"..การมาทับมิ่งขวัญนี้ เป็นการเริ่มต้นชีวิตใหม่ ต้องเป็นคนจริง ทำจริง พูดจริง เมื่อทำจริง พูดจริงก็ต้องรู้ของจริง จริงๆ.."
หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ 12 กรกฎาคม 2530
www.wattubmingkwan.com เวบหลัก วัดทับมิ่งขวัญ เวบนี้เป็นเพียง เวบสำรองครับผู้จัดทำ 9 มิถุนายน 2555

บทสวดพิเศษ


                             Éภาค บทสวดพิเศษÊ
                                   1.สรณคมนปาฐะ
    (หันทะมะยัง  ติสะระณะคะมะปาฐัง  ภะณามะ เส.)

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ, ข้าพเจ้าถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ,
ธัมมัง สะระณัง  คัจฉามิข้าพเจ้าถือเอาพระธรรม เป็นสรณะ,
สังฆัง  สะระณัง  คัจฉามิข้าพเจ้าถือเอาพระสงฆ์  เป็นสรณะ,
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง  คัจฉามิ,  แม้ครั้งที่สองข้าพเจ้าถือ
                                                      เอาพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ,
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ,   แม้ครั้งที่สอง  ข้าพเจ้าถือ      
                                                     เอาพระธรรม เป็นสรณะ,
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ,   แม้ครั้งที่สอง  ข้าพเจ้าถือ 
                                                     เอาพระสงฆ์   เป็นสรณะ,
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ, แม้ครั้งที่สาม  ข้าพเจ้าถือ
                                                     เอาพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ,                              
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ, แม้ครั้งที่สาม  ข้าพเจ้าถือ                                          
                                                      เอาพระธรรม  เป็นสรณะ,
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ, แม้ครั้งที่สาม  ข้าพเจ้าถือ
                                          เอาพระสงฆ์  เป็นสรณะ,                 
                                  «& [ & «







                  É  อัฏฐสิกขาปทปาฐะ (ศีล 8) Ê
   (หันทะ มะยัง อัฏฐะสิกขาปะทะปาฐัง ภะณามะ เส.)

ปาณาติปาตาเวระมะณีเจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการฆ่า,
อะทินนาทานา เวระมะณี, เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการถือ
                                        เอาสิ่งของ ที่เจ้าของไม่ได้ให้แล้ว,
อะพรัหมะจะริยา เวระมะณีเจตนาเป็นเคื่องเว้นจาก
                                      การกระทำอันมิใช่พรหมจรรย์,
มุสาวาทา เวระมะณี,     เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการ
                               พูดไม่จริง,
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา  เวระมะณี, เจตนา                 
                                      เป็นเครื่องเว้นจากการเสพของ
                                เมา  มีสุรา และเมรัยเป็นต้น 
                               อันเป็นที่ตั้งของความประมาท,
วิกาละโภชะนา เวระมะณี, เจตนาเป็นเครื่องเว้น จากการ
                               บริโภคอาหารในเวลาวิกาล, 
นัจจะ คีตะ วาทิตะ วิสูกะ ทัสสะนะ มาลาคันธะ
วิเลปะนะ  ธาระณะ มัณทะนะ  วิภูสะนัฏฐานา
เวระ  มะณี,                    เจตนาเป็นเครื่องเว้น จากการ
                               ฟ้อนรำการขับเพลงการดนตรี,
                               การดูการเล่นชนิดเป็นข้าศึกต่อ
                                  กุศลการทัดทรงสวมใส่การประ
                                  ดับการตกแต่งตน, ด้วยพวงมาลา 
                                  ด้วยเครื่องกลิ่นและเครื่องผัดทา.     อุจจาสะยะนะ มะหาสะยะนา เวระมะณี,  เจตนาเป็น
                                เครื่องเว้นจากการนั่ง  นอน
                                บนที่นอนสูงและที่นอนใหญ่,
                   3.เขมาเขมสรณทีปิกคาถา
(หันทะ มะยัง เขมาเขมะสะระณะทีปิกะ คาถาโย ภะณามะ เส.)

 พะหุง เว สะระณัง ยันติ ปัพพะตานิ วะนานิ จะ,  
     อารามะรุกขะเจตยานิ  มะนุสสา  ภะยะตัชชิตา, 
              มนุษย์เป็นอันมาก เมื่อเกิดมีภัยคุกคามแล้ว,
            ก็ถือเอาภูเขาบ้าง ป่าไม้บ้าง อาราม และ
            รุกขเจดีย์บ้าง เป็นสรณะ,
     เนตัง  โข สะระณัง เขมัง เนตัง สะระณะมุตตะมัง,
     เนตัง  สะระณะมาคัมมะ สัพพะทุกขา  ปะมุจจะติ, 
              นั่นมิใช่สรณะอันเกษมเลย, นั่นมิใช่สรณะอัน
            สูงสุด, เขาอาศัยสรณะนั่นแล้ว ย่อมไม่พ้น
            จากทุกข์ทั้งปวงได้,
     โย จะ พุทธัญจะ ธัมมัญจะ สังฆัญจะ สะระณัง คะโต,
     จัตตาริ อะริยะสัจจานิ  สัมมัปปัญญายะ  ปัสสะติ,
                ส่วนผู้ใดถือเอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
                เป็นสรณะแล้ว,  เห็นอริยสัจจ์  คือความจริง
                อันประเสริฐสี่ ด้วยปัญญาอันชอบ,
     ทุกขัง ทุกขะสะมุปปาทัง ทุกขัสสะ จะ อะติกกะมัง,
     อะริยัญจัฏฐังคิกัง  มัคคัง ทุกขูปะสะมะคามินัง,   
            คือเห็นความทุกข์, เหตุให้เกิดทุกข์, ความก้าว
            ล่วงทุกข์เสียได้, และหนทางมีองค์แปดอัน
            ประเสริฐ เครื่องถึงความระงับทุกข์,
     เอตัง  โข สะระณัง เขมัง เอตัง สะระณะมุตตะมัง,
     เอตัง  สะระณะมาคัมมะ สัพพะทุกขา ปะมุจจะติ.
             นั่นแหละ เป็นสรณะอันเกษมนั่นเป็นสรณะ
         อันสูงสุด,  เขาอาศัยสรณะนั่นแล้ว  ย่อมพ้น
         จากทุกข์ทั้งปวงได้.      « [ «
                         4. อริยะธนคาถา
(หันทะ มะยัง อะริยะธะนะคาถาโย ภะณามะ เส)

ยัสสะ  สัทธา   ตะถาคะเต อะจะลา สุปะติฏฐิตา,   
                       ศรัทธา ในพระตถาคตของผู้ใด
                       ตั้งมั่นอย่างดี ไม่หวั่นไหว,
สีลัญจะ ยัสสะ  กัลยาณัง  อะริยะกันตัง ปะสังสิตัง, 
                   และศีลของผู้ใดงดงาม เป็นที่       
                       สรรเสริญ ที่พอใจของพระอริยเจ้า,
สังเฆ ปะสาโท ยัสสัตถิ  อุชุภูตัญจะ ทัสสะนัง,    
                   ความเลื่อมใสของผู้ใดมีใน
                   พระสงฆ์ และความเห็นของผู้ใดตรง, 
อะทะฬิทโทติ   ตัง อาหุ  อะโมฆันตัสสะ ชีวิตัง,   
                       บัณฑิตกล่าวเรียกเขาผู้นั้นว่า 
                   คนไม่จน ชีวิตของเขาไม่เป็นหมัน,
ตัสสะมา สัทธัญจะ สีลัญจะ ปะสาทัง ธัมมะทัสสะนัง, 
อะนุยุญเชถะ   เมธาวี  สะรัง  พุทธานะสาสะนัง,
                   เพราะฉะนั้นเมื่อระลึกได้  ถึงคำสั่ง
                       สอนของพระพุทธเจ้าอยู่ผู้มีปัญญา
                   ควรก่อสร้างศรัทธาศีล ความเลื่อมใส
                   และความเห็นธรรมให้เนืองๆ
                            « [ « 





               5.ติลักขณาทิคาถา
(หันทะ มะยัง ติลักขะณา ทิคาถาโย ภะณามะเส.)

   สัพเพ สังขารา  อะนิจจาติ ยะทา  ปัญญายะ ปัสสะติ,   
    เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง,
       อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข  เอสะ  มัคโควิสุทธิยา,
          เมื่อนั้นย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์  ที่ตนหลง      
         นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพาน อันเป็นธรรมหมดจด,
 สัพเพ สังขารา   ทุกขาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ,
    เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์,
 อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ  มัคโควิสุทธิยา,   
    เมื่อนั้นย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์  ที่ตนหลง,
    นั้นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพาน อันเป็นธรรมหมดจด,
 สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ,      
    เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา,
 อะถะ นิพพินทะติ  ทุกเข เอสะ มัคโค  วิสุทธิยา, 
     เมื่อนั้นย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
    นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพาน อันเป็นธรรมหมดจด,
 อัปปะกา  เต มะนุสเสสุ เย ชะนา  ปาระคามิโน,
    ในหมู่มนุษย์ทั้งหลาย ผู้ที่ถึงฝั่งแห่งพระนิพพานมีน้อยนัก,
 อะถายัง  อิตะรา ปะชา ตีระเมวานุธาวะติ,
    หมู่มนุษย์นอกนั้น  ย่อมวิ่งเลาะอยู่ตามฝั่งในนี้เอง,
 เย จะโข สัมมะทักขาเต ธัมเม ธัมมานุวัตติโน, ก็ชนเหล่า
    ใด ประพฤติสมควรแก่ธรรม  ในธรรมที่ตรัสไว้ชอบแล้ว,
 เตชะนา ปาระเมสสันติ  มัจจุเธยยัง  สุทุตตะรัง, 
     ชนเหล่านั้นจักถึงฝั่งแห่งพระนิพพาน, ข้ามพ้น
    บ่วงแห่งมัจจุที่ข้ามได้ยากนัก,
กัณหัง ธัมมัง วิปปะหายะ สุกกัง  ภาเวถะปัณฑิโต,  
           จงเป็นบัณฑิตละธรรมดำเสีย แล้วเจริญธรรมขาว,
โอกา อะโนกะมาคัมมะ  วิเวเก  ยัตถะ  ทูระมัง, 
ตัตราภิระติ มิจเฉยยะ หิตตะวา กาเม อะกิญจะโน, 
           จงมาถึงที่ไม่มีน้ำ จากที่มีน้ำ,  จงละกามเสีย,  
         เป็นผู้ไม่มีความกังวล  จงยินดีเฉพาะต่อพระ
         นิพพาน อันเป็นที่สงัดซึ่งสัตว์ยินดีได้โดยยาก.
                            « [ «

                           6.ภารสุตต คาถา
     (หันทะ มะยัง ภาระสุตตะ คาถาโย ภะณามะ เส.)

ภารา หะเว ปัญจักขันธา,   ขันธ์ทั้งห้าเป็นของหนักเน้อ,
ภาระหาโร จะ ปุคคะโล,    บุคคลแหละเป็นผู้แบก
                                   ของหนักพาไป,
ภาราทานัง ทุกขัง โลเก   การแบกถือของหนัก
                                   เป็นความทุกข์ในโลก,
ภาระนิกเขปะนัง  สุขัง,      การสลัดของหนักทิ้ง 
                                   ลงเสียเป็นความสุข,
นิกขิปิตตะวา คะรุง ภารัง, พระอริยเจ้าสลัดทิ้ง
                                   ของหนักลงเสียแล้ว,
อัญญัง ภารัง อะนาทิยะ   ทั้งไม่หยิบฉวยเอาของ
                                   หนักอันอื่น ขึ้นมาอีก,
สะมูลัง ตัณหัง อัพพุยะหะ ก็เป็นผู้ถอนตัณหา
                                   ขึ้นได้ กระทั่งราก,
นิจฉาโต    ปะรินิพพุโต,      เป็นผู้หมดสิ่งปรารถนา
                                   ดับสนิทไม่มี ส่วนเหลือ,
                               « [ «  
                             ภัทเทกรัตตคาถา
(หันทะ มะยัง ภัทเทกะรัตตะคาถาโย ภะณา มะ เส.)

    อะตีตัง นานวาคะเมยยะ นัปปะฏิกังเขอะนาคะตัง,
                บุคคลไม่ควรตามคิดถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ด้วย-
             อาลัย,  และไม่พึงพะวงถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง,
    ยะทะตีตัมปะหีนันตัง  อัปปัตตัญจะ  อะนาคะตัง,
               สิ่งเป็นอดีตก็ละไปแล้ว สิ่งเป็นอนาคตก็ยังไม่มา,
    ปัจจุปปันนัญจะ โย ธัมมัง  ตัตถะ  ตัตถะ วิปัสสะติ,
    อะสังหิรัง  อะสังกุปปัง  ตัง  วิทธา  มะนุพรูหะเย,
                ผู้ใดเห็นธรรมอันเกิดขึ้นเฉพาะหน้าในที่นั่นๆ
             อย่างแจ่มแจ้ง มไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน  
             เขาควรพอกพูนอาการเช่นนั้นไว้,
    อัชเชวะกิจจะมาตัปปัง โก ชัญญา มะระ ณัง สุเว 
             ความเพียรเป็นสิ่งที่ต้องทำวันนี้  ใครจะรู้
             ความตายแม้พรุ่งนี้,
    นะหิโน สังคะรันเตนะ มะหาเสเนนะ  มัจจุนา,
                เพราะการผัดเพี้ยนต่อมัจจุราช ซึ่งมีเสนา
             มาก ย่อมไม่มีสำหรับเรา,
    เอวัง  วิหาริมาตาปิง  อะโหรัตตะมะ ตันทิตัง, 
    ตัง  เว  ภัทเทกะรัตโตติ  สันโต อาจิกขะเต มุนิ, 
                มุนีผู้สงบ  ย่อมกล่าวเรียกผู้มีความเพียรอยู่
             เช่นนั้นไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันกลางคืนว่า,
             ผู้เป็นอยู่แม้เพียงราตรีเดียว  ก็น่าชม.
                                « [ « 


                       8. ธัมมคารวาทิคาถา
(หันทะ มะยัง ธัมมะ คาระวาทิคาถาโย ภะณามะ เส.)
 
เย จะ อะตีตา สัมพุทธา เย จะ พุทธา อะนาคะตา,
โย เจตะระหิ สัมพุทโธ พะหุนนัง โสกะนาสะโน,    
          พระพุทธเจ้าบรรดาที่ล่วงไปแล้วด้วย,
          ที่ยังไม่มาตรัสรู้ด้วยและพระพุทธเจ้าผู้
          ขจัดโศกของมหาชน  ในกาลบัดนี้ด้วย,
สัพเพ   สัทธัมมะคะรุโน  วิหะริงสุ  วิหาติ จะ, 
อะถาปิ วิหะริสสันติ เอสา พุทธานะธัม มะตา, 
            พระพุทธเจ้าทั้งปวงนั้น  ทุกพระองค์เคารพ
          พระธรรมได้เป็นมาแล้วด้วย,  กำลังเป็น
          อยู่ด้วยและจักเป็นด้วยเพราะธรรมดาของ                           
          พระพุทธเจ้าทั้งหลาย  เป็นเช่นนั่นเอง,
ตัสะมา หิ อัตตะกาเมนะ  มะหัตตะมะภิกังขะตา,
สัทธัมโม คะรุกา  ตัพโพ สะรัง พุทธานะสาสะนัง, 
            เพราะฉะนั้นบุคคลผู้รักตนหวังอยู่เฉพาะคุณ
          เบื้องสูง,  เมื่อระลึกได้ถึงคำสั่งสอนของพระ
          พุทธเจ้าอยู่,  จงทำความเคารพพระธรรม,
นะ  หิ   ธัมโม  อะธัมโม จะ  อุโภ สะมะวิปากิโน,
            ธรรมและอธรรม จะมีผลเหมือนกันทั้งสอง
          อย่างหามิได้,
อะธัมโม นิระยัง เนติ ธัมโม ปาเปติสุคะติง,
           อธรรมย่อมนำไปนรก, ธรรมย่อมนำให้ถึงสุคติ,
ธัมโม    หะเว รักขะติ  ธัมมะจาริง,  ธรรมแหละ
          ย่อมรักษา  ผู้ประพฤติธรรมเป็นนิจ,
ธัมโม   สุจิณโณ  สุขะมาวะหาติ ธรรมที่
          ประพฤติดีแล้ว  ย่อมนำสุขมาให้ตน,    
เอสานิสังโส ธัมเม สุจิณเณนี่เป็นอานิสงส์ในธรรม
                                  ที่ตนประพฤติดีแล้ว.

                           9.โอวาทปาติโมกขคาถา
(หันทะ มะยัง โอวาทะปาติโมกขะคาถาโย ภะณามะ เส)

สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง, การไม่ทำบาปทั้งปวง,
กุสะลัสสูปะสัมปะทา,          การทำกุศลให้ถึงพร้อม,
สะจิตตะปะริโยทะปะนัง,    การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ,
เอตัง  พุทธานะสาสะนัง,    ธรรม อย่างนี้ เป็นคำสั่งสอน
                                            ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย,
ขันตีปะระมัง ตะโป ตีติกขา, ขันติคือความอดกลั้นเป็น
                                           ธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง,
นิพพานัง ปะระมัง วะทันติ  พุทธาผู้รู้ทั้งหลายกล่าวพระ
                                             นิพพาน  ว่าเป็นธรรมอันยิ่ง,
นะหิ ปัพพะชิโต ปะรูปะฆาตี, ผู้กำจัดสัตว์อื่นอยู่ไม่ชื่อ
                                           ว่าเป็นบรรพชิตเลย,
สะมะโณ โหติ ปะรัง วิเหฐะยันโต, ผู้ทำสัตว์อื่นให้ลำบาก
                                           อยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย,
อะนูปะวาโท อะนูปะฆาโต,  การไม่พูดร้าย,การไม่ทำร้าย,   
ปาติโมกเข จะสังวะโร,        การสำรวมในปาติโมกข์,
มัตตัญญุตา จะภัตตัสสะมิง, ความเป็นผู้รู้ประมาณ
                                   ในการบริโภค,
ปันตัญจะ  สะยะนาสะนัง,   การนอน การนั่งในที่อันสงัด,
อะธิจิตเต จะ อาโยโค      ความหมั่นประกอบในการ
                                   ทำจิตให้ยิ่ง,
เอตัง  พุทธานะสาสะนัง,     ธรรม อย่างนี้เป็นคำสั่งสอน
                                        ของพระพุทธเจ้า  ทั้งหลาย.
                       10. ปฐมพุทธภาสิตคาถา
 (หันทะ มะยัง ปะฐะมะพุทธะภาสิตะ คาถาโย ภะณามะ เส)

อะเนกะชาติสังสารัง  สันธาวิสสัง  อะนิพพิสัง,
                  เมื่อเรายังไม่พบญาณ  ได้แล่นท่อง
               เที่ยวไปในสงสารเป็นอเนกชาติ,
คะหะการัง คะเวสันโต ทุกขา ชาติ ปุนัปปุนัง 
                  แสวงหาอยู่ซึ่งนายช่างปลูกเรือน,
               คือตัณหาผู้สร้างภพ, การเกิดทุก
               คราวเป็นทุกข์ร่ำไป,
คะหะการะกะ ทิฏโฐสิ  ปุนะ เคหัง นะ กาหะสิ,  
               นี่แน่ะนายช่างปลูกเรือน  เรารู้จักเจ้าเสีย
               แล้วเจ้าจะทำเรือนให้เราไม่ได้อีกต่อไป,
สัพพา  เต   ผาสุกา ภัคคา คะหะกูฏัง วิสังขะตัง, 
                  โครงเรือนทั้งหมดของเจ้า เราหักเสีย 
               แล้ว,  ยอดเรือนเราก็รื้อเสียแล้ว,
วิสังขาระคะตัง จิตตัง ตัณหานัง ขะยะมัชฌะคา.
                  จิตของเราถึง แล้วซึ่งสภาพที่อะไร 
               ปรุงแต่งไม่ได้อีกต่อไป,  มันได้ถึง-
               แล้ว  ซึ่งความสิ้นไปแห่งตัณหา.
                 






                   10. ปัจฉิมพุทโธวาทปาฐะ
(หันทะ มะยัง ปัจฉิมะพุทโธวาทะปาฐัง ภะณามะ เส)

หันทะทานิ  ภิกขะเว อามันตะยามิโว, ดูก่อนภิกษุ   
                                     ทั้งหลาย  บัดนี้เราขอ
                               เตือนท่านทั้งหลายว่า,
วะยะธัมมา สังขารา,     สังขารทั้งหลาย  มีความ                                 
                               เสื่อมไปเป็นธรรมดา,
ปปะมาเทนะ สัมปาเทถะ,  ท่านทั้งหลาย จงทำความ                            
                                     ไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด,                                                          
อะยัง  ตะถาคะตัสสะ ปัจฉิมาวาจา, นี้เป็นพระวาจา
                                      มีในครั้งสุดท้าย ของพระ
                                ตถาคตเจ้า.
                                     « [ « 













              
                    É บทแผ่เมตตา Ê

สัพเพ  สัตตา,             สัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นเพื่อน
                                  ทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย
                             ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
อะเวราโหนตุ             จงเป็นสุขๆเถิด อย่าได้
                                  มีเวรต่อกันและกันเลย,                            
อัพยาปัชฌา โหนตุ   จงเป็นสุขๆเถิดอย่าได้พยาบาท
                             เบียดเบียน ซึ่งกันและกันเลย, 
อะนีฆา โหนตุ         จงเป็นสุขๆเถิด อย่าได้มีความ
                             ทุกข์กาย  ทุกข์ใจเลย,
สุขี อัตตานัง ปริหะรันตุ, จงมีแต่ความสุขกายสุขใจรักษา
                                   ตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด,                   
                                   « [ « 















                                           « [ « 
                 มงคลสูตร (อะเสวนา)

อะเสวะนา จะ พาลานัง,     การไม่คบคนพาล,
ปัณฑิตานัญ  จะ  เสวะนา การคบบัณฑิต,
ปูชา จะ ปูชะนียานัง,          การบูชาต่อบุคคลควรบูชา, 
เอตัมมัง คะละมุต ตะมัง,   กิจสามอย่างนี้เป็นมงคล
                                   อันสูงสุด,
   ปะฏิรูปะเทสะวาโส  จะ,   การอยู่ในประเทศอันสมควร, 
ปุพเพ จะ กะตะปุญญะตา,  การเป็นผู้มีบุญได้ทำไว้ก่อน,
อัตตะสัมมาปะณิธิ  จะ ,     การตั้งตนไว้ชอบ, 
เอตัมมัง คะละมุต ตะมัง,   กิจสามอย่างนี้เป็นมงคล
                                   อันสูงสุด,
    พาหุสัจจัญจะ,                การเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก,
สิปปัญจะ,                          การมีศิลปวิทยา, 
วินะโย จะ สุสิกขิโต,           วินัยที่ศึกษาดีแล้ว,
สุภาสิตา จะ  ยา วาจา,       วาจาที่เป็นสุภาษิต, 
เอตัมมังคะละมุตตะมัง    กิจสี่อย่างนี้ เป็นมงคล
                                   อันสูงสุด,
     มาตาปิตุอุปัฏฐานัง,      การบำรุงเลี้ยงมารดาบิดา, 
ปุตตะทารัสสะสังคะโห,      การสงเคราะห์บุตรและภรรยา, 
อะนากุลา  จะ  กัมมันตา,   การงานที่ไม่ยุ่งเหยิงสับสน,  
เอตัมมัง คะละมุต ตะมัง,    กิจสามอย่างนี้ เป็นมงคล
                                   อันสูงสุด,
        ทานัญ จะ                การบำเพ็ญทาน, 
ธัมมะจะริยา จะ,                การประพฤติธรรม,
ญาตะกานัญ  จะ สังคะโห การสงเคราะห์หมู่ญาติ, 
อะนะวัชชานิ  กัมมานิ,       การงานอันปราศจากโทษ, 
เอตัมมัง คะละมุต ตะมัง,   กิจสี่อย่างนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,
  อาระตี วิระตี ปาปา,         การงดเว้นจากบาปกรรม,
มัชชะปานา จะ สัญญะโม การเหนี่ยวรั้งใจไว้ได้จาก
                                   การดื่มน้ำเมา,  
อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ,     การไม่ประมาทใน
                                   ธรรมทั้งหลาย,
เอตัมมัง คะละมุต ตะมัง  กิจสามอย่างนี้เป็น
                                   มงคลอันสูงสุด,
     คาระโว จะ,                  ความเคารพ, 
นิวาโต จะ,                     ความถ่อมตัว,
สันตุฏฐี  จะ,                      ความสันโดษ,    
กะตัญญุตา,                       ความกตัญญู 
กาเลนะธัมมัสสะวะนัง,      การฟังธรรมตามกาล,  
เอตัมมัง คะละมุต ตะมัง  กิจห้าอย่างนี้เป็นมงคล
                                   อันสูงสุด,
       ขันตี  จะ,                   ความอดทน, 
โสวะจัสสะตา,                   ความเป็นคนว่าง่าย, 
สะมะณานัญ จะ ทัสสะนัง การพบเห็นผู้สงบจากกิเลส,
กาเลนะ  ธัมมะสากัจฉา,    การสนทนาธรรมตามกาล, 
เอตัมมังคะละมุตตะมัง,     กิจสี่อย่างนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,
          ตะโปจะ,                  ความเพียรเผากิเลส,
พรัหมะจะริยัญจะ,              การประพฤติพรหมจรรย์, 
อะริยะสัจจานะ ทัสสะนังการเห็นของจริงของพระอริยเจ้า,
นิพพานะสัจฉิกิริยา  จะ,     การทำพระนิพพานให้แจ้ง,
เอตัมมังคะละมุตตะมัง,     กิจสี่อย่างนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,
    ผุฏฐัสสะ  โลกะธัมเมหิ จิตตัง
 ยัสสะนะ กัม ปะติ,             จิตของผู้ใดอันโลกธรรม       
                                        ทั้งหลายถูกต้องแล้ว
                                 ย่อมไม่หวั่นไหว,
อะโสกัง,                          เป็นจิตไม่เศร้าโศก,     
วิระชัง,                          เป็นจิตไร้ธุลีกิเลส ,  
เขมัง,                            เป็นจิตเกษมศานต์,
เอตัมมังคะละมุตตะมัง กิจสี่อย่างนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด,
       เอตาทิสานิ  กัตตะวานะ  สัพพัตถะมะปะราชิตา 
สัพพัตถะโสตถิง คัจฉันติตันเตสัง มังคะละมุตตะมันติ,  
             เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ได้กระทำมงคลเช่น
            มงคลเหล่านี้  ให้มีในตนได้แล้ว จึงเป็นผู้ไม่พ่าย
            แพ้ในที่ทั้งปวง ย่อมถึงซึ่งความสวัสดีในทุกสถาน
            ข้อนั้นเป็นมงคลอันสูงสุด ของเทวดาและมนุษย์
            ทั้งหลายเหล่านั้น โดยแท้ 
 อิติ ,     ด้วยประการฉะนี้แลฯ.

อนุโมทนารัมภคาถา

ยะถา  วาริวะหา  ปูรา  ปะริปูเรนติ สาคะรัง,
                                     ห้วงน้ำที่เต็มย่อมยังสมุทร
                               สาครให้บริบูรณ์ได้  ฉันใด,
เอวะเมวะ   อิโต  ทินนัง  เปตานัง อุปะกัปปะติ, 
                                ทานที่ท่านอุทิศให้แล้วใน
                                โลกนี้ย่อมสำเร็จประโยชน์
                                แก่ผู้ที่ละโลกนี้ไปแล้วได้ฉันนั้น,
อิจฉิตัง ปัตถิตัง ตุมหัง  ขออิฏฐะผลที่ท่านปรารถนา
                                แล้ว  ตั้งใจแล้ว, 
ขิปปะเมวะ สะมิชฌะตุ  จงสำเร็จโดยฉับพลัน,
สัพเพ ปูเรนตุ สังกัปปา,  ขอความดำริทั้งปวงจงเต็มที่,
จันโทปัณณะระโส ยะถา,  เหมือนพระจันทร์ในวันเพ็ญ,
มะณี  โชติระโส ยะถา,  เหมือนแก้วมณีอันสว่างไสว
                              ควรยินดี.
    สัพพีติโย วิวัชชันตุ,  ความจัญไรทั้งปวงจงบำราศไป, 
สัพพะโรโค  วินัสสะตุ,   โรคทั้งปวงของท่านจงหาย, 
มาเตภะวัตวันตะราโย อันตรายอย่ามีแก่ท่าน, 
สุขี  ฑีฆายุโก  ภะวะ,     ท่านจงเป็นผู้มีความสุขมีอายุยืน,
อะภิวาทะนะสี ลิสสะ นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน, 
จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติอายุวัณโณ สุขัง พะลัง,  
                               ธรรมสี่ประการคืออายุวรรณะ 
                               สุขะ พละ ย่อมเจริญแก่บุคคล
                               ผู้มีปกติไหว้กราบ มีปกติอ่อน
                               น้อมต่อผู้ใหญ่เป็นนิจ.
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง,  ขอสรรพมงคลจงมีแก่ท่าน,
รักขันตุ สัพพะเทวะตา,  ขอเหล่าเทวดาทั้งปวง
                               จงรักษาท่าน,
สัพพะพุทธานุภาเวนะ,  ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า, 
สัพพะธัมมานุภาเวนะ,   ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม, 
สัพพะสังฆานุภาเวนะ,    ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์,
สะทาโสตถี ภะวันตุเต,   ขอความสวัสดีทั้งหลาย
                               จงมีแก่ท่าน ทุกเมื่อเทอญ.





ธาตุปัจจเวกขณ์  (ยะถาปัจจะยัง)
                  บทพิจารณาอาหาร(คัดมาเฉพาะ)

ยะถาปัจจะยัง  ปะวัตตะมานัง ธาตุมัตตะ
เมเวตัง                  สิ่งเหล่านี้นี่เป็นสักว่าธาตุตาม
                                  ธรรมชาติเท่านั้น  กำลังเป็นไป
                             ตามเหตุตามปัจจัยอยู่เนืองนิจ,
ยะทิทังปิณฑะปาโต ตะทุปะภุญชะโก
จะปุคคะโล,               สิ่งเหล่านี้ คือบิณฑบาต และ
                                 คนผู้บริโภคบิณฑบาตนั้น, 
ธาตุมัตตะโก,             เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติ,
นิสสัตโต,                        มิได้เป็นสัตวะอันยั่งยืน,  
นิชชีโว,                       มิได้เป็นชีวะอันเป็นบุรุษบุคคล,
สุญโญ,                             ว่างเปล่าจากความหมาย
                             แห่งความเป็นตัวตน,
สัพโพ ปะนะยัง ปิณฑะปาโต  อะชิคุจ
ฉะนิโย,                    ก็บิณฑบาตทั้งหมดนี้ไม่เป็น   
                                 ของน่าเกลียดมาแต่เดิม,
อิมัง ปูติกายัง ปัตวา,  ครั้งมาถูกเข้ากับกาย
                             อันเน่าอยู่เป็นนิจนี้แล้ว,
อะติวิยะ  ชิคุจฉะนีโย  ชายะติ,  ย่อมกลายเป็นของ
                             น่าเกลียดอย่างยิ่งไปด้วยกัน,
ธาตุมัตตะโก           เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติ,  
นิสสัตโต,                   มิได้เป็นสัตวะอันยั่งยืน,
นิชชีโว,                      มิได้เป็นชีวะอันเป็นบุรุษบุคคล, 
สุญโญ,                       ว่างเปล่าจากความหมาย
                             แห่งความเป็นตัวตน,
สัพโพปะนายัง    คิลานะปัจจะยะ เภสัชชะปะริก
ขาโร อะชิคุจฉะนีโย  ก็คิลานเภสัชบริขารทั้งหมดนี้
                                    ไม่เป็นของน่าเกลียดมาแต่เดิม,
อิมัง ปูติกายัง ปัตวา,   ครั้นมาถูกเข้ากับกาย
                             อันเน่าอยู่เป็นนิจนี้แล้ว,
อะติวิยะ  ชิคุจฉะนีโย ชายันติ,  ย่อมกลายเป็นของ
                                   น่าเกลียดอย่างยิ่งไปด้วยกัน,

É 2. ตังขณิกปัจจเวกขณ์ (ปฏิสังขาโย)Ê
    (นำมาเฉพาะบทพิจารณาอาหาร)

ปะฏิสังขา โยนิโส ปิณฑะปาตัง ปะฏิเสวามิ, 
                                  เราย่อมพิจารณาโดย
                            แยบคายแล้วฉันบิณฑบาต,
เนวะ  ทะวายะ,         ไม่ให้เป็นไปเพื่อความ
                            เพลิดเพลินสนุกสนาน, 
นะมะทายะ,                 ไม่ให้เป็นเพื่อความเมามัน
                        เกิดกำลังพลังทางกาย,
นะ มัณฑะนายะ,        ไม่ให้เป็นไปเพื่อประดับ,
นะ  วิภูสะนายะ,         ไม่ให้เป็นไปเพื่อตกแต่ง, 
ยาวะเทวะ  อิมัสสะ กายัสสะ  ฐิติยา, 
                            แต่ให้เป็นไปเพียงเพื่อความ
                            ตั้งอยู่ได้แห่งกายนี้,
ยาปะนายะ,                เพื่อความเป็นไปได้ของอัตภาพ,
วิหิงสุปะระติยา,         เพื่อความสิ้นไปแห่งความ
                                     ลำบากทางกาย,
พรัหมะจะริยานุคคะหายะ,  เพื่ออนุเคราะห์
                                     แก่การประพฤติพรหมจรรย์, 
อิติ  ปุราณัญจะ  เวทะนัง ปะฏิหังขามิด้วยการ
                           ทำอย่างนี้เราย่อมระงับเสียได้ 
                           ซึ่งทุกขเวทนาเก่าคือ ความหิว,
นะวัญจะ  เวทะนัง  นะ อุปปาเทสสามิ, และไม่
                           ทำทุกขเวทนาใหม่ให้เกิดขึ้น, 
ยาตะรา  จะ เม ภะวิสสะติ  อะนะวัชชะตา จะ
ผาสุวิหาโร จาติ      อนึ่งความเป็นไปโดยสะดวกแห่ง
                                  อัตตภาพนี้ด้วยความเป็นผู้หา
                                           โทษมิได้ด้วยและความเป็นอยู่
                                  โดยผาสุกด้วยจักมีแก่เราดังนี้.
                            
         (คำพิจารณาก่อนทานอาหารแบบไทยๆ)
ข้าวทุกจาน อาหารทุกอย่างอย่ากินทิ้งขว้าง เพราะเป็นของมีค่า  หลายคนเหนื่อยยากลำบากหนักหนา สงสารบรรดาผู้ไม่มีกิน  ขอบคุณ ขอบคุณ ขอบคุณแม่ครัว ขอบคุณทุกท่านที่กรุณานำอาหารมาให้ พวกเราทราบซึ่งตรึงใจ ต่อแต่นี้ไปจะตั้งใจ ทำความดีตอบแทน  ขอบคุณครับ ขอบคุณคะ.....

คำอาราธนาและรับศีล 
         (เจ้าภาพหรือผู้เป็นประธานในพิธีจุดเทียน ธูป ที่
    โต๊ะบูชาแล้วกราบ 3 ครั้ง  ถ้าสามารถว่านำเองได้
     ก็ให้นำถ้าว่านำไม่ได้จะ  มอบให้ผู้ใดนำก็ได้ ว่า)
   อิมินา สักกาเรนะ ตังพุทธัง อภิปูชายามิ.,  อะระหัง
สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา,พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ,(กราบ)               
สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโมธัมมัง นะมัสสามิ,  (กราบ)                           
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆสังฆัง นะมามิ, (กราบ)         
                    (คำอาราธนาศลี 5)
              (ว่าคนเดียวหรือพร้อมกันก็ได้)
     - มะยัง  ภันเต วิสุง  วิสุง  รักขะนัตถายะ
       ติสะระเณนะสะหะ  ปัญจะ  สีลานิ  ยาจามะ,
     - ทุติยัมปิ  มะยัง ภันเต วิสุง  วิสุง รักขะนัตถายะ 
       ติสะระ   เณนะสะหะ  ปัญจะ  สีลานิ  ยาจามะ,
     - ตะติยัมปิ  มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ
       ติสะระเณนะสะหะ  ปัญจะ สีลานิ  ยาจามะ,
คำอาราธนาและรับศีล  
 มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะ  สีลานิ ยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต  ติสะระเณนะ  สะหะ อัฏฐะ  สีลานิยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต  ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ
   คำแปล ข้าแต่ท่านผู้เจริญข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอศีล 5 พร้อมทั้งไตรสรณคมน์เพื่อจะรักษาแม้ครั้งที่ 2.แม้ครั้งที่ 3

  (จากนั้นโยมตั้งใจสะมาทานศีล  โดยว่าตามพระ ดังนี้)
 นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ                      
                          (ว่า 3 จบ) 
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ,     ธัมธัง สะระณัง คัจฉามิ,
 สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ,     ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิทุติยัมปิ ธัมธัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัาปิ สังฆัง สะระณัง   คัจฉามิ  ตะติยัมปิ  พุทธัง สะระณัง  คัจฉามิ,  ตะติยัมปิ ธัมธัง สะระณัง คัจฉามิ,   ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง  คัจฉามิ,
(พระว่า ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง,โยมรับว่า อามะ ภันเต,)

 1. ปาณาติปาตา  เวระมะณี สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ.
 2. อะินนาทานา  เวระมะณี สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ.
 3กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
       (ถ้าเป็นศีล ข้อ คือ กาเม เป็น อะพรัห ดังนี้)
 3. อะพรัหมะจะริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ,              
 4. มุสาวาทา  เวระมะณี  สิกขาปะทัง  สะมาทิยามิ.
 5. สุราเมระยะ มัชชะปะมา ทัฏฐานา เวระมะณี สิกขา
  ปะทัง สะมาทิยามิ.  (การรับศีล 5 ก็จบเพียงเท่านี้)                                           

         (ถ้าเป็นศลี 8 ข้อก็ว่าต่อข้อที่ 6-8 ว่า ดังนี้ )..
 6. วิกาละโภชะนา เวระมะณี  สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
 7. นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสะนา มาลาคันธะวิเล
     ปะนะ ธาระณะ มัณฑะนะ วิภูสะนัฏฐานา  เวระ
     มะณี  สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
8.     อุจจาสะยะ นะมะหาสะยะนา เวระมะณี  สิกขาปะทัง
     สะมาทิยามิ.
    (พระสรูปถ้าเป็นศลี 8 เปลี่ยน ปัญจะ เป็น อัฏฐะ..)    
  อิมานิ  ปัญจะ สิกขาปะทานิสีเล  นะะ สุคะติง  ยันติ,   
  สีเลนะ โภคะสัมปะทาสีเลนะ นิพพุติง ยันติตัสสะมา   
  สีลัง วิโสธะเย, (โยมรับว่า สาธุ เป็น เสร็จพิธี)

                 คำถวายสังฆทานสามัญ
อิมานิมะยัง ภันเตภัตตานิ,  สะปะริวารานิ,   ภิกขุสังฆัสสะโอโนชะยามะ,  สาธุ  โน ภันเตภิกขุสังโฆ, 
อิมานิ  ภัตตานิ,  สะปะริวารานิ,  ปะฏิคคัณหาตุ  อัม-
หากัง,  ทีฆะรัตตังหิตายะ  สุขายะ,
      คำแปล ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายภัตตาหารกับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้,  แด่พระภิกษุสงฆ์,  ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ ภัตตาหาร,กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย,เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนาน เทอญ.
     
                              การปฏิบัติธรรม(ทำ)
                   (นำแสดงเพียงบางส่วนเพื่อเป็นข้อสังเกตและนำไปปฏิบ้ติ)             
                 *************************************************
         พระพุทธเจ้าทรงสอนให้รู้จักหน้าที่ของเรา  หน้าที่ของมนุษย์คือ
การปฏิบัติธรรมะ  หน้าที่ของมนุษย์คือการสอนมนุษย์ให้เป็นมนุษย์ ดังนั้นเราจึงควรดูที่ตัวของเราเองก่อน เราควรพิจารณาตัวของเราเองก่อน  เราควรสอนตัวเราเองก่อนถ้าเราทำชีวิตของเราให้สูญไปโดยไร้ประโยชน์ เราไม่สามารถจะซื้อมันกลับมาได้อีก  ถ้าเราปล่อยให้ชีวิตของเราเป็นทุกข์เราทำชีวิตของเราให้สิ้นเปลือง พระพุทธเจ้ามิได้ ทรงสอนอะไรอื่นนอกจากการดับทุกข์  แต่เมื่อเราไม่รู้เราแสวงหาออกนอกตัวเรา แต่ทุกข์ชนิดนั้นมิได้ดำรงอยู่
        คำสอนของผู้เป็นครูของโลกทั้งหลายเปรียบเหมือนกับใบไม้ทั้งป่า แต่ใบไม้ที่สามารถนำมาทำยาได้มีเพียงเล้กน้อยอย่าได้เอามาทั้งหมดทั้งรากและลำต้น เมื่อมาปฏิบัติกรรมฐานหรือวิปัสสนา เราควรจะเอาเฉพาะสิ่งที่สามารถป้องกันไม่ให้ทุกข์เกิด  สามารถดับทุกข์ที่ต้นเหตุของมันสามารถทำลายโมหะเราเอาเฉพาะแก่น แก่นของคำสอนที่  ข้าพเจ้าพูดถึงอยู่นี้คือ การมีสติ มีปัญญา เห็นความคิด  เมื่อความคิดเกิดขึ้นเห็นมันรู้มัน  เข้าใจมันรู้มันในทุกลักษณะที่
มันเกิด และรู้ถึงวิธีป้องกันมิให้มันมาลวงเรา
           ไม่ว่าเราจะอยู่    ที่ใด  นั่นคือที่  ที่เราจะต้องปฏิบัติ ไม่มีใครจะทำแทนเราได้ ไม่ว่าเราจะไปที่ใดเราเป็นบุคคลที่ไป ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไดเราเป็นบุคคลที่อยู่  นั่ง  กิน  ดื่ม  นอนหลับเราเองเป็นผู้กระทำ  ถ้าเราเป็นบุคคลที่รักษาศีลหรือให้ทานเราสามารถปฏิบัติได้ และถ้าเราเป็นบุคคลที่ไม่เคยกระทำสิ่งเหล่านี้  เราก็สามารถปฏิบัติได้เช่นเดียวกัน  การช่วยเหลือบุคคลอื่นนั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่ก็ดีในทางโลก  ส่วนการปฏิบัติเจริญสติ  สมาธิ  ปัญญา นั้นดีในทุกๆทาง  ดังนั้นก่อนที่เธอจะสอนผู้อื่นเธอควรจะฝึกฝนตัวเองกระทั่งเธอเห็น  รู้  และเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งและอย่างแท้จริง  เมื่อเธอเห็นจริง  รู้จริง และเป็นจริงแล้ว เธอจะสามารถสอนผู้อื่นได้อย่างสบาย
             ดังนั้นการปฏิบัตินี้เราต้องเรียนด้วยตัวของเราเอง  เราต้องสอนตัวเราเอง  เราต้องเห็นด้วยตัวของเราเอง เราต้องรู้ด้วยตัวของเราเอง  เราต้องเข้าใจด้วยตัวของเราเอง  เราต้องทำด้วยตัวของเราเอง  ดังนั้นเธอไม่จำต้องสนใจในบุคคลอื่นเพียงปฏิบัติการเคลื่อนไหวนี้ให้มาก ทำเฉยๆ ไม่รีบร้อนไม่ลังเลสงสัยไม่คาดคิดล่วงหน้า และทำโดยไม่คาดหวังผล  ให้ง่ายๆ และเพียงแต่เคลื่อนไหว เคลื่อนไหวทีละครั้งและรู้เมื่อเธอไม่รู้ปล่อยมันไป เมื่อเธอรู้ปล่อยมันไป บางครั้งเธอรู้บางครั้งเธอไม่รู้มันเป็นเช่นนั้น แต่ให้รู้ เมื่อร่างกายเคลื่อนไหวรู้มันเมื่อจิตใจเคลื่อนไหว รู้มัน การปฏิบัตินี้เป็นการปฏิบัติตลอด ๒๔  ชั่วโมง  ดังนั้นให้ผ่อนคลายและให้เป็นธรรมชาติ เป็นปกติธรรมดา จงตั้งใจปฏิบัติจริงๆ และปฏิบัติอย่างสบาย
วิธีของการเจริญสติในชีวิตประจำวัน
เมื่อเราขึ้นรถหรือลงเรือและนั่งลงเรียบร้อยแล้ว เราพลิกมือขึ้นพลิกมือลง เราเคลื่อนมือ เหยียดมือหรือคลึงนิ้วมือ กะพริบตา หายใจ กลืนน้ำลาย และอื่นๆ
                                               
               คลึงนิ้วมือ                    กำมือ                         เหยียดมือ
ให้รู้สึกตัวถึงการเคลื่อนไหวเหล่านี้มันเป็นวิธีที่เรียกความรู้สึกตัวให้กลับมา ที่ตัวของเราเอง เมื่อความคิดเกิดขึ้น ให้รู้สึกถึงความคิดนั้นและปล่อยวาง
     วิธีของการเจริญสติเมื่อเราอยู่ที่บ้าน
เราอาจจะนั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งบนเก้าอี้ หรือนั่งเหยียดขา เราอาจจะยืนหรือนอนสร้างจังหวะได้เช่นเดียวกันเมื่อเราเดินจงกรม (เดิน กลับไปกลับมาระยะประมาณ ๘–๑๒ ก้าว)เราต้องไม่แกว่งแขน เราอาจกอดอก หรือเอามือประสานไว้ข้างหน้า หรือประสานไว้ข้างหลังก็ได้

วิธีปฏิบัติในท่านั่งมีดังนี้ (ดูภาพประกอบวิธีสร้างจังหวะ)
1. มือทั้งสองข้างคว่ำไว้ที่ขา                2.พลิกมือขวาตะแคงขึ้น....ให้รู้สึก
3. ยกมือขวาขึ้นครึ่งตัวให้รู้สึกแล้วหยุด  4.เอามือขวาขึ้นมาที่สะดือ.....ให้รู้สึก
5 พลิกมือซ้ายตะแคงขึ้น..ให้มีความรู้สึก 6.ยกมือซ้ายขึ้นครึ่งตัว.ให้มีความรู้สึก
7. เอามือซ้ายมาที่สะดือ.....ให้รู้สึก        8.เลื่อนมือขวาขึ้นหน้าอก....ให้รู้สึก
9. เอามือขวาออกตรงข้าง...ให้รู้สึก    10. ลดมือขวาลงที่ขาขวาตะแคงไว้...ให้รู้สึก              11. คว่ำมือขวาลงที่ขาขวา...ให้รู้สึก    12.เลื่อนมือซ้ายขึ้นที่อก.ให้มีความรู้สึก  
13. เอามือซ้ายออกมาข้าง.ให้รู้สึก  14.ลดมือซ้ายออกที่ขาซ้ายตะแคงไว้ให้รู้สึก 15.คว่ำมือซ้ายลงที่ขาซ้าย..ให้รู้สึก



กล่องข้อความ:            จากนั้นทำเหมือนเดิมเป็นรอบๆไปเรื่อยๆ (วิธีการสร้างจังหวะนี้ เป็นการกำหนดความรู้ตัว เพื่อให้การเคลื่อนไหวนี้เป็นนิมิต เป็นเครื่องหมาย ในการตรวจสอนจิต จะเป็นการนำเอาจิตนั้นมาฝึกหัดหรือพัฒนาปรับปรุง แก้ไขให้ดียิ่งขึ้น (ซึ่งไปตรงกับคำสอนของพระพุทธเจ้า ในหลักสติปัฏฐานสูตร ที่ว่าให้มีการกำหนด กาย เวทนาจิต ธรรม ให้มีสติสัมปะชัญญะ มีความ รู้สึกตัวทั่วพร้อม ในการเคลื่อนไหว คู้เหยียด แลเหลียว กระพริบตา หายใจ กลืนน้ำลาย เป็นต้น ถ้าอยู่บนรถหรือในที่ชุมชนต่างๆที่ไม่เหมาะ กับการสร้าง จังหวะ  เราก็ให้วิธีพริกมือคว่ำมือ กำมือเหยียดมือ หรือจะกำหนดรู้ส่วนใด ส่วนหนึ่งของร่างกายก็ได้ )
                         การเดินจงกรม
    การเดินจงกรมไม่ใช่เดินเป็นวงกลมแต่เดินกลับไปกลับมาให้รู้สึกตัว” โดยไม่ต้องแกว่งแขน ไม่ต้องบริกรรมไม่ต้องหลับตา ให้กำหนดความรู้สึกเฉยๆเส้นทางประมาณ 8-12 ก้าว เดินธรรมดาแต่ให้มีความ”รู้สึกตัว” รู้อยู่กับการเคลื่อนไหวกลับไปกลับมา  เพื่อเป็นการสลับกับการสร้างจังหวะ จะได้เจริญสติได้ยาวนานและต่อเนื่อง  เมื่อนั่งเหนื่อยก็ลุกขึ้นมาเดิน (สลับไปสลับมา) 


 
   

  


                  ++++++++++++++++
                                                
                                                                
                                             สัพพัญญูรู้กว้างไกล  เปรียบใบไม้ทั้งป่า
                                                  แต่ทรงคัด สอนชี้นำ  กำมือเดียว




                                                                                                                            ต้นไม้มีคุณเพราะกางกั้นกันแดดฝน 
             ธรรมมีผลเพราะประพฤติจึงสุขสันต์
             เพียงความรู้อย่างเดียวไม่ครบครัน
             รู้เท่าทันเพราะปฏิบัติตัดมืดมน......









      











หมายความว่า คนเราชอบทำบุญภายนอกแต่ไม่ย่อม
ละบาปภายใน  เพราะจิตใจยังวุ่นวายหงุดหวิดอยู่  พอ
เชิญชวนให้ปฏิบัติธรรมเจริญสติ เพื่อละบาปภายใน
คือความหลงอันเป็นต้นเหตุของบาปก็ปิดหูไม่อยากฟ้ง.