"..การมาทับมิ่งขวัญนี้ เป็นการเริ่มต้นชีวิตใหม่ ต้องเป็นคนจริง ทำจริง พูดจริง เมื่อทำจริง พูดจริงก็ต้องรู้ของจริง จริงๆ.."
หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ 12 กรกฎาคม 2530
www.wattubmingkwan.com เวบหลัก วัดทับมิ่งขวัญ เวบนี้เป็นเพียง เวบสำรองครับผู้จัดทำ 9 มิถุนายน 2555

พระสูตรต่างๆ


                       1.มหาสติปัฏฐานสูตร
        (เป็นสูตรที่พระองค์ทรงรับรองว่าเป็นทางอันเอก)

เอวัมเม  สุตัง              ข้าพเจ้า (พระอานนท์)
                                 ได้ฟัง มาอย่างนี้ว่า,
เอกัง  สะมะยัง ภะคะวา,   ครั้งหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า,
กูรูสุ วิหะระติ               ประทับอยู่ในดินแดนแห่ง
                                 หมู่ชนชาวกุรุทั้งหลาย,
กัมมาสะธัมมัง นามะ กุรูนัง นิคะโม, นิคมแห่งชาว
                                 กุรุชื่อนิคมกัมมาสทัมมะ,
ตัตะระ โข  ภะคะวา  ภิกขู อามันเตสิ
ภิกขะ โวติ,                         ณ ที่นั่นเองพระผู้มี
                                 พระภาคตรัสเรียกภิกษุ
                                 ทั้งหลายว่าภิกษุทั้งหลาย,
ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุง
ภะคะวา เอตะทะโวจะ   ครั้นภิกษุทั้งหลายทูลขานว่า
                                 ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ดังนี้แล้ว
                                 พระผู้มีพระภาค จึงตรัสเนื้อ
                                 ความอันเป็นอุทเทส คือหัวข้อ
                                 แห่งมหาสติปัฏฐานสูตรนี้ว่า,
เอกายะโน อะยัง ภิกขะเว มัคโค, ภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้
                                            เป็นหนทางเพียงทางเดียว,
สัตตานังวิสุทธิยา,         เพื่อความบริสุทธิ์หมดจดของ
                                 สัตว์ทั้งหลาย,
โสกะปะริเทวานัง สะมะติกกะมายะ, เพื่อการก้าวล่วงเสียซึ่ง
                                    ความโศก และความร่ำไรรำพัน,
ทุกขะโทมนัสสานัง  อัฏฐังคะมายะ,  เพื่อความตั้งอยู่
                                  ไม่ได้แห่งทุกข์และโทมนัส,
ญายัสสะ  อะธิคะมายะ   เพื่อบรรลุธรรมอันสัตว์พึงรู้,
นิพพานัสสะ สัจฉิกิริยายะ,   เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง,
ยะทิทัง จัตตาโร สะติปัฏฐานา, หนทางนี้คือสติปัฏฐานสี่,
กะตะเม จัตตาโร,               สติปัฎฐานทั้งสี่คืออะไรเล่า,?
อิธะ  ภิกขะเว ภิกขุ,            ภิกษุทั้งหลายภิกษุในศาสนานี้,
กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ,  เป็นผู้มีปรกติเห็นกายในกายอยู่,
อาตาปีสัมปะชาโนสะติมา, เธอมีความเพียรเครื่องเผาบาป
                                             มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ,
วิเนยยะ  โลเก  อะภิชฌาโทมะนัสสัง นำความพอใจ
                                         และความไม่พอใจในโลก
                                   ออกเสียได้,  เรียกว่ากายา
                                          นุปัสสนา  สติปัฏฐาน
เวทะนาสุ  เวทะนานุปัสสี   วิหะระติเป็นผู้มีปรกติ เห็น
                                   เวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่,
อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา, เธอมีความเพียรเครื่องเผาบาป                      
                                     มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ,
วิเนยยะ โลเก  อะภิชฌาโทมะนัสสัง,  นำความพอใจ
                                   และความไม่พอใจในโลก
                                   ออกเสียได้เรียกว่าเวทนา
                                          นุปัสสนาสติปัฏฐาน,
จิตเตจิตตานุปัสสี วิหะระติ, เป็นผู้มีปรกติเห็นจิตในจิตอยู่, 
อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา,  เธอมีความเพียรเครื่องเผาบาป
                                             มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ,
วิเนยยะ โลเก  อะภิชฌาโท มะนัสสัง, นำความพอใจ
                                   และความไม่พอใจในโลก
                                   ออกเสียได้, เรียกว่าจิตตา
                                          นุปัสสนา สติปัฏฐาน,
ธัมเมสุ  ธัมมานุปัสสี  วิหะระติ,  เป็นผู้มีปรกติ เห็น
                                             ธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่,
อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา,  เธอมีความเพียรเครื่องเผาบาป
                                                มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมมีสติ,
วิเนยยะ   โลเก   อะภิชฌาโท  มะนัสสัง,  นำความพอใจ
                                       และความไม่พอใจในโลก
                                    ออกเสียได้, เรียกว่าธัมมา
                                            นุปัสสนา สติปัฏฐาน,


                ฐานที่ 1 กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
   (ว่าด้วยเห็นกายในกาย อะริยาปะถะปัพพัง อริยาบถ 4)

ปุนะ  จะปะรังภิกขะเว ภิกขุ, ภิกษุทั้งหลาย อย่างอื่น
                                    ยังมีอยู่อีก,
คัจฉันโต วา คัจฉามีติ  ปะชานาติ ภิกษุเมื่อเดินอยู่
                                               ย่อมรู้ชัดว่า  เราเดินอยู่,
ฐิโต วา ฐิโตมหีติ ปะชานาติ เมื่อยืนย่อมรู้ชัดว่าเรายืนอยู่,
นิสินโน วา นิสินโนมะหีติ ปะชานาติเมื่อั่งย่อม
                                    รู้ชัดว่า เรานั่งอยู่,
สะยาโน  วา  สะยาโนมะหีติ ปะชานาติเมื่อนอน
                                              ย่อมรู้ชัดว่า เรานอนอยู่,
ยะถา ยะถา วา ปะนัสสะ กาโยปะณิหิโต โหติเธอตั้ง
                                             กายไว้ด้วยอาการอย่างใดๆ,
ตะถา ตะถา นัมปะชานาติ,  ย่อมรู้ทั่วถึงกายนั้น 
                                    ด้วยอาการอย่างนั้นๆ,
อิติ อัชฌัตตัง วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ,  ด้วย
                                               อาการอย่างนี้  ที่ภิกษุเป็น
                                               ผู้มีปรกติ พิจารณาเห็นกาย
                                             ในกาย  อันเป็นภายในบ้าง,
พะหิทธา วา กาเย  กายานุปัสสี  วิหะระติ,
                                       ในกายอันเป็นภายนอกบ้าง,
อัชฌัตตะ พะหิทธา  วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ,
                               ในกายทั้งอันเป็นภายใน
                                        และภายนอกบ้าง,
สะมุทะยะธัมมานุปัสสี  วา กายัสะมิง วิหะระติและ
                                              เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นธรรม
                                             อันเป็นเหตุเกิดขึ้นในกายนี้บ้าง,
วะยะธัมมานุปัสสี วา กายัสะมิง วิหะระติเห็นธรรมอัน
                              เป็นเหตุเสื่อมไปในกายนี้บ้าง,
สะมุทะยะวะยะ ธัมมานุปัสสี วา กายัสะมิง วิหะระติ,
                                       เห็นธรรมอันเป็นเหตุเกิดขึ้น
                                       และเื่อมไปในกายนี้บ้าง,
อัตถิ กาโยติ วา ปะนัสสะ สะติ  ปัจจุปัฏฐิตา โหติ,                          
                              ก็แหละสติคือความระลึกว่า
                              กายมีอยู่ดังนี้ ของเธอนั้น
                              เป็นสติที่เธอดำรงไว้,
ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ, เพียงเพื่อรู้,
ปะติสสะติมัตตายะ,      เพียงเพื่ออาศัยระลึก,
อะนิสสิโต จะ วิหะระติที่แท้เธอเป็นผู้ที่ตัณหา
                                       และทิฏฐิอาศัยไม่ได้, 
นะจะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติเธอไม่ยึดมั่นอะไรๆในโลกนี้,
เอวัมปิ ภิกขะเว ภิกขุ กาเย  กายานุปัสสี วิหะระติ,
                                       ภิกษุทั้งหลายแม้อย่างนี้
                                       ก็ชื่อว่าภิกษุเป็นผู้มีปรกติ  
                              พิจารณาเห็นกายในกายอยู่,
                     'YJKL['
                   กายานุปัสสนา ลักษณะที่ 2
             (ว่าด้วย สัมปะชัญญะ คือความรู้สึกตัว)

ปุนะ จะปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ,
            ภิกษุทั้งหลาย อย่างอื่นยังมีอยู่อีก,
อะภิกกันเต ปะฎิกกันเต สัมปะชานะการี  โหติ, 
               ภิกษุย่อมเป็นผู้มีปรกติ  ทำความ
            รู้สึกตัวทั่วพร้อม ในการก้าวไปข้าง
            หน้า  ในการถอยกลับมาข้างหลัง,
อาโลกิเต วิโลกิเต สัมปะชา นะการี โหติ,
            เป็นผู้มีปรกติทำความรู้สึกตัวทั่ว
            พร้อม ในการแลดู การเหลียวดู,
สัมมิญชิ เต ปาสาริเตสัมปะชา นะการี โหติ
              เป็นผู้มีปรกติทำความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
            ในการคู้การเหยียดอวัยวะ,
สังฆาฏิ   ปัตตะ จีวะระ ธาระเณ สัมปะชา นะการี
โหติ,       เป็นผู้มีปรกติ ทำความรู้สึกตัวั่ว
            พร้อมในการทรงสังฆาฏิบาตรจีวร,
อะ  สิเต  ปิเต ชายิเต สายิเต สัมปะชานะการี โหติ,
               เป็นผู้มีปรกติทำความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
               ในการกินการดื่มการเคี้ยวการลิ้ม,
อุจจาระ  ปัสสาวะ กัมเม สัมปะชานะการี โหติ,
               เป็นผู้มีปรกติทำความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
            ในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ,
คะเต ฐิเต นิสินเน สุตเต ชาคะริเต ภาสิเต
ตุณหี ภาเว สัมปะ ชานะการี โหติ, เป็นผู้มีปรกติ
             ทำความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ในการไป การหยุด                          
             การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง,
อิติ   อัชฌัตตัง  วา กาเย  กายานุปัสสี  วิหะระติ,    
                     ด้วยอาการอย่างนี้ที่ภิกษุเป็นผู้มีปรกติ
                       พิจารณาเห็นกายในกายอันเป็นภายในบ้าง,
พะหิทธา วา กาเย  กายานุปัสสี วิหะระติ 
                           ในกาย อันเป็นภายนอกบ้าง.
อัชฌัตตะพะหิทธา  วา กาเย  กายานุปัสสี วิหะระติ,
                   ในกายทั้งอันเป็นภายในและภายนอกบ้าง,
สะมุทะยะธัมมานุปัสสี  วา กายัสะมิง  วิหะระติ,
                          และเป็นผู้มีปรกติพิจารณาเห็นธรรม
                    อันเป็นเหตุเกิดขึ้นในกายนี้บ้าง,
วะยะธัมมานุปัสสี วา กายัสะมิง  วิหะระติเห็น
                          ธรรมอันเป็นเหตุเสื่อมไปในกายนี้บ้าง,
สะมุทะยะวะยะ  ธัมมานุปัสสี วา กายัสมิง วิหะระติ,
                   เห็นธรรมทั้งอันเป็นเหตุเกิด 
                          ขึ้น  และเสื่อมไปในกายนี้บ้าง,
อัตถิ กาโยติ วา  ปะนัสสะ สะติ ปัจจุปัฏฐิตา โหติ,  
                          ก็แหละสติ คือความระลึกว่า"กายมีอยู่"
                  ดังนี้ ของเธอนั้น เป็นสติที่เธอดำรงไว้,
ยาวะเทวะ  ญาณะมัตถายะ,   เพียงเพื่อรู้,
ปะติสสะติมัตตายะ, เพียงเพื่ออาศัยระลึก, 
อะนิสสิโต   จะ  วิหะระติ,  ที่แท้ เธอเป็นผู้
                          ที่ตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้,
นะจะกิญจิ โลเก  อุปาทิยะติ, เธอไม่ยึดมั่นอะไรๆในโลกนี้,
เอวัมปิ ภิกขะเว  ภิกขุ  กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ.
                          ภิกษุทั้งหลายแม้อย่างนี้ ก็ชื่อว่า
                    ภิกษุเป็นผู้มีปรกติพิจารณาเห็น
                    กายในกายอยู่,
                         'YJKL['
ฐานที่ 2  เวทนานุปัสสนา
              (เห็นเวทนาในเวทนาโดยลักษณะ อย่าง)

กะถัญจะ  ภิกขะเว  ภิกขุ  เวทนาสุ เวทนานุ ปัสสี
วิหะระติ                     ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีปรกติ
                                            พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้ง
                                         หลายอยู่นั้น เป็นอย่างไรเล่า,
อิธะ  ภิกขะเว  ภิกขุ,       ภิกษุทั้งหลายภิกษุ ในศาสนานี้,
สุขังเวทะนัง เวทิยะมาโน, เมื่อเสวยเวทนาอันเป็นสุขก็ตาม,
สุขัง เวทะนัง เวทิยามีติ  ปะชานาติ,  ย่อมรู้ชัดว่า"เรา
                                เสวยเวทนาอันเป็นสุข",
ทุกขัง เวทะนัง  เวทิยะมาโน,  เมื่อเสวยเวทนา
                                         อันเป็นทุกข์ก็ตาม,
ทุกขัง เวทะนัง เวทิยามีติ ปะชานาติ,  ย่อมรู้ชัดว่า"เรา
                                         เสวยเวทนาอันเป็นทุกข์",
อะทุกขะมะสุขัง เวทะนัง เวทิยะมาโนเมื่อเสวยเวทนา
                                อันไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ตาม,
อะทุกขะมะสุขัง เวทะนัง เวทิยามีติ  ปะชานาติ,
                            ย่อมรู้ชัดว่า "เราเสวยเวทนา
                                อันไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข",
สามิสัง วา สุขัง เวทะนัง  เวทิยะมาโนเมื่อเสวยเวทนา
                                        อันเป็นสุขเจืออามิส ก็ตาม,
สามิสัง สุขัง เวทะนัง  เวทิยามีติ ปะชานาติย่อมรู้ชัดว่า
                                         เราเสวยสุขเวทนาอันเจืออามิส,
นิรามิสัง วาสุขัง เวทะนัง  เวทิยะมาโน เมื่อเสวยเวทนา
                                อันเป็นสุขไม่เจืออามิสก็ตาม,
นิรามิสัง  สุขัง  เวทะนัง  เวทิยามีติ ปะชานาติ, ย่อมรู้
              ชัดว่า "เราเสวยสุขเวทนาอันไม่เจืออามิส",
สามิสังวา  ทุกขัง เวทะนัง เวทิยะมาโน,   เมื่อ
                  เสวยเวทนาอันเป็นทุกข์ เจืออามิสก็ตาม,
สามิสัง  ทุกขัง เวทะนัง เวทิยามีติ ปะชานาติย่อมรู้
                 ชัดว่า "เราเสวยทุกขเวทนา  อันเจืออามิส",
นิรา มิสัง  วา ทุกขัง เวทะนัง เวทิยะมาโน เมื่อ
              เสวยเวทนา อันเป็นทุกข์ไม่เจืออามิสก็ตาม,
นิรามิสัง   ทุกขัง เวทะนัง เวทิยามีติ ปะชานาติ, ย่อมรู้
             ชัดว่า "เราเสวยทุกขเวทนาอันไม่เจืออามิส",
สามิสังวา  อะทุกขะมะสุขัง เวทะนัง เวทิยะมาโน,
             เมื่อเสวยเวทนาอันไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข  
              อันเจืออามิสก็ตาม,
สามิสัง อะทุกขะมะสุขัง เวทะนัง เวทิยามีติ ปะชา
นาติ,       ย่อมรู้ชัดว่า "เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา  
              อันเจืออามิส",
นิรา  มิสัง  วา อะทุกขะมะสุขัง เวทะนัง เวทิยะมาโน,
                  เมื่อเสวยเวทนา อันไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุข
              อันไม่เจืออามิสก็ตาม,
นิรา  มิสัง  อะทุกขะมะสุขัง เวทะนัง เวทิยามีติ ปะ
ชานาติ,     ย่อมรู้ชัดว่า "เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา
              อันไม่เจืออามิส",
อิติ อัชฌัตัง วา เวทะนาสุ เวทะนานุปัสสี วิหะระติ,
                  ด้วยอาการอย่างนี้  ที่ภิกษุเป็นผู้มีปรกติ
              พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย
              อันเป็นภายในบ้าง,
พะหิทธา   วา เวทะนาสุ เวทะนานุปัสสี วิหะระติ,   
                  ในเวทนาทั้งหลาย อันเป็นภายนอกบ้าง,
อัชฌัตตะพะหิทธา  วา  เวทะนา  สุเวทะนานุ  ปัสสี
วิหะระติ,                       ในเวทนาทั้งหลายทั้งอันเป็น  
                              ภายในและภายนอกบ้าง,
สะมุทะยะธัมมานุปัสสี  วา เวทะนาสุ วิหะระติ,  และ
                                   เป็นผู้มีปรกติพิจารณาเห็นธรรม
                              อันเป็นเหตุเกิดขึ้นในเวทนาบ้าง,
วะยะธัมมานุปัสสี วา เวทะนาสุ วิหะระติเห็นธรรมอัน
                                   เป็นเหตุเสื่อมไป ในเวทนาบ้าง,
สะมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี  วา เวทะนาสุ วิหะระติ, 
                                 เห็นธรรมทั้งอันเป็นเหตุเกิดขึ้น
                              และเสื่อมไปในเวทนาบ้าง,
อัตถิ  เวทะนาติ วา  ปะนัสสะ สะติ ปัจจุปัฏฐิตา โหติ,
                                  ก็แหละสติ คือความระลึกว่า  
                              เวทนามีอยู่ดังนี้ ของเธอนั้น
                              เป็นสติที่เธอดำรงไว้,
ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ,   เพียงเพื่อรู้,
ปะติสสะติมัตตายะ,      เพียงเพื่ออาศัยระลึก,
อะนิสสิโต จะ วิหะระติที่แท้ เธอเป็นผู้ที่ตัณหา
                              และทิฏฐิอาศัยไม่ได้,
นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติเธอไม่ยึดมั่นอะไรๆในโลกนี้,
เอวัง โข ภิกขะเว  ภิกขุ เวทะนาสุ  เวทะนา นุปัสสี
วิหะระติ,                       ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แลชื่อว่า
                              ภิกษุเป็นผู้มีปรกติ พิจารณาเห็น
                              เวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่,

                            'YJKL['

                 ฐานที่ 3. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
                    (เห็นจิตในจิตโดยลักษณะ 16 อย่าง)

กะกัญจะ ภิกขะเว ภิกขุ  จิตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ, 
                       ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีปรกติพิจารณา
                 เห็นจิตในจิตอยู่นั้น เป็นอย่างไรเล่า,
อิธะภิกขะเว ภิกขุภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้,
สะราคัง  วา  จิตตัง สะราคัง จิตตันติ ปะชานาติ, 
                     รู้จักจิต อันมีราคะก็ตามว่า  "จิตมีราคะ",
วีตะราคัง วา จิตตัง วีตะราคัง  จิตตันติ ปะชานาติ 
                 รู้จักจิตอันปราศจากราคะก็ตามว่า "จิต
                 ปราศจากราคะ",
สะโทสัง  วา  จิตตัง สะโทสัง  จิตตันติ  ปะชานาติ,
                      รู้จักจิต อันมีโทสะก็ตามว่า"จิตมีโทสะ,
วีตะโทสัง วา จิตตัง วีตะโทสัง  จิตตันติ ปะชานาติ,
                 รู้จักจิตอันปราศจากโทสะก็ตามว่า
                 "จิตปราศจากโทสะ",
สะโมหัง  วา  จิตตัง สะโมหัง  จิตตันติ ปะชานาติ 
                 รู้จักจิต อันมีโมหะก็ตามว่าจิตมีโมหะ,
วีตะโมหัง วา จิตตัง วีตะโมหัง  จิตตันติ ปะชานาติ 
                 รู้จักจิตอันปราศจากโมหะก็ตามว่าจิต
                 ปราศจากโมหะ,
สังขิตตัง วา  จิตตัง สังขิตตัง จิตตันติ ปะชานาติ,
                      รู้จักจิต อันหดหู่ก็ตามว่าจิต หดหู่",
วิกขิตตัง วา  จิตตัง วิกขิตตัง  จิตตันติ ปะชานาติ   
                 รู้จักจิตอันฟุ้งซ่านก็ตามว่า"จิตฟุ้งซ่าน,
มะหัคคะตังวา จิตตัง มะหัค คะตัง จิตตันติ ปะชานาติ,
                   รู้จักจิต อันได้อารมณ์อันเลิศก็ตามว่า"จิต 
                      ถึงแล้วซึ่งอารมณ์อันเลิศ",
อะมะหัคคะตัง วา จิตตัง อะมะหัคคะตัง จิตตันติ
ปะชานาติ,        รู้จักจิต  อันไม่ได้อารมณ์อันเลิศ
                    ก็ตามว่า "จิตไม่ได้อารมณ์อันเลิศ",
สะอุตตะรัง วา  จิตตัง สะอุตตะรัง จิตตันติ ปะชานาติ,    
                      รู้จักจิตอันมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็ตามว่า
                  "จิตยังมีจิตอื่นยิ่งกว่า",
อะนุตตะรัง วา จิตตัง อะนุตตะรัง จิตตันติ ปะชานาติ,  
                      รู้จักจิตอันไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็ตาม
                    ว่า "จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า",
สะมาหิตัง  วา  จิตตัง  สะมาหิตัง จิตตันติ ปะชานาติ,     
                      รู้จักจิตอันตั้งมั่นก็ตามว่าจิตตั้งมั่น,
อะสะมาหิตัง วา จิตตัง อะสะมาหิตัง จิตตันติ ปะชานาติ,  
                      รู้จักจิต อันไม่ตั้งมั่นก็ตามว่าจิตไม่ตั้งมั่น",
วิมุตตัง วา จิตตัง  วิมุตตัง  จิตตันติ ปะชานาติ,      
                         รู้จักจิต อันหลุดพ้นแล้วก็ตามว่า
                  "จิตหลุดพ้นแล้ว",
อะวิมุตตังวา    จิตตัง อะวิมุตตัง จิตตันติ ปะชานาติ, 
                      รู้จักจิต อันไม่หลุดพ้น ก็ตามว่า
                    "จิตยังไม่หลุดพ้น",
อิติ   อัชฌัตตัง วา  จิตเต  จิตตานุปัสสี  วิหะระติ,   
                        ด้วยอาการอย่างนี้  ที่ภิกษุเป็นผู้มีปรกติ
                    พิจารณาเห็นจิตในจิต อันเป็นภายในบ้าง,
พะหิทธา วา จิตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ,    
                     ในจิต อันเป็นภายนอกบ้าง,
อัชฌัตตะพะหิทธา วา จิตเตจิตตานุปัสสี วิหะระติ, 
                          ในจิตทั้งอันเป็นภายใน และภายนอกบ้าง,
สะมุทะยะธัมมานุปัสสี  วา จิตตัสสะมิง  วิหะระติ,     
                      และเป็นผู้มีปรกติ  พิจารณาเห็นธรรม
                    อันเป็นเหตุเกิดขึ้นในจิตบ้าง,
วะยะธัมมานุปัสสี  วา จิตตัสสะมิง  วิหะระติ, 
                       เห็นธรรมอันเป็นเหตุเสื่อมไปในจิตบ้าง,
สะมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี วา จิตตัสสะมิง วิหะระติ,        
                    เห็นธรรมอันเป็นเหตุเกิดขึ้น  และ
                    เสื่อมไป ในจิตบ้าง,
อัตถิ  จิตตันติ  วา ปะนัสสะ สะติ ปัจจุปัฏฐิตา โหติ, 
                    ก็แหละสติ คือความระลึกว่า "จิตมีอยู่"
                    ดังนี้ ของเธอนั้นเป็นสติที่เธอดำรงไว้,
ยาวะเทวะ  ญาณะมัตตายะ,  เพียงเพื่อรู้,
ปะติสสะติมัตตายะ,   เพียงเพื่ออาศัยระลึก,
อะนิสสิโต  จะ  วิหะระติ,  ที่แท้เธอเป็นผู้ที่
                    ตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้,
นะจะกิญจิ โลเก อุปาทิยะติเธอไม่ยึดมั่นอะไรๆในโลกนี้,
เอวัง โข ภิกขะเว ภิกขุ จิตเต  จิตตานุปัสสี  วิหะระติ,    
                        ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้แล ชื่อว่าภิกษุ
                    เป็นผู้มีปรกติ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่,








                       ฐานที่ 4 ธัมมานุปัสสนา
              (เห็นธรรมในธรรมโดยลักษณะ อย่าง)
   (แต่คัดมาเพียงลักษณะเดียว คือเห็นอุปาทานในขันธ์ 5)

ปุนะ จะปะรังภิกขะเว ภิกขุ ภิกษุทั้งหลายอย่างอื่นยังมีอยู่อีก,
ธัมเมสุ  ธัมมานุปัสสี วิหะระติ, ภิกษุเป็นผู้มีปรกติพิจารณา
                                 เห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย,
ปัญจะสุ  อุปาทานักขันเธสุ, คืออุปาทานขันธ์ห้าอย่าง,
กะถัญจะ ภิกขะเว ภิกขุ ธัมเมสุ วิหะระติภิกษุทั้งหลาย
                                          ภิกษุเป็นผู้มีปรกติ  พิจารณา
                                 เห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย,
ปัญจะสุ อุปาทานักขันเธสุ, คืออุปาทานขันธ์ห้าอย่างนี้
                                 เป็นอย่างไรเล่า,
อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ          ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้
                                 ย่อมพิจารณาเห็นว่า,
อิติ  รูปัง,                            รูปเป็นอย่างนี้,
อิติ รูปัสสะ สะมุทะโย,      เหตุให้เกิดรูปเป็นอย่างนี้,
อิติ รูปัสสะ อัตถังคะโม  ความสลายของรูปเป็นอย่างนี้,
อิติ เวทะนา,                      เวทนาเป็นย่างนี้,
อิติ เวทะนายะ สะมุทะโย, เหตุให้เกิดของเวทนาเป็นอย่างนี้,
อิติ เวทะนายะ อัตถังคะโม, ความสลายของเวทนาเป็นอย่างี้,
อิติ สัญญา,                        สัญญาเป็นอย่างนี้,
อิติ สัญญายะ สะมุทะโย,  เหตุให้เกิดสัญญาเป็นอย่างนี้,
อิติ สัญญายะ อัตถังคะโม ความสลายของสัญญาเป็นอย่างนี้,
อิติ สังขารา,                      สังขารเป็นอย่างนี้,
อิติ สังขารานัง สะมุทะโย,  เหตุให้เกิดสังขารเป็นอย่างนี้,
อิติ สังขารานังอัตถังคะโม,  ความสลายของสังขารเป็นอย่างนี้,
อิติ  วิญญาณัง,                  วิญญาณเป็นอย่างนี้,
อิติวิญญาณัสสะสุมุทะโย, เหตุให้เกิดวิญญาณเป็นอย่างนี้ดังนี้,
อิติ วิญญาณัสสะ อัตถังคะโม, ความสลายของวิญญาณ 
                               เป็นอย่างนี้ ดังนี้,
อิติ อัชฌัตตัง วาธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ,
                            ด้วยอาการอย่างนี้ ที่ภิกษุเป็น
                               ผู้มีปกติ เห็นธรรมในธรรม 
                               ทั้งหลาย อันเป็นภายในบ้าง,
พะหิทธา  วา ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี  วิหะระติ.  ในธรรม
                                      ทั้งหลาย อันเป็นภายนอกบ้าง,
อัชฌัตตะ พะหิทธา  วา  ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ,
                             ในธรรมทั้งหลายทั้งอันเป็น
                               ภายในและภายนอกบ้าง,
สะมุทะยะ  ธัมมา นุปัสสี  วา ธัมเมสุ วิหะระติและเป็น
                                      ผู้มีปรกติพิจารณาเห็นธรรม
                               อันเป็นเหตุเกิดขึ้นในธรรมบ้าง,
วะยะธัมมานุปัสสี วา ธัมเมสุ วิหะระติ,  เห็นธรรมอัน
                                        เป็นเหตุเสื่อมไปในธรรมบ้าง,
สะมุทะยะธัมมา  นุปัสสี วา ธัมเมสุ  วิหะระติ,
                               เห็นธรรมทั้งอันเป็นเหตุเกิด
                               ขึ้น และเสื่อมไปในธรรมบ้าง,
อัตถิ ธัมมาติ วา ปะนัสสะ สะติ ปัจจุปัฏฐิตา โหติ  
                               ก็แหละสติ คือความระลึกว่า"
                               ธรรมมีอยู่" ดังนี้ ของเธอ
                               นั้นเป็นสติที่เธอดำรงไว้,
ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ,  เพียงเพื่อรู้,
ปะติสสะติมัตตายะ,       เพียงเพื่ออาศัยระลึก,
อะนิสสิโต จะ วิหะระติ,  ที่แท้เธอเป็นผู้ที่ตัณหา
                               และทิฏฐิอาศัยไม่ได้,
นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ, เธอไม่มียึดมั่นอะไรๆในโลกนี้,
เอวัมปิ โข  ภิกขะเว ภิกขุ   ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี
วิหะระติ,                             ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้แลชื่อว่า
                                      ภิกษุเป็นผู้มีปรกติพิจารณา
                                  เห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย,
ปัญจะสุ อุปาทานักขันเธสุ,  คืออุปาทานขันธ์ทั้งห้าอย่างอยู่,

                      อริยมรรคมีองค์แปด
  (ว่าด้วยทางสายกลาย ที่นักปฏิบัติจะต้องเดินสู้เป้าหมาย)
  (หันทะ มะยัง อะริอัฏฐังคิกะมัคคะปาฐัง ภะณามะ เส.)

อะยะเมวะ อะริโย  อัฏฐังคิโก  มัคโค หนทางนี้แล
                                  เป็นหนทางอันประเสริฐ
                                  ซึ่งประกอบด้วยองค์แปด,
เสยยะถีทัง,                   ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ,
สัมมาทิฏฐิ,                    ความเห็นชอบ,
สัมมาสังกัปโป,                   ความดำริชอบ,
สัมมาวาจา,                        การพูดจาชอบ,
สัมมากัมมันโต,                  การทำการงานชอบ,
สัมมาอาชีโว                 การเลี้ยงชีวิตชอบ,
สัมมาวายาโม,                  ความพากเพียรชอบ,
สัมมาสะติ                    ความระลึกชอบ,
สัมมาสมาธิ,                  ความตั้งใจมั่นชอบ,


                             องค์มรรคที่ 1
กะตะมา  จะ ภิกขะเว สัมมาทิฏฐิ.  ดูก่อนภิกษุ
                                  ทั้งหลายความเห็นชอบ
                                  เป็นอย่างไรเล่า,

ยัง โข ภิกขะเว ทุกเข ญาณัง, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
                           ความรู้อันใดเป็นความรู้ในทุกข์,
ทุกขะสมุทะเย ญาณัง, เป็นความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์
                            อันใด เป็นความรู้ในทุกข์
ทุกขะนิโรเธ ญาณัง,   เป็นความรู้ในความดับแห่งทุกข์,          
ทุกขะนิโรธะคามินิยา ปะฏิปะทายะ ญาณัง, เป็นความรู้ใน       
                            ทางดำเนิน ให้ถึงความดับแห่งทุกข์,
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาทิฏฐิ, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย,         
                            อันนี้เรากล่าวว่าความเห็นชอบ,
                           
                                  องค์มรรคที่ 2
กะตะโม จะ ภิกขะเว   สัมมาสังกัปโป,   ดูก่อนภิกษุทั้ง
                                หลาย, ความดำริชอบเป็นอย่างไรเล่า,
เนกขัมมะสังกัปโป,   ความดำริในการออกจากกาม,
อะพยาปาทะสังกัปโป, ความดำริในการไม่มุ่งร้าย,
อะวิหิงสาสังกัปโป,    ความดำริในการไม่เบียดเบียน,
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาสังกัปโป, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
                             อันนี้เรากล่าวว่าความดำริชอบ,

                                 องค์มรรคที่ 3
กะตะมา จะ ภิกขะเว   สัมมาวาจา,  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย,
                              การพูดจาชอบ เป็นอย่างไรเล่า,
มุสาวาทา เวระมะณี, เจตนาเป็นเครื่องเว้นจาก
                           การพูดไม่จริง,
ปิสุณายะ   วาจายะ   เวระมะณี,  เจตนาเป็นเครื่อง
                           เว้นจากการพูดส่อเสียด,
ผะรุสายะ   วาจายะ   เวระมะณี, เจตนาเป็นเครื่อง
                           เว้นจากพูดคำหยาบ,
สัมผัปปะลาปา เวระมะณี, เจตนาเป็นเครื่อง
                  เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ,
อะยัง วุจจะติ  ภิกขะเว  สัมมาวาจา,  ดูก่อนภิกษุทั้ง
                  หลาย, อันนี้เรากล่าวว่าการพูดจาชอบ,

                            องค์มรรคที่ 4
กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมากัมมันโต. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย,  
                  การทำการงานชอบ  เป็นอย่างไรเล่า.
ปาณาติปาตา เวระมะณี, เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการฆ่า,
อะทินนาทานา เวระมะณี,  เจตนาเป็นเครื่องเว้นจาก
                  การถือเอาสิ่งของ ที่เจ้าของไม่ได้ให้แล้ว,
กาเมสุ มิจฉาจารา เวระมะณี,  เจตนาเป็นเครื่องเว้น
                  จากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย,
อะยัง  วุจจะติ ภิกขะเว สัมมากัมมันโต,  ดูก่อนภิกษุทั้ง 
                  หลาย อันนี้เรากล่าวว่าการทำ การงานชอบ,

                             องค์มรรคที่ 5
กะตะโม   จะ  ภิกขะเว สัมมาอาชีโว, ดูก่อนภิกษุทั้ง
                  หลาย, การเลี้ยงชีวิตชอบเป็นอย่างไรเล่า.
อิธะ  ภิกขะเว  อะริยะสาวะโก, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย,
                  สาวกของพระอริยเจ้า ในธรรมวินัยนี้,
มิจฉาอาชีวัง  ปะหายะ,  ละการเลี้ยงชีวิตที่ผิดเสีย,
สัมมาอาชีเวนะ  ชีวิกัง  กัปเปติ, ย่อมสำเร็จความ
                  เป็นอยู่ด้วยการเลี้ยงชีวิตที่ชอบ,
อะยัง วุจจะติ  ภิกขะเว  สัมมาอาชีโว,  ดูก่อนภิกษุทั้ง
                  หลาย, อันนี้เรากล่าวว่าการเลี้ยงชีวิตชอบ,

                           องค์มรรคที่ 6
กะตะโม จะภิกขะเว สัมมาวายาโม, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย,  
                 ความพากเพียรชอบ เป็นอย่างไรเล่า,
อิธะ ภิกขะเว   ภิกขุ, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้,
อะนุปปันนานัง ปาปะกานัง  อะกุสะลานัง  ธัมมานัง 
อะนุปปาทายะ ฉันทัง ชะเนติ, วายะมะติ.วิริยัง อาระ
ภะติ. จิตตังปัคคัณหาติ ปะทะหะติ, ย่อมทำความพอใจ
                 ให้เกิดขึ้น ย่อมพยายามปรารภความเพียร,
                 ประคองตั้งจิตไว้.เพื่อจะยังอกุศลธรรม อัน
                 เป็นบาป ที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น,
อุปปันนานัง  ปาปะกานัง อะกุสะลานัง  ธัมมานัง ปะหา
นายะ, ฉันทัง ชะเนติ, วายะมะติ.วิริยัง อาระภะติ. จิตตัง ปัคคัณหาติ   ปะทะหะติ, ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้นย่อม
                 พยายามปรารภความเพียรประคองตั้งจิตไว้,
                  เพื่อจะละอกุศลธรรม อันเป็นบาปที่เกิดขึ้นแล้ว,
อะนุปปันนานัง  กุสะลานัง  ธัมมานัง อุปปาทายะ  ฉันทัง ชะเนติ,   วายะมะติ. วิริยัง อาระภะติ. จิตตังปัคคัณหาติ ปะทะหะติ, ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น, ย่อมพยา-
                 ยามปรารภความเพียร, ประคองตั้งจิตไว้.
                 เพื่อจะยังกุศลธรรม ที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น,
อุปปันนานัง กุสะลานัง  ธัมมานัง ฐิติยา, อะสัมโมสายะ ภิย โย ภาวายะ, เวปุลลายะ, ภาวะนายะ,ปาริปูริยา,ฉันทัง ชะเนติ. วายะมะติ, วิริยัง อาระภะติ. จิตตัง ปัค คัณหาติ  ปะทะหะติ, ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น, ย่อม
                  พยายามปรารภความเพียร ประคองตั้งจิตไว้,
                 เพื่อความตั้งอยู่  ความไม่เลอะเลือน  ความงอก
                 งามยิ่งขึ้น, ความไพบูลย์ ความเจริญ ความ  
                         เต็มรอบ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว,
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาวายาโม, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
                          อันนี้เรากล่าวว่า ความพากเพียรชอบ,

                              องค์มรรคที่ 7
กะตะมา จะ ภิกขะเว สัมมาสะติ, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, 
                         ความระลึกชอบ เป็นอย่างไรเล่า,
อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ภิกษุในธรรม
                         วินัยนี้,
กาเย  กายานุปัสสี  วิหะระติ, ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็น
                         กายในกายอยู่เป็นประจำ,
อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา, วิเนยยะ โลเก อะภิชฌา
โท  มะนัสสัง,         มีความเพียรเครื่องเผากิเลส, มีสัม- 
                         ปชัญญะมีสติ, ถอนความพอใจและ
                         ความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้,
เวทะนาสุ เวทะนานุ ปัสสี วิหะระติ, ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็น
                            เวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ,
อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา, วิเนยยะ โลเก อะภิชฌา
โท  มะนัสสัง,          มีความเพียรเครื่องเผากิเลส, มีสัมป
                         ชัญญะ มีสติ, ถอนความพอใจและ
                         ความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้,
จิตเต  จิตตานุปัสสี วิหะระติ,  ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็น
                         จิตในจิตเป็นอยู่ประจำ,
อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา, วิเนยยะ โลเก อะภิชฌา
โท  มะนัสสัง,         มีความเพียรเครื่องเผากิเลส, มีสัมป
                         ชัญญะ มีสติ, ถอนความพอใจ และ
                         ความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้,
ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี  วิหะระติ, ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็น
                            ธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ,
อาตาปี สัมปะชาโน  สะติมา, วิเนยยะ โลเก อะภิชฌา
โท  มะนัสสัง,          มีความเพียรเครื่องเผากิเลส, มีสัมป
                           ชัญญะ มีสติ, ถอนความพอใจ และ
                           ความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้,
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาสะติ, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
                           อันนี้เรากล่าวว่าความระลึกชอบ,

                          องค์มรรคที่ 8
กะตะโม  จะ  ภิกขะเว  สัมมาสะมาธิ, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
                               ความตั้งใจมั่นชอบ เป็นอย่างไรเล่า,
อิธะ  ภิกขะเว ภิกขุ,  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ภิกษุ
                           ในธรรมวินัยนี้,
วิวิจเจวะ  กาเมหิ,    สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย,
วิวิจจะ  อะกุสะเลหิ   ธัมเมหิ,  สงัดแล้วจากธรรม
                           ที่เป็นอกุศลทั้งหลาย,
สะวิตักกัง สะวิจารัง, วิเวกะชัง ปีติสุขัง ปะฐะมัง
ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ. เข้าถึงปฐมฌาน ประ
                           กอบด้วยวิตก วิจารมีปิติ และ
                           สุข,  อันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่,
วิตักกะวิจารานัง วูปะสะมา, เพราะความที่วิตกวิจาร
                           ทั้งสองระงับลง,
อัชฌัตตัง สัมปะสาทะนัง  เจตะโส, เอโกทิภาวัง, อะวิตักกัง อะวิจารัง, สะมาธิชัง ปิติสุขัง ทุติยัง ฌานัง อุปะ สัมปัชชะ วิหะระติ,    เข้าถึงทุติยฌาน, เป็นเครื่องผ่องใส
                           แห่งใจในภายใน,  ให้สมาธิเป็น
                           ธรรมอันเอกผุดมีขึ้น, ไม่มีวิตก
                             ไม่มีวิจาร, มีแต่ปีติและสุข
                             อันเกิดจากสมาธิแล้วแลอยู่,
ปีติยา จะ วิราคา,       อนึ่งเพราะความจางคลายไปแห่งปีติ,
อุเปกขะโก จะ วิหะระติ, สะโต จะ สัมปะชาโน, ย่อมเป็น
                             ผู้อยู่อุเบกขา  มีสติ และสัมปชัญญะ,
สุขัญจะ กาเยนะ ปฏิสังเวเทติ, และย่อมเสวยความสุข
                             ด้วยนามกาย,
ยันตัง อะริยา  อาจิกขันติ อุเปกขะโก สะติมา สุขะ
วิหารี ติ,                   ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อม
                             กล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า เป็นผู้อยู่
                               อุเบกขา มีสติอยู่เป็นปรกติสุขดังนี้,
ตะติยัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ, 
                             เข้าถึงตติยฌาน แล้วแลอยู่,
สุขัสสะ จะ ปะหานา,    เพราะละสุขเสียได้,
ทุกขัสสะ จะ ปะหานา,  และเพราะละทุกข์เสียได้,
ปุพเพวะ โสมะนัสสะโทมะนัสสานัง  อัตถังคะมา,
                             เพราะความดับไปแห่งโสมนัส
                             และโทมนัสทั้งสองในกาลก่อน,
อะทุกขะมะสุขัง  อุเปกขาสะติปาริสุทธิง, จะตุตถัง ฌานัง  อุปะสัมปัชชะ   วิหะระติ,  เข้าถึงจตุตถฌาน.
                             ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข, มีแต่ความ             
                             ที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์
                             เพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่,
อะยัง วุจจะติ  ภิกขะเว  สัมมาสะมาธิ. ดุก่อนภิกษุ
                             ทั้งหลาย,  อันนี้เรากล่าวว่า
                             ความตั้งใจมั่นชอบ,

                             'YLKJ['
                          โคตมีสูตร
    (พระสูตรเพื่อการตัดสินว่าอะไรเป็นธรรมวินัย)

1.     อิเม ธัมมา สะราคายะ สังวัตตันติ โน วิราคายะ, 
         ธรรมเหล่าใด  เป็นไปเพื่อความกำหนัดย้อมใจ 
       หาได้  เป็นไปเพื่อคลายความกำหนัดย้อมใจไม่,
2.   สังโยคายะ สังวัตตันติ โน วิสังโยคายะ,
       ธรรมเหล่าใด  เป็นไปเพื่อประกอบทุกข์ 
       หาใช่เป็นไปเพื่อออกจากทุกข์ไม่,
3. อาจะยายะ  สังวัตตันติ  โน  อะปะจะยายะ,
                   ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อสะสมกองกิเลส
            หาใช่เป็นไปเพื่อให้กิเลสสิ้นไปไม่,
4. มะหิจฉะตายะ สังวัตตันติ โน อัปปิจฉะตายะ,
      ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความอยากใหญ่
       หาใช่เป็นไปเพื่อความอยากให้น้อยลงไม่, 
5.   อะสันตุฏฐิยา สังวัตตันติ โน สันตุฏฐิยา,
         ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความไม่สันโดษ
       หาใช่เป็นไปเพื่อความสันโดษไม่,
6สังคะณิกายะ สังวัต  ตันติ โน ปะวิเวกาเย,
      ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อคลุกคลีด้วย
       หมู่คณะหาใช่  เป็นไปเพื่อความสงัดไม่,
7โกสัชชายะ  สังวัตตันติ โน วิริยรัมภายะ,
       ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน
        หาใช่เป็นไปเพื่อปรารภความเพียรไม่,
8ทุพภเระตายะ  สังวัตตันติ โน สุภะระ ตายะติ, 
          ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความเลี้ยงยาก
        หาใช่เป็นไปเพื่อความเลี้ยงง่ายไม่,
     เอกังเสนะ โคตะมิ ธาเรยยะสิ เนโส ธัมโม เนโส
    วินะโย, ดูก่อนโคตรมี ท่านจงจำไว้โดยส่วนเดียว
        ว่า นี้ไม่ใช่ธรรม นี้ไม่ใช่วินัย  ของเราตถาคต.                       
กาลามสูตร
   (เป็นพระสูตรตัดสินความเชื่อ เพื่อนำไปปฏิบัติ)   

1.   เอถะ ตุมเห กาลามะ มา อะนุสสเวนะ,
                                   กาลามชนท่านอย่าได้เชื่อ
                             เพียงสักว่า ได้ฟังตามๆกันมา,
2. มา ปะรัมปะรายะ,   อย่าได้เชื่อเพียงสักว่า นี้เป็น
                             ของเก่าที่ทำตามๆสืบต่อกันมา,
3. มา อิติกิรายะ       อย่าได้เชื่อเพียงสักว่า กิตติ
                             ศัพท์ อันเป็นข่าวเล่าลือ,
4. มา ปิฏะกะสัมปะทาเนนะ,  อย่าได้เชื่อเพียง
                             สักว่า  นี้อ้างมาจากตำรา,
5. มาตักกะเหตุ,           อย่าได้เชื่อเพียงสักว่า ตรรกะ
                             คำนึงคำนวณด้วยการเดา,
6. มา ยะนะเหตุ,        อย่าได้เชื่อเพียงสักว่าคาดคะเน
                             ตามหลักเหตุผลของปรัชญา,
7. มาอาการะปะริวิตักเกนะ,  อย่าได้เชื่อเพียงสักว่า
                             ตรึกตามอาการ,
8. มา ทิฏฐินิชฌานักขันติยา, อย่าได้เชื่อเพียงสักว่าชอบใจ
                             ที่เข้าได้กับทิฎฐิในลัทธิของตน,
9. มาภัพพรูปะตายะ,   อย่าได้เชื่อเพียงสักว่าผู้พูดนี้น่าเชื่อ,
10.มาสะมะโณ โน ครูติ, อย่าได้เชื่อเพียงสักว่าสมณะนี้
                              เป็นครูของเรา,

               กาลามชนเมื่อใดท่านรู้ด้วยตนเองว่า,
อิเม ธัมมา อะกุสะลา,  ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล,
อิเม ธัมมา สาวัชชา,     ธรรมเหล่านี้มีโทษ,
อิเม ธัมมา วิญญูคะระหิตา, ธรรมเหล่านี้ผู้รู้ติเตือน,
อิเม ธัมมา สะมัตตา สะมาทินนา
อะหิตายะ  ทุกขายะ สังวัตตันตีติ,  ธรรมเหล่านี้
              ใครสมาทานให้เต็มที่แล้ว ย่อมเป็นไป
              ในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ เพื่อดับทุกข์
              กาลามชน ท่านพึงละเสียเมื่อนั้นเถิด,
อิติ,         ด้วยประการฉะนี้แล.


             ÄÄÄ  W  W ÃÃÃ