม่คือรุ่งอรุณของดวงตะวันแห่งสัจจธรรม รัศมีสว่างแห่งความรัก  มิตรภาพอันฉายออกจากชีวิตที่แท้  ย่อมขับความผูกพันด้วยมายาภาพและความมืดมัวให้จางหายไป คุณจะพบความมหัศจรรย์ว่าชีวิตใหม่,  ชีวิตที่แท้ของคุณนั้น  ได้ขจัดรากเหง้าของความขัดแย้ง และปัญหาทั้งมวล  ทั้งที่ผ่านเลยไปแล้ว  และทั้งที่จะมาถึงในวันหน้า
              ด้วยชีวิตใหม่เท่านั้นที่อคติ  และความรุนแรงจะสิ้นไป  และด้วยชีวิตใหม่ของคนส่วนใหญ่เท่านั้นที่สังคมจะดีขึ้นได้  โปรดตั้งสติระลึกรู้และปล่อยวางความยึดถือเพื่อชีวิตของคุณเอง.

                                     ÉÉÉÉÉÉ [[[[[[   ÊÊÊÊÊÊ