"..การมาทับมิ่งขวัญนี้ เป็นการเริ่มต้นชีวิตใหม่ ต้องเป็นคนจริง ทำจริง พูดจริง เมื่อทำจริง พูดจริงก็ต้องรู้ของจริง จริงๆ.."
หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ 12 กรกฎาคม 2530
www.wattubmingkwan.com เวบหลัก วัดทับมิ่งขวัญ เวบนี้เป็นเพียง เวบสำรองครับผู้จัดทำ 9 มิถุนายน 2555

ดู วัดทับมิ่งขวัญ ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า

การปฏิบัติธรรม


[ ภาค  ๑๑ การปฏิบัติธรรม [

 
 

 คำชี้แจงเบื้องต้น


                                สัพพัญญูู้ทั่วไป เปรียบใบไม้ทั้งป่า 
                     แต่ทรงนำมาสอน   ชี้นำกำมือเดียว 
                                     
                  ครั้งหนึ่งพระศาสนาเสด็จที่ป่าใหญ่แห่งหนึ่ง   ท่ามกลางภิกษุทั้ง
หลาย  พระองค์ทรงกำใบไม้ขึ้นมาแล้วชูขึ้น พร้อมตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า  ใบไม้ในป่ากับใบไม้ในกำมืออันไหนมากกว่ากัน  ครั่นภิกษุทูนว่าใบไม้ในป่ามีมากกว่า พระพุทธองค์จึงตรัสว่า ธรรมของเราตถาคตก็เป็นเช่นนั้น  คือมีมากมายถึง 84000 พระธรรมขันธ์ แต่ที่จะนำมาปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ ก็เอาแค่ไม่กี่อย่างคือ สติ สมาธิปัญญา นี้เอง เหมือนไม้ทั้งป่าแต่เวลาจะนำมาทำยาก็เอาแค่กำมือเดียว.
              ฉะนั้นในหนังสือเล่มนี้และในชีวิตประจำวันของเรานี้ ก็มีการปฏิบัติธรรมนี้แหละสำคัญที่สุด เพราะทำให้ชีวิตไม่เป็นทุกข์ ด้วยการเห็นทุกข์แล้วไม่เข้าไปเป็นในทุกข์นั้น ด้วยการเจริญสติ สมาธิ และปัญญา อันจะทำให้เกิดญาณคือการเข้าไปหยั่งรู้ภายในของชีวิต เรียกว่ายถาภูตญาณ แปลว่ารู้เห็นตามความเป็นจริง ซึ่งอะไรเกิดขึ้นหรือมีอะไรในชีวิตก็สามารถรู้เท่าทันหมด จนไม่มีอะไรปิดบังอำพราง เรียกว่าเห็นแจ้งหมดทุกอย่าง อันเป็นเหตุให้ชีวิตจิตใจเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวง คือไม่เข้าไปเป็นทุกข์เหมือนเดิม มีอะไรเกิดขึ้นในชีวิตก็แก้ไขได้หมด ตรงนี้เราเรียกว่าวิปัสสนากรรมฐาน คือมีสติปัฏฐานเป็นที่ตั้ง เป็นฐานของกายและใจ จะอยู่ที่ไหนจะทำอะไรก็มีฐานคือมีสติรู้สึกตัว อะไรๆมากระทบก็เห็นหมดทั้งภายนอกและภายใน จึงดำรงตนอยู่ได้ในภาวะธรรมที่เป็นปกติ
            แต่ก็ทำหน้าที่ทุกอย่างตามปกติ แต่ฐานของจิตใจมันแนบแน่น มีสติเป็นธรรมเป็นฐานคือที่รองรับ ทำให้เกิดความมั่นคงแข็งแรงในชีวิต ชีวิตก็จะไม่ระหกระเหินเร่ร่อน มีความปลอดภัย เปรียบเหมือมีบ้านที่มั่นคงแข็งแรง จะไปไหนมาไหนก็กลับเข้าบ้าน ฝนตกแดดออกลมแรงก็ไม่เดือดร้อน จะเหน็ดเหนื่อยอย่างไร จะไปไหนมาไหนเมื่อกลับเข้าบ้านก็มีความสบายใจอบอุ่นใจ ไม่ต้องกลัวอันตรายเพราะบ้านสามารถป้องกันอันตรายได้ การมีสติที่เกิดจาการปฏิบัติธรรมก็เป็นเช่นนั้น 
               ในที่นี้ในหนังสือเล่มนี้ จึงอยากจะชักชวนท่านทั้งหลายให้หันมาสนใจในการปฏิบัติธรรม โดยการศึกษาแล้วนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน จะได้เข้าใจชีวิตได้มากขึ้น  ในที่นี้ก็อยากจะแนะนำวิธีการปฏิบัติเจริญสติไปกับการเคลื่อนไหว แบบหลวงพ่อเทียน  จิตฺตสุโภ ซึ่งท่านสอนแบบง่ายๆแต่ได้ผลจริง เป็นหนทางตรงและลัดสั้นที่ถูกต้องตามหลักพุทธธรรม และทุกคนสามารถนำไปปฏิบัติได้ โดยไม่จำกัดเพศวัย ไม่จำกัดเชื้อชาติศาสนา เพราะเป็นธรรมสากลที่มีอยู่แล้วในคนทุกคน ขอให้มีความรู้สึกตัว ก็สามารถทำได้
             เรื่องที่ท่านสอนคือให้มีการเจริญสติไปกับการเคลื่อนไหวของกายและจิตใจ โดยการกำหนดความรู้ตัวเองอยู่เสมอ ในอิริยาบถต่างๆเช่น ยืน เดิน นั่ง นอนอิริยาบถย่อยเช่น คู้ เหยียด เคลื่อนไหว กระพริบตา หายใจ  ก้ม เงย เดินหน้า ถอยหลัง เป็นต้น อิริยาบถต่างๆเหล่านี้ตามปกติของชีวิตก็มีอยู่แล้ว เพียงแต่เติมสติเข้าไปด้วยการกำหนดรู้อยู่ทุกขณะของการเคลื่อนไหว ก็ได้ชื่อว่าเป็นการปฏิบัติธรรมเจริญสติ ตามแนวคำสอนของพระพุทธองค์ อันจะทำให้ชีวิตจิตใจมีแต่ความสดชื่นเบิกบานแจ่มใสและไม่มีทุกข์ 

          ฉะนั้นจึงเห็นว่าการปฏิบัติธรรมเจริญสติ มีค่ายิ่งต่อชีวิตซึ่งจะเปรียบเทียบเป็นเงินบาท หรือเป็นทองคำไม่ได้ แต่ถ้าเมื่อใดบุคคลสูญเสียสติหรือขาดสติจนควบคุมตัวเองไม่ได้ เมื่อนั้นก็จะเชื่อว่าชีวิตทั้งชีวิตหมดคุณค่าลงไปทันที จึงขอหัวมาสนใจเอาใจใส่ต่อการปฏิบัติธรรมเจริญสติให้มาก อย่าประมาท
           ในที่นี้และในหนังสือเล่มนี้ก็อาจจะแนะนำได้ในเบื้องต้นบางส่วนเท่านั้นแต่ถ้าท่านสนใจอยากจะสานต่อการปฏิบัติ  ก็สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่สำนักสายงานการปฏิบัติธรรมเจริญสติ แบบหลวงพ่อเทียนได้ทุกแห่ง  ดังมีรายชื่อที่ปรากฏในท้ายหนังสือเล่มนี้......ขอให้โชคดี.......สวัสดี……….

                              การปฏิบัติธรรม(ทำ)
                   (นำแสดงเพียงบางส่วนเพื่อเป็นข้อสังเกตและนำไปปฏิบ้ติ)             
                 *************************************************
             พระพุทธเจ้าทรงสอนให้รู้จักหน้าที่ของเรา หน้าที่ของ
มนุษย์คือการปฏิบัติธรรมะ  หน้าที่ของมนุษย์คือการสอนมนุษย์ให้เป็นมนุษย์ ดังนั้นเราจึงควรดูที่ตัวของเราเองก่อน เราควรพิจารณาตัวของเราเองก่อน เราควรสอนตัวเราเองก่อนถ้าเราทำชีวิตของเราให้สูญไปโดยไร้ประโยชน์ เราไม่สามารถจะซื้อมันกลับมาได้อีก  ถ้าเราปล่อยให้ชีวิตของเราเป็นทุกข์เราทำชีวิตของเราให้สิ้นเปลือง พระพุทธเจ้ามิได้ ทรงสอนอะไรอื่นนอกจากการดับทุกข์  แต่เมื่อเราไม่รู้เราแสวงหาออกนอกตัวเรา แต่ทุกข์ชนิดนั้นมิได้ดำรงอยู่
             คำสอนของผู้เป็นครูของโลกทั้งหลายเปรียบเหมือนกับใบไม้ทั้งป่า แต่ใบไม้ที่สามารถนำมาทำยาได้มีเพียงเล็กน้อยอย่า ได้เอามาทั้งหมดทั้งรากและลำต้น เมื่อมาปฏิบัติกรรมฐานหรือวิปัสสนา เราควรจะเอาเฉพาะสิ่งที่สามารถป้องกันไม่ให้ทุกข์เกิด  สามารถดับทุกข์ที่ต้นเหตุของมัน สามารถทำลายโมหะเราเอาเฉพาะแก่น แก่นของคำสอนที่  ข้าพเจ้าพูดถึงอยู่นี้คือ การมีสติ มีปัญญา เห็นความคิด  เมื่อความคิดเกิดขึ้นเห็นมันรู้มัน  เข้าใจมันรู้มันในทุกลักษณะที่มันเกิด และรู้ถึงวิธีป้องกันมิให้มันมาลวงเรา
           ไม่ว่าเราจะอยู่    ที่ใด  นั่นคือที่  ที่เราจะต้องปฏิบัติ ไม่มีใครจะทำแทนเราได้ ไม่ว่าเราจะไปที่ใดเราเป็นบุคคลที่ไป ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไดเราเป็นบุคคลที่อยู่ นั่ง กิน ดื่ม  นอนหลับเราเองเป็นผู้กระทำ ถ้าเราเป็นบุคคลที่รักษาศีลหรือให้ทานเราสามารถปฏิบัติได้ และถ้าเราเป็นบุคคลที่ไม่เคยกระทำสิ่งเหล่านี้  เราก็สามารถปฏิบัติได้เช่นเดียวกัน  การช่วยเหลือบุคคลอื่นนั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่ก็ดีในทางโลก  ส่วนการปฏิบัติเจริญสติ  สมาธิ  ปัญญา นั้นดีในทุกๆทาง ดังนั้นก่อนที่เธอจะสอนผู้อื่นเธอควรจะฝึกฝนตัวเองกระทั่งเธอเห็น รู้ และเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งและอย่างแท้จริง  เมื่อเธอเห็นจริง รู้จริงและเป็นจริงแล้ว เธอจะสามารถสอนผู้อื่นได้อย่างสบาย
           ดังนั้นการปฏิบัตินี้เราต้องเรียนด้วยตัวของเราเอง  เราต้องสอนตัวเราเอง  เราต้องเห็นด้วยตัวของเราเอง เราต้องรู้ด้วยตัวของเราเอง  เราต้องเข้าใจด้วยตัวของเราเอง  เราต้องทำด้วยตัวของเราเอง ดังนั้นเธอไม่จำต้องสนใจในบุคคลอื่นเพียงปฏิบัติการเคลื่อนไหวนี้ให้มาก ทำเฉยๆ ไม่รีบร้อนไม่ลังเลสงสัยไม่คาดคิดล่วงหน้า และทำโดยไม่คาดหวังผล  ให้ง่ายๆ และเพียงแต่เคลื่อนไหว เคลื่อนไหวทีละครั้งและรู้เมื่อเธอไม่รู้ปล่อยมันไป เมื่อเธอรู้ปล่อยมันไป บางครั้งเธอรู้บางครั้งเธอไม่รู้มันเป็นเช่นนั้น แต่ให้รู้ เมื่อร่างกายเคลื่อนไหวรู้มันเมื่อจิตใจเคลื่อนไหว รู้มัน การปฏิบัตินี้เป็นการปฏิบัติตลอด๒๔  ชั่วโมง  ดังนั้นให้ผ่อนคลายและให้เป็นธรรมชาติ เป็นปกติธรรมดา จงตั้งใจปฏิบัติจริงๆ และปฏิบัติอย่างสบาย
วิธีของการเจริญสติในชีวิตประจำวัน
เมื่อเราขึ้นรถหรือลงเรือและนั่งลงเรียบร้อยแล้ว เราพลิกมือขึ้นพลิกมือลง เราเคลื่อนมือ เหยียดมือหรือคลึงนิ้วมือ กะพริบตา หายใจ กลืนน้ำลาย และอื่นๆ
                                               
               คลึงนิ้วมือ                    กำมือ                         เหยียดมือ
ให้รู้สึกตัวถึงการเคลื่อนไหวเหล่านี้มันเป็นวิธีที่เรียกความรู้สึกตัวให้กลับมา ที่ตัวของเราเอง เมื่อความคิดเกิดขึ้น ให้รู้สึกถึงความคิดนั้นและปล่อยวาง
     วิธีของการเจริญสติเมื่อเราอยู่ที่บ้าน
เราอาจจะนั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งบนเก้าอี้ หรือนั่งเหยียดขา เราอาจจะยืนหรือนอนสร้างจังหวะได้เช่นเดียวกันเมื่อเราเดินจงกรม (เดิน กลับไปกลับมาระยะประมาณ ๘–๑๒ ก้าว)เราต้องไม่แกว่งแขน เราอาจกอดอก หรือเอามือประสานไว้ข้างหน้า หรือประสานไว้ข้างหลังก็ได้

วิธีปฏิบัติในท่านั่งมีดังนี้ (ดูภาพประกอบวิธีสร้างจังหวะ)
1. มือทั้งสองข้างคว่ำไว้ที่ขา                2.พลิกมือขวาตะแคงขึ้น....ให้รู้สึก
3. ยกมือขวาขึ้นครึ่งตัวให้รู้สึกแล้วหยุด  4.เอามือขวาขึ้นมาที่สะดือ.....ให้รู้สึก
5 พลิกมือซ้ายตะแคงขึ้น..ให้มีความรู้สึก 6.ยกมือซ้ายขึ้นครึ่งตัว.ให้มีความรู้สึก
7. เอามือซ้ายมาที่สะดือ.....ให้รู้สึก        8.เลื่อนมือขวาขึ้นหน้าอก....ให้รู้สึก
9. เอามือขวาออกตรงข้าง...ให้รู้สึก    10. ลดมือขวาลงที่ขาขวาตะแคงไว้...ให้รู้สึก              11. คว่ำมือขวาลงที่ขาขวา...ให้รู้สึก    12.เลื่อนมือซ้ายขึ้นที่อก.ให้มีความรู้สึก  
13. เอามือซ้ายออกมาข้าง.ให้รู้สึก  14.ลดมือซ้ายออกที่ขาซ้ายตะแคงไว้ให้รู้สึก 15.คว่ำมือซ้ายลงที่ขาซ้าย..ให้รู้สึก



กล่องข้อความ:            จากนั้นทำเหมือนเดิมเป็นรอบๆไปเรื่อยๆ (วิธีการสร้างจังหวะนี้ เป็นการกำหนดความรู้ตัว เพื่อให้การเคลื่อนไหวนี้เป็นนิมิต เป็นเครื่องหมาย ในการตรวจสอนจิต จะเป็นการนำเอาจิตนั้นมาฝึกหัดหรือพัฒนาปรับปรุง แก้ไขให้ดียิ่งขึ้น (ซึ่งไปตรงกับคำสอนของพระพุทธเจ้า ในหลักสติปัฏฐานสูตร ที่ว่าให้มีการกำหนด กาย เวทนาจิต ธรรม ให้มีสติสัมปะชัญญะ มีความ รู้สึกตัวทั่วพร้อม ในการเคลื่อนไหว คู้เหยียด แลเหลียว กระพริบตา หายใจ กลืนน้ำลาย เป็นต้น ถ้าอยู่บนรถหรือในที่ชุมชนต่างๆที่ไม่เหมาะ กับการสร้าง จังหวะ  เราก็ให้วิธีพริกมือคว่ำมือ กำมือเหยียดมือ หรือจะกำหนดรู้ส่วนใด ส่วนหนึ่งของร่างกายก็ได้ )
                         การเดินจงกรม
    การเดินจงกรมไม่ใช่เดินเป็นวงกลมแต่เดินกลับไปกลับมาให้รู้สึกตัว” โดยไม่ต้องแกว่งแขน ไม่ต้องบริกรรมไม่ต้องหลับตา ให้กำหนดความรู้สึกเฉยๆเส้นทางประมาณ 8-12 ก้าว เดินธรรมดาแต่ให้มีความ”รู้สึกตัว” รู้อยู่กับการเคลื่อนไหวกลับไปกลับมา  เพื่อเป็นการสลับกับการสร้างจังหวะ จะได้เจริญสติได้ยาวนานและต่อเนื่อง  เมื่อนั่งเหนื่อยก็ลุกขึ้นมาเดิน (สลับไปสลับมา) 


 
   

  


                  ++++++++++++++++
                                                 
                                                                
                                             สัพพัญญูรู้กว้างไกล  เปรียบใบไม้ทั้งป่า
                                                  แต่ทรงคัด สอนชี้นำ  กำมือเดียว




                                                                                                                            ต้นไม้มีคุณเพราะกางกั้นกันแดดฝน 
             ธรรมมีผลเพราะประพฤติจึงสุขสันต์
             เพียงความรู้อย่างเดียวไม่ครบครัน
             รู้เท่าทันเพราะปฏิบัติตัดมืดมน......



















                 ตอนที่ 1 ศาสนาของมวลมนุษย์

              มนุษย์เราเกิดขึ้นมาแล้วต้องมีที่พึ่ง  เพื่อการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องกลม
กลืนไปกับธรรมชาติ แรกๆก็มีการพึ่งดินฟ้าอากาศพึ่งป่าไม้ภูเขา ต่อมาก็เกิดผู้มีปัญญา ซึ่งเราเรียกว่าศาสดา คือผู้สอนศาสนา ในปัจจุบันนี้ก็มีอยู่มากมาย แต่เท่าที่พอนับได้ก็มีอยู่ถึง ๑๒ ศาสนาโดยแยกเป็น  กลุ่มดังนี้
           .กลุ่มที่เกิดในประเทศอินเดียมี  คือ
                ศาสนาพุทธ    ศาสนาไชนะ 
                .ศาสนาฮินดู     ศาสนาชิกส์

           .กลุ่มที่ในเปอร์เซีย มี ๑ ศาสนา คือ

           ศาสนาปาซี หรือ โซโรอัสเตอร์
               .กลุ่มที่เกิดทางประเทศตะวันออก มี  คือ
                    .ศาสนาของเหลาจื๊อ(จีน) 
                    .ศาสนาของขงจื๊อ(จีน)
                    .ศาสนาชินโต (ญี่ปุ่น)
               กลุ่มที่เกิดทางประเทศตะวันตก มี  คือ
                    ศาสนายิว  ๑๐ศาสนาคริสต์เตียน
                    ๑๑ศาสนาอิลาม ๑๒ศาสนาบาไฮ

พุทธศาสนา
               คำว่าศาสนาคือคำสั่งสอนของท่านผู้รู้  ใครรู้เรื่องอะไรก็สอนเรื่องนั้น แต่ที่สอนคล้ายกันคือ สอนให้ละชั่วทำดี รู้จักสงเคราะห์ และไม่เบียดเบียนกัน แต่พุทธศาสนาสอนลึกลงไปถึงจิตใจ คือให้รู้ตื่นเบิกบานด้วยธรรมอยู่เสมอ
             ดังนั้นพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นจากการบำเพ็ญเพียรทางใจ ของมหาบุรุษพระองค์หนึ่ง ที่ประเทศอินเดียเมื่อสองพันห้าร้อยกว่าปีมาแล้ว เพื่อให้ชีวิตไม่มีทุกข์เท่านั้น แต่ต่อมาหลังจากพระพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ก็แบ่งออกเป็น  ฝ่าย คือ (.) ฝ่ายเถรวาท จะอยู่ที่ไทย พม่า ศรีลังกา  (.)ฝ่ายมหายาน จะอยู่ที่จีนญี่ปุ่น ธิเบธ เป็นต้น  ไทยเรานับถือแบบเถรวาท ก็ได้แบ่งออกเป็น  นิกายคือ   (.) มหานิกาย (.) ธรรมยุตนิกาย ส่วนวิธีการปฏิบัติก็แต่งต่างกันออกไปตามความเห็นของแต่ละสำนัก
       ปัจจุบันนี้พุทธศาสนามีผู้นับถือทั่วโลก หรือประมาณ  ๓๖๐ ล้านคน ส่วนใหญ่อยู่ทางแถบเอเชีย เช่นไทย,ลาว,พม่า,เขมร,ศรีลังกา,จีน,ญี่ปุ่น,ไต้หวันธิเบธ,อีนเดีย,เวียนนามเป็นต้น      
                                    .ศาสนาไชน 
         ศาสนาไชนะ คือศาสนานิครนถ์ เรียกเต็มว่า เดียรถีนิครนถ์ มีเรียกอีกชื่อว่าไชนะ เป็นภาษาสันสกฤต ตรงกับภาษาบาลีว่า ชินะ ซึ่งแปลว่าชนะ ส่วน
คำว่า นิครนถ์ แปลว่าไม่มีกิเลส  ศาสนานิครนถ์นี้เกิดก่อนพุทธศาสนานประมาณ ๒๐๐๓๐๐ ร้อยปี มีศาสดาชื่อ ปารศวนาถ ส่วนศาสดาองค์ที่ ๒๘ ชื่อมหาวีระหรือนิคันถนาฏบุตร  ซึ่งเกิดร่วมสมัยกับพระพุทธเจ้าที่ประเทศอินเดีย
         นักบวชศาสนานี้มี  นิกายคือ (.) เศวตัมพร (.) ฑีฆตัมพร คือพวกนุ่งผ้า กับพวกไม่นุ่งผ้า พวกไม่นุ่งผ้าถือว่าเป็นพระอรหันต์ของลัทธินี้ ซึ่งปัจจุบันนี้ก็มีอยู่- องค์ และมีคนนับถือกันมาก(ในประเทศอินเดียด้วยเหตุนี้จึงทำให้พุทธศาสนาหมดไปจากประเทศอินเดีย
                                         .ศาสนาฮินดู
          คำว่าฮินดู แปลว่า ของอินเดีย ฉะนั้นทุกศาสนาที่เกิดในอินเดียจึงเรียกว่า ฮินดู ทั้งหมด แต่ก็มีความแตกต่างกันไปตามหลักการ ส่วนฮินดูที่เรารู้จัก ก็คือพวกพราหมณ์โดยแบ่งออกเป็น  พวกคือ  .พวกพิธีรีตอง มีไสยศาสตร์เป็นหลัก เช่นมีการบูชายัญด้วยคนหรือสัตว์เป็นต้น เพื่อให้พระเจ้าโปรดปราณ
       .พวกถือธรรมะเป็นหลักไม่เกี่ยวกับพิธีรีตอง เรียกเวทานตะ สอนเรื่องอาตมัน เรื่องโยคะ เมื่อประพฤติถูกแล้วอาตมันจะไปรวมกับปรมาตมัน  ปัจจุบันได้มีการปรับปรุงให้ทันสมัย จึงมีคนนิยมนับถือกันมาก มีสาขาอยู่ทั่วโลก สวามีศิวานันทะ เป็นหัวหน้าอยู่ที่ประเทศอินเดีย 
       .พวกบำเพ็ญตบะอันเป็นของเดิม มีการทรมานตัวเอง เพื่อให้พระเจ้าโปรดปราณ และคนที่นับถือก็นำของไปบูชา จึงเกิดมีการบำเพ็ญตบะกันทั่วไป.
        ปัจจุบันทั่วโลกมีผู้นับถือ ๑๘ %  หรือประมาณ ๙๐๐ ล้านคน.
                                     ศาสนาซิกส์
         ศาสนาซิกส์เป็นศาสนาการเมือง เกิดขึ้นเมื่อไม่กี่ร้อยปีมานี้ เพื่อต่อสู้กับศาสนาเดิมของอินเดียและศาสนาอิสลาม เป็นศาสนาทหาร มีดาบและกำไรเหล็กเป็นเครื่องหมาย ซึ่งหมายถึงการต่อสู้  ได้รวมหลักธรรมะดีๆจากศาสนาต่างๆในอินเดียทั้งหมด มารวมเข้าด้วยกัน และมี ปณิธานว่า จะต้องรักษาวัฒนธรรมอันนี้ไว้ ให้พ้นจากการย่ำยีของอิสลาม (ปัจจุบันก็มีผู้นับมากส่วนใหญ่อยู่ที่อินเดีย)
                       ศาสนาปาชี หรือ โซโรอัสเตอร์
         ศาสนาปาชี เป็นศาสนาเก่าแก่มีอายุนับด้วยพันปี เป็นพวกนับถือพระอาทิตย์ว่าเป็นของสูงสุด  เชื่อความจริงที่ว่า ทุกสิ่งมาจากดวงอาทิตย์  คนสัตว์ต้นไม้เป็นอยู่ได้เพราะมีแสงแดด ถ้าไม่มีแสงแดดจะตายหมด  จึงมีการนับถือบูชาอ้อนวอนพระอาทิตย์
                       ศาสนาเหลาจื๊อ ศาสนาขงจื๊อ
        ศาสนาเหลาจื๊อกับศาสนาขงจื๊อเกิดพ้องสมัยกันในประเทศจีน   ขงจื๊อเป็นศิษย์เหลาจื๊อ และเกิดพ้องสมัยกับพระพุทธเจ้าด้วย เหลาจื๊อสอนให้มองโลกเป็นของหลอกลวงเป็นมายา ให้ยกจิตอยู่เหนือความยึดมั่น (เหมือนพุทธศาสนาส่วนขงจื๊อสอนให้อยู่ในโลกอย่างถูกต้องดีงาม แต่ไม่สอนเรื่องยกจิตเหนือโลก 
        สิ่งที่เหลาจื๊อสอนเรียกว่า เต๋า โดยสอนว่าแรกเริ่มมีสิ่งหนึ่งไม่ใช่รูป ไม่ใช่นาม สิ่งนั้นเรียกว่า เต๋า และสิ่งนั้นไม่ใช่เป็นคำพูดหรือคำอธิบาย เป็นเรื่องปัจจัตตัง คือรู้ได้
เฉพาะตน 
         ส่วนขงจื๊อสอนเรื่องศีลธรรม ให้มีความประพฤติดีงามอยู่ในโลก จนกว่าจะยกจิตขึ้นเหนือโลกได้เอง จึงถือว่าขงจื๊อสอนเรื่องศีลธรรมได้ดีมาก
         ปัจจุบันทั่ง  อย่างนี้มีผู้นับถือประมาณ  % ของประชากรโลกหรือประมาณ ๒๐๐ คน(ส่วนมากก็มีอยู่ทางแถบประเทศจีน)
                                   .ศาสนาชินโต
           ศาสนาชินโตเกิดในญี่ปุ่น เป็นศาสนาดั้งเดิมของประเทศญี่ปุ่นสอนให้รักชาติ  เป็นศาสนาชาตินิยม  คือสอนให้ทุกคนรักชาติยิ่งกว่าชีวิต และรักบรรพบุรุษด้วยปัจจุบันมีศาสนาอื่นเข้าไปในญี่ปุ่นมาก ศาสนาชินโตจึงปรับปรุงให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้น นับว่าเป็นศาสนาที่มีประโยชน์ทางการบ้านเมืองมาก
                             .ศาสนายิว-๑๐.ศาสนาคริสเตียน
       คือศาสนายิวมีอายุประมาณ ๘๐๐๐ ปี คัมภีร์ของยิวคือคัมภีร์ไบเบิ้ลภาคหนึ่ง  กล่าวตั้งแต่เรื่องพระเจ้าสร้างโลก จนกรทั่งถึงศาสดาโมเสส ต่อจากนั้นถึงยุคพระเยซู ก็มีคัมภีร์ใหม่เกิดขึ้น เรียกคัมภีร์ไบเบิ้ลภาคสอง  พระเยซูเป็นชาวยิว  และได้ปฏิบัติคำสอนเก่าให้ถูกต้องยิ่งขึ้น เช่น คัมภีร์เดิมสอนว่า ฟันต่อฟัน ตาต่อ
ตา แต่พระเยซูสอนว่า เมื่อเขาตบแก้มซ้าย ก็เอียงแก้มขวาให้เขาตบด้วย
       ครั้งหนึ่งมีหญิงคนหนึ่งมีชู้ จะต้องถูกลงโทษถึงตายตามคัมภีร์เดิมของโมเสส พระเยซูประกาศว่า ใครไม่มีบาปจงออกมาเอาหินทุ่มหญิงผู้นี้เป็นคนแรก ในที่สุดไม่มีใครกล้าทุ่ม พระเยซูจึงสอนให้เว้นขาดจากการมีชู้  แล้วส่งหญิงนั้นกลับบ้าน
        เมื่อมีความแตกต่างกันอย่างนี้  จึงแยกออกมาเป็นศาสนาใหม่ ชื่อว่าศาสนา
คริสเตียน โดยมีพระเยซูเป็นศาสดา.
     ปัจจุบันมีคนนับถือประมาณ ๓๓ของประชากรโลกหรือประมาณ ๑๖๕๐ คน
 ๑๑ศาสนาอิสลาม
       ศาสนาอิสลามเกิดในประเทศอาหรับ  หลังศาสนาคริสเตียนประมาณ ๕๐๐ ปี โดยได้รับเอาข้อธรรมของชาวยิว  และคริสเตียนมารวมเข้าด้วยกัน ก็มีการแก้ไขบัญญัติใหม่ตามความเหมาะสม โดยมีพระโมฮัมหมัดเป็นศาสดา เนื่องจากศาสนาอิสลามเกิดในหมู่คนที่อยู่ในทะเลทราย  ซึ่งมีความเป็นอยู่ที่ยากลำบาก จึงต้องมีความเฉียบขาด และให้เห็นแก่พรรคพวกส่วนร่วมหรือสังคมเป็นสำคัญ. 
       ปัจจุบันทั่วโลกมีคนนับถือประมาณ ๒๒ % หรือประมาณ ๑๓๐๐ ล้านคน
                             ๑๒.ศาสนาบาฮออิ (บาไฮ)
       ศาสนาบาฮออิ เป็นศาสนาพันธุ์ผสม คือได้คัดเลือกเอาส่วนที่ดีของศาสนาต่างๆมาบัญญัติขึ้นเป็นศาสนาใหม่  มีคนนิยมแพร่หลายทั่วโลกเหมือนกัน
        และปัจจุบันนี้ยังมีกลุ่มผู้ไม่นับถือศาสนาใดๆเลย ทั่วโลกก็ประมาณ ๑๖ %หรือประมาณ ๙๖๐ ล้านคนและนับถือศาสนาอื่นๆก็ประมาณ  % หรือประมาณ ๓๐๐ล้านคน 
        เมื่อชาวโลกต้องนับถือศาสนาที่แตกต่างกันอย่างนี้ ถ้ามีการไปยึดถือกันที่รูปแบบหรือเปลือกภายนอก ก็ย่อมมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันอย่างแน่นอน  บางทีอาจเป็นต้นเหตุของความขัดแย้ง  อันจะก่อให้เกิดการทะเลาะวิวาทกัน ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นที่จะต้องมีการประนีประนอมทำความเข้าใจกัน  เพื่อให้อยู่ร่วมกันได้ โดยไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน
          นั้นคือการมองมุมกว้างของมวลมนุษย์โลก ส่วนมุมหนึ่งที่ใกล้ตัวเราที่สุดก็คือการแก้ไขที่ตนเองให้เข้าใจชีวิต ด้วยการกำหนดความรู้สึกตัวเป็นหลัก กล่าวคือการเจริญสติปัฏฐาน  นั้นเอง  เพื่อชีวิตที่เบิกบาน เพื่อการงานที่สดใส เพื่อจิตใจที่สงบเย็น  ผู้ประพฤติธรรมย่อมมีธรรมคุ้มครอง

              ตอนที่  กรรมฐานในเมืองไทย

         กรรมฐาน (กำมะถานแปลว่าที่ตั้งแห่งการงาน หมายเอาอุบายทางใจ มี ๒ ประการคือ ๑สมถะกรรมฐาน คืออุบายสงบใจ ๒.วิปัสสนากรรมฐานคืออุบายเกิดปัญญา จากประวัติศาสตร์ พระพุทธศาสนาถืออุบัติขึ้นที่ประเทศอินเดียก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี โดยมีพระพุทธเจ้าเป็นพระศาสดา  และในราวปี พ.๒๘๐ พระเจ้าอโศกมหาราชก็ได้ส่งสมณะทูตสายที่ ๘ คือพระโสณะและพระอุตรตระ นำพระพุทธศาสนาเข้ามาประดิษฐานที่เมืองไทย เริ่มแรกที่ดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งมีเมืองนครปฐมเป็นราชธานี ต่อจากนั้น พระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองมาเรื่อยๆตามลำดับ จากยุคทวาราวดี  ศรีวิชัย ลพบุรี  ล้านนา อยุธยา  จนถึงยุคปัจจุบันคือรัตนโกสินทร์   จะเห็นได้ว่าพุทธศาสนาได้หยั่งรากลึกลงในจิตใจของปวงชนชาวไทยมาเป็นเวลานาน ๙๕ ของประชากรนับถือพุทธศาสนา จึงได้ชื่อว่าเป็นเมืองพุทธ
ปัจจุบันมีวัด  หมื่นกว่าวัด มีพระสงฆ์  แสนกว่ารูป ได้แบ่งการปกครองสงฆ์ออกเป็นสองฝ่ายคือ มหานิกายและธรรมยุตนิกาย และทั้งสองฝ่ายได้หลักว่าด้วยปริยัติปฏิบัติ และปฏิเวธ ด้านพระปริยัติก็มีถึงเปรียญธรรม  ประโยคและการศึกษาทางโลกก็ถึงชั้นปริญญา โดยมีมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองฝ่าย ฝ่ายมหานิกายมีมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ฝ่ายธรรมยุตมีมหามุงกฎราชวิทยาลัย
          ทางฝ่ายด้ายการปฏิบัติและปฏิเวธ ก็ได้มุ่งหน้าศึกษามาที่กายและใจของตนเอง โดยยึดหลักที่ว่าคันถะธุระคือการศึกษาจากตำราและจากครูอาจารย์ และวิปัสสนาธุระได้ศึกษาจากกายและใจของตนเอง
         เรื่องกรรมฐานของเมืองไทย ก็มีหลายวิธีการคือมีหลายสำนักปฏิบัติ ใครรู้เรื่องอะไร รู้ด้วยวิธีการอย่างไร ก็นำวิธีการหรือเทคนิคอย่างนั้นมาสอน จึงมีการสอนและการปฏิบัติแตกต่างกันออกไป ซึ่งเมื่อมองดูแล้วก็มีถึง   สายด้วยกัน คือ
              สายพุทธานุสติ(พุทโธ)  สายพองหนอยุบหนอ
              สายอานาปานสติ        สายสติปัฏฐาน 
              สายอภิญญา               สายอื่นๆ
             
  โดยมีคณะผู้ทำวิจัยได้สรุปถึงวิธีการและแนวการปฏิบัติ ของแต่ละสายดังนี้
          .สายพุทธานุสติหรือสายพุทโธ คือเป็นสายปฏิบัติที่ใช้คำบริกรรมว่าพุทโธ และส่วนมากก็เป็นสายการปฏิบัติของฝ่ายธรรมยุต ความเป็นมาที่นับเนื่องได้ก็เริ่มจากหลวงปู่มั่น เมื่อปี ..๒๔๓๐ และต่อมาก็มีหลวงฝั่น หลวงปู่เหรียนหลวงปูหลุย หลวงปู่ชอบ หลวงปู่คำดี หลวงปู่เทส เป็นต้น  ส่วนแนววิธีการปฏิบัติ คือฝึกสมาธิโดยบริกรรมคำว่า พุทโธ เพื่อให้เกิดความสงบ และใช้พลังของสมาธิ มาเป็นฐานของวิปัสสนา  ประกอบด้วยการพิจารณากรรมฐาน  อันได้แก่ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง และถือธุดงวัตร ๑๓ เป็นต้น เมื่อให้เห็นความเป็นจริงของร่างกายว่าตกอยู่ในกฎไตรลักษณ์  เพื่อให้ถ่ายถอนความยึดมั่นถือมั่น โดยมีเป้าหมายสูงสุด คือบรรลุ มรรค ผลนิพพาน ฯลฯ
               สายพองหนอ ยุบหนอ ซึ่งวิธีการปฏิบัตินี้ก็มีมานานซึ่งเดิมทีมาจากพม่าเมื่อปี .๒๕  โดยสมเด็จวัดมหาธาตุนำเข้ามา มีแนวการปฏิบัติตามหลักของมหาสติปัฏฐาน  โดยมี สติ เป็นองค์ประธาน ในการกำหนดรู้อิริยาบถทั้ง  คือยืน เดิน นั่ง นอน  กำหนดรู้ลักษณะอาการทั้งหลายในอิริยาบถนั้นๆ เน้นการเดินจงกรมสลับกับการวิปัสสนา และกำหนดรู้อาการ พอง บุบ ของท้อง โดยมีคำบริกรรมกำกับอยู่กับการเคลื่อนไหวว่า พองหนอ ยุบหนอ การเพิ่มองค์บริกรรม หนอ ในอิริยาบถนั้นๆ  ทำให้ผู้ปฏิบัติสามารถกำหนดรู้อาการที่กำลังปรากฏทางกาย (รูปหรืออารมณ์ที่กำลังเกิดทางใจ (นามได้ชัดเจนยิ่งขึ้นหนอ นี้มีประโยชน์มากเหมือนกับคำว่าสักแต่ว่า ทำให้ถอนความยึดมั่นถือมั่นในบัญญัติ สติก็พิจารณาตั้งมั่นอยู่ในรูปนามเพื่อให้เกิดปัญญา เห็นไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มีอานิสงส์ให้บรรลุ มรรคผล นิพพาน
         สายอานาปานสติ เป็นสายที่มีในหลักสูตรในพระไตรปิฏก ชื่อว่าอานาปานสติสูตร ก็มีสำนักที่ปฏิบัติอยู่มากเช่น (.)สำนักสวนโมกขวนาราม อำเภอไชยาจังหวัดสุราษฏร์ธานี โดยหลวงพ่อเจ้าคุณพระธรรมโคษาจารย์หรือพุทธทาสภิกขุ(ปัจจุบันได้แตกเป็นสาขาสายสวนโมกข์มากมาย) (.)ที่วัดมหาธาตุ  แนวการปฏิบัติและเป้าหมายสูงสุด โดยใช้อานาปานสติภาวนาคืออากรกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นกรรมฐาน  เพื่อบรรลุสภาวะนิพพาน นอกนั้นแต่ละสำนักที่ปฏิบัติสายนี้ มีเอกลักษณ์และลักษณะที่ศึกษาเพิ่มเติมตามแนวของธรรมชาติแตกต่งกันออกไป เพื่อเป้าหมายสูงสุดคือบรรลุ มรรค ผลนิพพาน
          สายสติปัฏฐาน  แนวปฏิบัติและเป้าหมายสูงสุด เน้นที่การเจริญสติไปกับฐานทั้ง   คือกาย เวทนา จิต ธรรม โดยให้รู้สึกตัวทั่วพร้อมในอิริยาบถ ของการเคลื่อนไหวเช่น ยืน เดิน นั่ง นอนเป็นต้น  ซึ่งเป็นหลักของวิปัสสนาโดยตรงที่พระพุทธองค์ตรัสถึงบ่อยๆ เมื่อสจิมั่นอยู่ในฐาานรูปนามก็จะเกิสมาธิปัญญาเห็นพระไตรลักษณ์มีผลให้บรรลุ มรรค ผล นิพพาน
        สาย รูปนาม แนวปฏิบัติและเป้าหมายสูงสุด  ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ตามแนววิปัสสนากรรมฐานสติปัฏฐาน  ให้พิจารณารูปอิริยาบถ   ยืน เดิน นั่งนอน ที่ปรากฏเป็นปัจจุบันอารมณ์  เพื่อสร้างตัวปัญญาให้เกิดแก่ผู้ปฏิบัติโดยไม่ใช้คำบริกรรมใดๆ เมื่อเกิดปัญญาก็เห็นพระไตรลักษณ์ มีผลให้บรรลุ มรรค ผลนิพพาน
      .สายอภิญญา แนวการปฏิบัติและเป้าหมายสูงสุด ใช้สมาธิในเบื้องต้นเพื่อพัฒนาเป็นฌานในขั้นกลาง และวิปัสสนาในขั้นสุดท้าย   ใช้คำบริกรรมและการเพ่งวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นต้น ผลที่ได้จากฌานคือคือสำเร็จวิชชา  วิชชา     
อภิญญา  จตุปฏิสัมภิทาญาณเข้าถึงอายตนนิพพาน  เกิดกายทิพย์หรือมโนมยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจจนสามารถสัมผัสนรกสวรรค์ได้ ถอดกายทิพย์ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าได้ หรือใช้รักษาโรคกรรมเก่าได้ มีจุดหมายสูงสุดคือบรรลุ มรรค ผล นิพพาน
        .สายโพธิสัตว์ แนวการปฏิบัติและเป้าหมายสูงสุด เน้นการปฏิบัติ ธรรมตามหลักธรรมทางพุทธศาสนาสายมหายาน  มุ่งการบริจาคทาน  เพื่อช่วยเหลือคนทั่วไป มีกาสงเคราะห์หรือจัดทอดกฐิน ผ้าป่า เป็นต้น การบริจาทานในรูปแบบต่างๆ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างบารมี ตามแนวทางพระโพธิสัตว์เอพุทธภูมิในภายหน้า
        .สายต่างประเทศ ในปัจจุบันเราจะเห็นได้ทางต่างประเทศไม่ว่าแถบเอเชียและยุโรป ก็ได้ส่งสายมาเผยแผ่คำสอนหลายสาย  ซึ่งก็มีรูปแบบต่างๆกันออกไป ทั้งการจัดอบรมเป็นชุดๆ  ทั้งมีสำนักของตัวเอง  บางสายก็เข้าอาคารสถานที่ต่างๆเป็นที่ทำการ  ทั้งก็ออกต่างจังหวัดนัดสมาชิกให้มารวมกันเป็นครั้งเพื่ออบรมสัมมนา  จัดมุ่งหมายเพื่อช่วยสังคมหรือให้คนพ้นทุกข์
          บทสรุป..ถึงแม้เมืองไทยจะนับถือพุทธศาสนาถึง ๙๕ % ของประชากร มีสำนักกรรมฐานหลายร้อยแห่ง แต่ก็ยังมีผู้สนใจหรือเข้าใจถึงวิปัสสนากรรมฐานก็ยังไม่มาก  การนับถือก็นับถือตามรูปแบบศาสนพิธี หรือวัฒนธรรมประเพณีในท้องถิ่นนั้นๆ ส่วนภาคปฏิบัติธรรมก็ยังไม่สนใจเท่าที่ควร









                         ตอนที่ 
                แนวกรรมฐานพระพุทธองค์
                             ว่าด้วยปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวก
                                                          ****************************

          เป็นที่ทราบกันดีว่าพระพุทธศาสนาเกิดขึ้น เพราะการตรัสรู้ด้วยการบำเพ็ญเพียรทางใจ  ของมหาบุรุษพระองค์หนึ่งที่ใต้ต้นโพธิ์  ในวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศก ๔๕ ปี และหลังจากตรัสรู้แล้วก็ออกเผยแผ่พระธรรมที่ทรงพบ ซึ่งเมื่อรวบรวมแล้วก็มีมากมายถึง ๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์ (มากกว่าทุกศาสนาในโลกแต่เวลาจะนำไปใช้พระองค์ก็ทรงย่อลงให้เหลือแค่กำมือเดียว ดังคำที่ทรงตรัสเปรียบเทียบเหมือนใบไม้ทั้งป่า แต่เวลาจะนำมาทำยารักษาโรค ก็เอาไม่กี่อย่าง ธรรมะคำสอนของพระองค์ก็เป็นเช่นนั้น  ดังคำที่ทรงตรัสไว้ในอนุราธสูตรว่า

           ปุพเพ จาหัง อะนุราธิ เอตะระหิ จะ, 

              ทุกขัญเจวะ ปัญญาเปมิ  ทุกขัสสะ จะ นิโรธัง,      

        อนุราธะ เมื่อก่อนก็ดีบัดนี้ก็ดี เราตถาคตสอนแต่เรื่องทุกข์

        กับเรื่องดับทุกข์เท่านั้น,   (อนุราธสูตร 17/127)….


          จะเห็นได้ว่าย่อลงมาเหลือเพียงความทุกข์กับการดับทุกข์เท่านั้น แต่ที่เป็นหัวใจของพุทธศาสนาจริงๆ มีอยู่  ข้อ คือ
                      สัพพะปาปัสสะ อะกะระณังการไม่ทำบาปทั้งปวง,
                    กุสะลัสสูปะสัมปะทา      การทำกุศลให้ถึงพร้อม,
                    สะจิตตะปะริโยทะปะนังการชำระจิตให้ขาวรอบ,
            ทั้ง  ข้อนี้เป็นธรรมที่พระองค์ทรงแสดง ในวันมาฆะบูชาคือวันเพ็ญเดือน  เรียกว่าโอวาทปาติโมกข์ ซึ่งมีข้อที่  เป็นจุดเด่นกว่าทุกศาสนาเพราะว่าด้วยการชำระจิตของตนให้ขาวรอบ ซึ่งศาสนาอื่นมีไม่ค่อยชัดเจน
            ส่วนการที่จะชำระจิตอย่างไรนั้นต้องผ่านกระบวนการฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง ไม่ใช่การอ้อนวอนหรือให้ผู้อื่นทำให้ ต้องเป็น ปัจจัตตัง คือรู้ได้เฉพาะตน

            ที่นี้เมื่อเวลาจะนำไปปฏิบัติเราจะปฏิบัติอย่างไรบ้าง  พระไตรปิฏกคือแหล่ที่รวบรวมคำสอนของพุทธศาสนา  มีพระสูตรอยู่สูตรหนึ่งที่พระพุทธองค์ทรงเน้นทรงรับรอง และทรงเอ่ยถึงมากที่สุด พระสูตรนั้นคือมหาสติปัฏฐานสูตร โดยพระองค์ทรงรับรองว่า เอกายโน มัคโค  หนทางนี้เป็นหนทางอันเอก ที่จะนำชีวิตไปสู่ความพ้นทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิง ดังคำที่ตรัสว่า อาตาปี สัมปะชาโน สติมา วิเนยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง, เธอจงมีความเพียรเป็นเครื่องบาปมีสติความรู้สึกตัวทั่วพร้อมนำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียแล้วชีวิตก็จะอยู่อย่างสบาย ซึ่งในหลักของสติปัฏฐาน  พระทรงเน้นมาที่ กาย,เวทนา,จิต,ธรรม, โดยให้มีสติคือความรู้สึกทั่วพร้อม ในการคู้เหยียดเคลื่อนไหวกระตาก้มเงยเป็นตัน
            คำว่า สติ ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ..2525 แปลว่า ความรู้สึกตัว ส่วน สติปัฏฐาน แปลว่าที่ตั้งของสติ  แต่ในนวโกวาทคือหลักสูตรนักธรรมชั้นตรี บอกว่า ธรรมที่มีอุปการะมาก   อย่างคือ .สติ ความระลึก.สัมปชัญญะ ความรู้ตัวคำว่ามีอุปการะมาก ก็คือมีค่ามีคุณมากนั้นเอง

          แล้ววิธีการจะนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันจะทำอย่างไรเล่า ??? ดังจะได้รวบรวมขั้นตอนของการปฏิบัติและอุปสรรค์ที่จะได้รับดังต่อไปนี้

           ดังปรากฏในหลักสูตรนักธรรมตรีว่าด้วยการปฏิบัติไม่ผิด  อย่างเรียกว่า อปัณณกปฏิปทา คือ อินทรีย์สังวรสำรวมอินทรีย์คือตาหูจมูก ลิ้น กาย ใจ
                              โภชเนมัตตังยุตา, รู้จักประมาณในการบริโภค.
                              ชาคริยานุโยคประกอบความเพียรโดยไม่ย่อหย่อน

      แต่ในหลักสูตรนักชั้นตรีก็ว่าเมื่อลงมือปฏิบัติกันจริงๆ ในด่านแรกก็จะต้อง
       เจออุปสรรค  คือสิ่งที่ค่อยขว้างกั้นไม่ให้จิตถึงธรรม มีอยู่ด้วยกัน  ข้อคือ
             กามฉันทะ, พอใจรักใคร่ในอารมณ์
             พยาบาทอิจฉาพยาบาทปองร้ายผู้อื่น,
             ถีนมิทธะความหดหู่ง่วงเหงา,
             อุทธัจจะกุกกุจจะ, ความฟุ้งซ่านรำคาญ,
             วิจิกิจฉาความลังเลสงสัยในธรรม,
          แค่ด่านแรกยังร้ายกาจขนาดนี้ พอเจอด่านที่สอง พบในหลักสูตร
            นักธรรมชั้น โทว่ามารที่จะมารบกวนการปฏิบัติมีอยู่  อย่างคือ
             .ขันธมารมาร  คือขันธ์  เช่นกายใจเกิดลำบาก
             .กิเลสมาร มาร  คือความเศร้าหมอง ในจิต
             .อภิสังขารมาร  คือความคิดปรุงแต่งต่างๆ
             .มัจจุมาร  คือความไม่สะดวกสบาย
             .เทวปุตตมาร คือการติดความสบาย
           เจอทั้งด่านอย่างนี้ก็เห็นทีจะแย่ แทบจะสู้ไม่ไหวจึงต้องหาพี่เลี้ยงคือความพยายามให้เกิดความสำเร็จ ดังพบใสหลักสูตรนักธรรมชั้นตรี ชื่อว่า ธรรมอันทำให้เกิดความสำเร็จ  อย่างเรียกว่าอิทธิบาท 
                  ฉันทะ ความพอใจ  .วิริยะ ความเพียร
                  จิตตะ เอาใจใส่      .วิมังสา หมั่นดำริ
           ค่อยยังชั่วเพราะมีความมั่นใจมากยิ่งขึ้น แต่ต้องหาพลังงานมาช่วยอีกเพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง จะได้มีพลังไว้ต่อสู้กับเหล่าพระยามาร ดังพบในหลักสูตรนักธรรมชั้นตรี ชื่อว่าธรรมที่ให้เกิดพลังเรียกว่าพละมีอยู่  อย่าง คือ
                 สัทธา ความเชื่อ     วิริยะ ความเพียร
                 สติ ความระลึกได้    . สมาธิ ความตั้งมั่น
                 ปัญญา ความรอบรู้
           จะเห็นได้ว่าธรรมทั้งสองหมวดนี้มีข้อแรกคล้ายกันคือมีศรัทธามาก่อน ความเพียร และธรรมข้ออื่นๆจึงตามมา  แต่ฝ่ายพระยามารเขาก็ไม่ย่อมง่ายๆ เหมือนกัน เพราะเขาอยู่มาก่อน เรียกว่ายึดครองพื้นที่มานาน จึงส่งอุปาทานออกมาก่อกวน ดังพบในหลักสูตรนักชั้นโท มีอยู่ ๔  ข้อคือ
                 1. กามุปาทาน       ยึดมั่นถือมั่นในกาม
                 2. ทิฏฐุปาทาน       ยึดมั่นในทิฏฐิหรือทฤษฏี 
                 3. สีลัพพตุปาทาน  ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมฯ
                 4. อัตตวาทุปาทาน  ยึดมั่นในวาทะว่าตัวตน
         ก็บอกแล้วว่าการปฏิบัติธรรมคือเส้นทางอันยาวไกล ฉะนั้นเราจะประมาทไม่ได้เพราะเผลอเมื่อไร พระยามารก็เข้าเล่นงานทันที เพื่อให้ปลอดภัย จึงจำเป็นต้องหาทำเลที่มีความเหมาะ  เพื่อให้เกิดความเอื้อเฟื้อต่อการปฏิบัติ เราเรียกว่า สัปปายะ ๗  มีอยู่หลักของธรรมของการปฏิบัติ  ดังนี้
                 .อาวาสสัปปะยะ (สถานที่เหมาะสม)
                 .โคจร สัปปะยะ  (การไปมาเหมาะสม)
                 .กถาสัปปะยะ  (การได้ยินได้ฟ้งธรรม)
                 .บุคคลสัปปะยะ (ผู้คนดีด้วยกัน)
                 .โภชนาสัปปะยะ (การอยู่การฉัน)
                 .อุตุสัปปะยะ (ดินฟ้าอากาศ)
                 .อิริยาบถสัปปะยะ (วิธีการปฏิบัติ)
        เมื่อได้สถานที่และสัปปะยะที่สมบูรณ์แล้วก็ตั้งใจปฏิบัติ คือมี อาตาปี สัมปะชาโน สติมา วิเนยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง, มีความเพียรเป็นเครื่องบาปมีสติความรู้สึกตัวทั่วพร้อม,  นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสีย,  คือการกำหนดกายใจให้มี สติ อยู่กับความรู้สึกตัวนั้นเอง แต่ก็ต้องระวังจิตที่ค่อยจะคิดปรุงแต่ง แม้แต่คิดเรื่องดีๆถ้าหยุดไม่ได้ก็ชื่อว่าสังขารเหมือนแต่ถ้าคิดแล้วหยุดได้ก็ได้ชื่อปัญญา  ด้งพบในหลักสูตรนักชั้น….เรียก   อภิสังขาร  มีอยู่ 3
อย่างคือ    1. ปุญญาภิสังขาร     ปรุงแต่งฝ่ายบุญ (คิดเรื่องดี)
               2. อปุญญาภิสังขารปรุงแต่งฝ่ายชั่ว (คิดเรื่องไม่ดี)
                  3. อเนญชาภิสังขาร ปรุงแต่งหลายเรื่อง (คิดไปทั่ว)
          
         จะปรุงมากปรุงน้อยก็ขึ้นอยู่กับตัวเอง  เพราะแต่ละคนมีอุปนิสสัยไม่เหมือนกัน ซึ่งหลักสูตรนักธรรม …..เรียกว่าจริต  มีอยู่ด้วยกันถึง  ชนิดคือ.   .ราคะจริต  . โทสะจริต ๓โมหะจริต ๔วิตกจริต ๕สัทธาจริต  พุทธิจริต
            เพื่อปฏิบัติธรรมเจริญสติไปเรื่อยๆ ก็จะเห็นตัวเองว่ามีจริตเป็นเช่นไร  เพราะถ้าเป็นจริตของเราจริงก็จะปรากฏขึ้นมาให้เห็นบ่อยๆ จนในที่สุดก็จะรู้เองว่านี้คือตัวเราจริง  ซึ่งตรงนี้ภาษาธรรมท่านเรียกเกิด ยภาภูตญาณ แปลว่ารู้เห็นตามความเป็นจริง ซึ่งตอนแรกๆเราฝึกเจริญสติ แต่พอสติมากขึ้นก็เป็นมหาสติปัฏฐาน และเกิดญาณปัญญา เข้าไปหยั่งรู้ภายใน จนรู้เท่าทันหมดว่าอะไรที่ขึ้นในตัวเองแต่ละขณะดังในหลักสูตรนักธรรมชั้น……ได้กล่าวญาณไว้ 3 อย่างคือ
1.      สัจจญาณ  ปรีชาหยั่งรู้อริยสัจคือความจริง
2.      กิจจญาณ  ปรีชาหยั่งรู้กิจอันควรทำ
3.      กตญาณ    ปรีชาหยั่งรู้กิจอันได้กระทำแล้ว

        เมื่อถึงตรงนี้ก็ต้องระวังเรื่องปิติ คือความอิ่มใจ บางครั้งก็เป็นเหมือนมิตรที่ค่อยช่วยเหลือให้เกิดความขยัน  แต่ถ้าหลงเข้าไปยึดก็ทำให้เสียเวลาในการเดินทางซึ่งในหลักนักธรรมชั้นโทได้กล่าวถึงปิติไว้ ๕ อย่างคือ
       1. ขุททกาปิติ        ปิติอย่างน้อย
       2.ขณิกาปิติ           ปิติชั่วขณะ
       3.โอกกันติกาปิติ    ปิติเป็นพักๆ
       4.อุพเพงคาปิติ      ปีติอย่างโลดโผน
       5.ผรณาปิติ           ปีติซาบซ่าน
………………………………………………………
        บางครั้งก็เจออุปสรรค์ที่ทำให้เสียเวลาหรือผิดพลาดได้ ถ้าปฏิบัติไม่ถูกหรือได้ครูอาจารย์ที่ไม่ชำนาญ ซึ่งก็มีตัวใหญ่ๆอยู่ ๓ อย่างคือ
          .วิปัสสนู คือเบื้องแรกเมื่อปฏิบัติจะเข้าใจรูป-นาม และจะเกิดความรู้ไหลเข้ามา มันรู้มากมาย จนบางครั้งควบคุมไม่อยู่ ลักษณะคืออยากพูดอยากบอกคนอยากสอนคนอื่น หรือบางครั้งเกิดความเชื่อมั่นในตัวเองสูงจนไม่ย่อมฟ้งใครเพราะคิดว่าคนอื่นไม่รู้เท่าตน วิธีแก้คืออาจารย์ผู้สอนต้องชำนาญคือดูออกว่าจะแก้อย่างไร แต่ทางที่ดีนักปฏิบัติต้องระวังตัวเองและแก้ตัวเองด้วย คือให้ทำให้รู้อย่างเบาๆสบายๆ อย่าไปกดเกร็งเพ่งจ้อง หรือเมื่อติดมากๆเข้าต้องหางานทำเช่นกวาดใบไม้ ชักเสื้อผ้าเป็นต้น เพื่อให้ผ่อนคลายเมื่อหายแล้วก็ค่อยปฏิบัติต่อไป
         ส่วนที่ ๒ คือจิตญาณ คือพอเข้าสู่อารมณ์ปรมัตถ์คือเริ่มดูความคิดเป็นก็จะเกิดปิติคือความอิ่มใจเย็นใจ ซาบซ่านบางคนถึงกับน้ำตาไหล คิดได้คิดดีอยากผู้อื่นมาปฏิบัติ อยากสอนคนอื่นๆ คิดแล้วก็เข้าไปในความคิดให้ความคิดพาไป บางครั้งมันเวียนศรีษะแน่นหน้าอก ตึงเครียด วิธีแก้ คือเคลื่อนไหวให้แรงๆอย่าเข้าไปในความคิด อย่าไปอยากรู้ อย่าไปเสียดายความรู้ให้รีบปล่อยรีบวางกลับมาอยู่กับความรู้สึกตัว และอย่าไปเร่งตัวเองมาก ถึงเวลานอนก็ต้องนอน แต่ให้ทำความเพียรคือกำหนดรู้สึกตัวไปเรื่อยๆ
             ส่วนที่ตัวที่ ๓ คือวิปลาส ซึ่งเมื่อแก้สองตัวแรกไม่หาย จิตก็จะได้ข้อมูลใหม่คือมีทิฏฐิ หรือการเห็นผิดเป็นถูก ดังในหลักสูตรนักธรรมชั้นเอก ได้พูดถึงวิปลาสไว้ ๔ อย่างคือ
             .นิจจสัญญา สำคัญในของไม่เที่ยงว่าเที่ยง
             .สุขสัญญา สำคัญในของเป็นทุกข์ว่าเป็นสุข
             .อัตตสัญา สำคัญในของที่ไม่ใช่ตนว่าเป็นตน
             สุภสัญญา สำคัญในของที่ไม่งานว่างาม
        ถ้าปฏิบัติไปเรื่อยๆไม่หลงทิศหลงทางไม่แวะซ้ายแวะขวาแล้วต้องมีโอกาสถึงแน่นอน คือทำให้จิตเป็นสมาธิ มีความตั้งมั่นได้มากขึ้น
          สมาธิ 2
        ปุปจารสมาธิ  สมาธิเป็นแต่เฉียดๆ
       อัปปนาสมาธิ สมาธิอันแน่วแน่มั่นดง
                            วิมุตติ 2
       เจโต วิมุตติ     พ้นด้วยอำนาจแห่งใจ คือจิตบริสุทธิ์ ไร้มลทิน
        ปัญญาวิมุตติ  พ้นด้วยอำนาจแห่งปัญญาอาศัยเจริญวิปัสสนา
วิมุตติ 5
1.ตทังควิมุตติ         พ้นชั่วคราว
2.วิกขัมภนวิมุตติ     พ้นด้วยสกดไว้
3.สมุจเฉทวิมุตติ      พ้นด้วยเด็ดขาด
4.ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ   พ้นด้วยสงบ
5.นิสสรณวิมุตติ       พ้นด้วยออกไป
        ถ้าจะเปรียบเทียบว่าการปฏิบัติว่าได้รับปริญาอย่างไรก็พอเปรียบเทียบได้ว่า ซึ่งตรงเราเรียกว่าได้รัปริญญาตามขั้นตอนแตำไม่มีใครมอบให้ปริญญาที่ว่านี้คือ
ปริญญา 3  (รอบรู้หรือรู้รอบ)
    1.ญาตปริญญา     กำหนดรู้ด้วยการรู้
    2.ตีรณปริญญา    กำหนดรู้ด้วยการพิจารณา
    3.ปหานปริญญา   กำหนดรู้ด้วยการละเสีย

           หมวดที่ 2 คือกรรมให้ผลตามกิจ
1.      ชนกกรรม  กรรมแต่งให้เกิด
2.      อปัตถ้มภกรรม  กรรมสนับสนุน
3.      อุปปิฬกกรรม  กรรมบีบคั้น
4.       อุปฆาตกรรม  กรรมตัดรอน  

วิราคาวิมุจจติ  เพราะสิ้นกำหนัด  ย่อมหลุดพ้น.
     วิมุตตัสมิง  วิมุตตมิติ  ญาณัง  โหติ.
     เมื่อหลุดพ้นแล้ว  ญาณว่าหลุดพ้นแล้วย่อมี ฯ

นิพพานโดยปริบาย 2
1.สอุปาทิเสสนิพพาน   ดับกิเลสยังมีเบญจขันธ์เหลือ
2.อนุปาทิเสสนิพพาน   ดับกิเลสไม่เบญจขันธ์เหลือ.    
         วิเวก 3.(ความสงัด จากสิ่งรบกวน)
         1. กายวิเวก  สงัดกาย
               2. จิตตวิเวก  สงัดจิต
   4. อุปธิวิเวก  สงัดกิเลส

                  กรรรม 12
        จัดเป็น 3 หมวดๆละ 4 ข้อ
      หมวดที่ 1 กรรมให้ผลตามคราว
5.      ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพนี้
6.      อุปปัชชเวทนียกรรม  กรรมให้ผลต่อเมื่อเกิดแล้วในภพหน้า
.อปราปรเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพสืบๆไป
7.      อโสิกรรม  กรรมให้ผลสำเร็จแล้ว
           หมวดที่ 2 คือกรรมให้ผลตามกิจ
8.      ชนกกรรม  กรรมแต่งให้เกิด
9.      อปัตถ้มภกรรม  กรรมสนับสนุน
10. อุปปิฬกกรรม  กรรมบีบคั้น
11. อุปฆาตกรรม  กรรมตัดรอน
           หมวดที่ 3 กรรมให้ผลตามลำดับ
12. ครุกรรม  กรรมหนัด
13. พหุละกรรม  กรรมชิน
14. อาสันนกรรม  กรรมเมื่อจวนเจียน
15. กตัตตากรรม  กรรมสักว่าทำ

                  อุทเทศวิราคา  วิมุจจติ
เพราะสิ้นกำหนัด  ย่อมหลุดพ้น.
วิมุตตัสมิง  วิมุตตมิติ  ญาณัง  โหติ.
เมื่อหลุดพ้นแล้ว  ญาณว่าหลุดพ้นแล้วย่อมี ฯ    







ประวัติโดยสังเขปของหลวงพ่อเทียนÊ
        หลวงพ่อเทียน  จิตฺตสุโภ  เกิดที่บ้านบุฮม .เชียงคาน .เลย ในวัยเด็กท่านไม่ได้เรียนหนังสือ เพราะสมัยนั้นหมู่บ้านย้งไม่มีโรงเรียน   แต่ท่านเป็นคนสนใจธรรมะมาตั้งแต่เล็ก  จึงเป็นเหตุให้ท่านได้ศึกษาธรรมะมาหลายรูปแบบ  แต่ก็ไม่หายสงสัย   เมื่อปี พ..2500 ท่านได้ฝึกปฏิบัติธรรมเจริญสติแบบเคลื่อนไหว อันเป็นเหตุให้ชีวิตจิตใจของท่านเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวง  จนทำให้หายสงสัยในเรื่องพุทธศาสนา   ซึ่งตอนนั้นอายุท่านได้ 46 ปี  และยังดำรงตนเป็นฆราวาส 
              หลังจากนั้นท่านก็ได้นำเทคนิคที่ทำให้ท่านเข้าใจ  มาเผยแผ่แก่ญาติพี่น้องและบุคคลทั่วไปเป็นเวลา  ปี 8 เดือน  แล้วเมื่อปี พ..2503 ท่านก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ    เนื่องจากเห็นว่าธรรมะที่ท่านเข้าใจนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง และทำให้ผู้ปฏิบัติพ้นจากทุกข์ได้จริงๆ  การสอนในรูปแบบเป็นฆราวาสอาจจะไม่สะดวก  เพราะคนยังติดสมมติ   ถ้าบวชเป็นพระคงจะสะดวก  ธรรมะก็คงจะไปได้กว้างไกลกว่านี้  ท่านจึงตัดสินใจบวช 
              ตลอดเวลาเกือบ 30 พรรษาหลังจากที่ท่านบวชแล้วก็ได้จาริกไปในที่ต่างๆ  พร้อมกับนำเทคนิคการเจริญสติแบบเคลื่อนไหว  ไปแนะนำให้คนได้ปฏิบัติ    โดยเน้นให้จิตใจอยู่กับปัจจุบัน(อยู่กับกายโดยอาศัยการกำหนด "ความรู้สึกตัวไปกับอิริยาบถของการเคลื่อนไหวเป็นหลัก  จนเป็นเหตุให้มีผู้เข้าใจสัจธรรมเข้าใจชีวิตและหายสงสัยในเรื่องพุทธศาสนามากมาย   ทั้งในและต่างประเทศ  
                 ต่อมาเมื่อปีวันที่ 13 กันยายน พ.. 2531  เวลา 18.15 หลวงพ่อก็ได้มรณะภาพอย่างสงบ   ณ สำนักปฏิบัติธรรมเกาะทับมิ่งขวัญ     บ้านติ้ว  .กุดป่อง อ.เมือง จ.เลย ชึ่งเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมเจริญสติแบบเคลื่อนไหว   ที่หลวงพ่อได้ทุมเทแรงกายแรงใจสร้างขึ้นในวาระสุดทัายของชีวิตรวมอายุได้ 77 ปี และบวชได้ 28พรรษา



.           การปฏิบัติธรรม "ทำความรู้สึกตัว" 
                                                     โดย...หลวงพ่อเทียน  จิตฺตสุโภ
                                             (จากหนังสือคู่มือการทำความรู้สึกตัว  หน้า10 - 32)
               "หมายถึง ความระลึกได้ ไม่ใช่ระลึกชาติแล้วชาติก่อนนะ  ระลึกได้เพราะการเคลื่อน  การไหว การนึก  การคิดนี่เอง  จึงว่าสติ-ความระลึกได้ สัมปชัญญะ-ความรู้ตัว                                                               (18)
               บัดนึ้เราไม่ต้องพูดอย่างนั้น  เพราะคนไทยไม่ได้(พูด)ว่า สติ  "ให้รู้สึกตัวนี่ หลวงพ่อพูดอย่างนี้ให้รู้สึกตัว  การเคลื่อน การไหว กะพริบตาก็รู้หายใจก็ู้  นี่  จิตใจมันนึกคิดก็รู้อันนี้เรียกว่าให้มีสติก็ได้หรือว่าให้รู้สึกตัวก็ได้           (18)       
                ความรู้สึกตัวนั้น  จึงมีค่ามีคุณมากเอาเงินชื้อไม่ได้  ให้คนอื่นรู้แทนเราไม่ได้ เช่นหลวงพ่อกำ(มือ)อยู่นี่  คนอื่นมองเห็นว่าความรู้สึก(ของหลวงพ่อเป็นอย่างไร? รู้ไหมไม่รู้เลย แต่คนอื่นมองเห็นว่า หลวงพ่อกำมือ    แต่ความรู้สึก(ที่)มือหลวงพ่อสัมผัสกันเข้านี่คนอื่นไม่รู้ด้วย  คนอื่นทำ   หลวงพ่อก็เห็นแต่หลวงพ่อรู้นำ(ด้วย)ไม่ได้                                                      )         
             นี้แหละใบไม้กำมือเดึยว คือ ให้รู้การเคลื่อนไหวของรูปกายภายนอก  และให้รู้การเคลื่อนไหวของจิตใจมันนึกคิด                                         (7)
                                       การสร้างจังหวะ
               การเจริญสติ   เจริญสมาธิ  เจริญปัญญานั้น  ต้องมี "วิธีการที่จะนำตัวเรา ไปสู่ตัวสติ ตัวสมาธิ ตัวปัญญาได้ การทำทุกสิ่งทุกอย่างต้องมีวิธีการ  จึงจะเข้าถึงจุดหมายปลายทางได้                                                           (7)                                   
              ดังนั้นการมาที่นี่ต้องพยายาม ไม่ต้องนั่งนิ่งๆ สอนกันแนะนำกัน ให้มีวิธีทำ  โดยเคลื่อนไหวอยู่เสมอ ทำเป็นจังหวะ                            (22 .8-9)                      
              วิธีทำนั้น  ก็ต้องนั่ง แต่ไม่ต้องหลับตา  อันนี้มีวิธีทำ  นั่งพับเพียบก็ได้  นั่งขัดสมาธิก็ได้  นั่งเก้าอี้ก็ได้ นอนก็ได้  ยืนก็ได้  ทำความรู้สึกตัว.....
             พลิกมือขวาตะแคงขึ้น..ทำช้าๆ...ให้รู้สึก  ไม่ใช่(พูด "พลิกมือขวา"อันนั้นมากเกินไป  เพียงแต่ว่า ให้รู้สึกเท่านั้นเอง พลิกมือขึ้น...ให้รู้สึก หยุดไว้  ยกมือขึ้น...ให้รู้สึก  ให้มันหยุดก่อน  ให้มันหยุด มันไหวไป...ให้รู้  ขึ้นครึ่งตัวนี่...ให้มันรู้
 แล้วก็เอามาที่สะดือ 
            อันนี้มีจังหวะซ้าย-ขวา  เป็น 6 จังหวะ  เวลาเอามือออกมาก็ซ้าย-ขวา  รวมกันเข้ามี 8 จังหวะ อันนี้เป็นจังหวะ เป็นจังหวะ               (22 นง62-63)                                                                    
                การเจริญสตินั้น  ท่านว่าให้ทำบ่อยๆ ทำบ่อยๆก็ทำความรู้สึกนี่เอง 
เมื่อพูดถึงความรู้สึกแล้ว  ก็พูดวิธีปฏิบัติพร้อมๆกันไปทุกคนทำตามอาตมาก็ได้
   (ดูภาพประกอบ)
1.  เอามือวางไว้ที่ขาทั้ง
     สองข้าง..คว่ำาไว้    
2.  พลิกมือขวาตะแตง
     ขึ้น.....ให้รู้สึก
3.  ยกมือขวาขึ้นครึ่งตัว
   ให้รู้สึก..หยุดก็ให้รู้สีก
4.  เอามือขวาขึ้นมาที่
     สะดือ.....ให้รู้สึก
5.  พลิกมือซ้ายตะแคง
     ขึ้น...ให้มีความรู้สึก 
6.  ยกมือซ้ายขึ้นครึ่งตัว
     ...ให้มีความรู้สึก
7. เอามือซ้ายมาที่สะดือ
    .....ให้รู้สึก    
8. เลื่อนมือขวาขึ้นหน้า
     อก.....ให้รู้สึก
9. เอามือขวาออกตรงข้าง...ให้รู้สึก  10. ลดมือขวาลงที่ขาขวา ตะแคงไว้..ให้รู้สึก
11. ว่ำมือขวาลงที่ขาขวา...ให้รู้สึก  12. ลื่อนมือซ้ายขึ้นที่หน้าอก.ให้มีความรู้สึก
13. เอามือซ้ายออกมาข้าง...ให้รู้สึก 14.ลดมือซ้ายออกที่ขาซ้าย ตะแคงไว้.ให้รู้สึก 
 15. คว่ำามือซ้ายลงที่ขาซ้าย..ให้รู้สึก(จากนั้นทำเหมือนเดิมเป็นรอบๆไปเรื่อยๆ)  
              อันนี้เป็นวิธีปฏิบัติ   เป็นการเจริญสติ   เราไม่ต้องไปศึกษาเล่าเรียนใน
พระไตรปิฎกก็ได้  การไปศึกษาเล่าเรียนในพระไตรปิกฎนั้นมันเป็นพิธี  คำพูดเท่า
นั้น  มันไม่ใช่เป็นการปฏิบัติเพื่อความเห็นเเจ้ง  การปฏิบัติเพื่อความเห็นแจ้ง  ทำอย่างนี้แหละ                                                                            (9)                                                                                                    
               เวลาลุกขึ้นมี 7 จังหวะ-วิธีลุก  เวลานั่งลงมี 8 จังหวะ-วิธีนั่ง แต่วิธีนอนตะแคงซ้าย  ตะแคงขวา   หรือนอนหงาย   ลุกทางซ้ายลุกทางขวา ลุกทางหงาย อันนั้นก็มีจังหวะ เช่นเดียวกัน   หรือจังหวะกราบ...เมื่อผมมาเข้าใจ คำว่า  เบญจางคประดิษฐ์ หมายถึง 5 จังหวะ เมื่อรู้อย่างนี้ก็ยกมือไหว้ตัวเอง  ไหว้ตัวเองก็มี 5 จังหวะเช่นเดียวกัน                                                      (22 .63)
                                การเดินจงกรม
              เดินจงกรม ก็หมายถึง  เปลี่ยนอิริยาบถนั่นเอง  ให้เข้าใจว่า เดินจงกรมเพื่ออะไร(เพื่อ)เปลี่ยนอิริยาบถ  คือนั่งนานมันเจ็บแข้งเจ็บขา บัดนี้ เดินหลาย(เดินมาก)มันก็เมื่อยหลังเมื่อยเอว  นั่งด้านหนึ่ง เขาเรียกว่าเปลี่ยนอิริยาบถ  เปลี่ยนให้เท่าๆกัน   นั่งบ้างนอนบ้าง ยืนบ้าง เดินบ้าง  อิริยาบถ  ทั้ง 4 ให้เท่าๆกัน  แบ่งเท่ากันหรือไม่แบ่งเท่ากันก็ได้  เพราะว่าเราไม่มีนาฬิกานี่  น้อยมากอะไร ก็พอดีพอควร เดินเหนื่อยแล้ว ก็ไปนั่งก็ได้ นั่งเหนื่อยแล้ว ลุกเดินก็ได้                        (9)
       เวลาเดินจงกรมไม่ให้แกว่งแขนเอามือกอดหน้าอกไว้หรือเอามือไขว้ไว้ข้างหลังก็ได้    (1)
          เดินไปเดินมา  ก้าวเท้าไปก้าวเท้ามาทำความรู้สึก แต่ไม่ได้พูดว่า "ซ้ายย่างหนอขวาย่างหนอ"ไม่ต้องพูดเพียงเอาความรู้สึกเท่านั้น  (9)                
            เดินจงกรมก็อย่าไปเดินไวเกินไป อย่าไปเดินช้าเกินไปเดินให้พอดี            (23 .1)
            เดินไปก็ให้รู้...นี่เป็นวิธีเดินจงกรมไม่ใช่ว่าเดินจงกรม  เดินทั้งวันไม่รู้สึกตัวเลย อันนั้นก็เต็มทีแล้ว  เดินไปจนตายมันเป็นอย่างนั้น ไม่ใช่เดินอย่างนั้น  เดินก้าวไปก้าวมา"รู้"นี่(เรียก)ว่าเดินจงกรม                          (9) 
           การเจริญสติในชีวิตประจำวัน                                 
     การเจริญสตินี้ ต้องทำมากๆ  ทำบ่อยๆ นั่งทำก็ได้ นอนทำก็ได้ ขึ้นรถลงเรือทำได้ทั้งนั้น เวลาเรานั่งรถเมล์นั่งรถยนต์ก็ตามเราเอามือวางไว้บนขา พลิกึ้น-คว่ำลงก็ได้หรือเราไม่อยากพลิกขึ้น-คว่ำลง เราเพียงเอามือสัมผัสนิ้วอย่างนี้ก็ได้สัมผัสอย่างนี้ให้มีความตื่นตัวทำช้าๆหรือจะกำมือ-เหยียดมืออย่างนี้ก็ได้    (9)
                  
            แบมือ                      กำมือ                        คลึงนี้วมือ
    ไปไหนมาไหน  ทำเล่นๆไป  ทำเพื่อความสนุก นี่อย่างนี้ ทำมือเดียว อย่าทำพร้อมกันสองมือสามมือทำมือขวามือซ้ายไม่ต้องทำทำมือซ้ายมือขวาไม่ทำ  (9)                                                                            
             "ไม่มีเวลาที่จะทำ"  บางคนว่า  "ทำไม่ได้ มีกิเลสเข้าใจอย่างนั้น   อันนี้ถ้าเราตั้งใจแล้ว  ต้องมีเวลา มีเวลาเพราะเราหายใจได้   เราทำการทำงานอะไรให้มีความรู้สึกตัว เช่น เราเป็นครูสอนหนังสือ  เวลาเราจับดินสอเอามาเขียนหนังสือ...เรามีความรู้สึกตัว เขียนตัวหนังสือไปแล้ว...เราก็รู้   อันนี้เป็นการเจริญสติแบบธรรมดาๆ ศึกษาธรรมะกับธรรมชาติ
              เวลาเราทานอาหาร  เราเอาช้อนเราไปตักเอาข้าวเข้ามาในปากเรา...เรามีความรู้สึกตัวในขณะที่เราเคี้ยวข้าว...เรามีความรู้สึกตัว  กลืนข้าวเข้าไปในท้องไปในลำคอ...เรามีความรู้สึกตัว  อันนี้เป็นการเจริญสติ                    (9)                                   
                   ทำให้ติดต่อกันเหมือนลูกโซ่
             ที่อาตมาพูดนี้  อาตมารับรองคำสอนของพระพุทธเจ้า  และรับรองวิธีที่อาตมาพูดนี้รับรองจริงๆ  ถ้าพวกท่านทำจริงๆแล้ว  ทำให้มันติดต่อกันเหมือนลูกโซ่  หรือเหมือนนาฬิกาที่มันหมุนอยู่ตลอดเวลา
             แต่ไม่ใช่ว่าทำอย่างนี้  ให้มันเหมือนลูกโซ่  หมุนอยู่เหมือนกับนาฬิกานี่ 
ไม่ให้ไปไปให้ไปทำการทำงานอื่นใดทั้งหมด    ให้ทำความรู้สึก    ทำจังหวะเดิน
จงกรม  อยู่อย่างนี้ตลอดเวลาหรือไม่ใช่อย่างนั้น
              คำว่า"ให้ทำอยู่ตลอดเวลา"นั้น (คือ)เราทำความรู้สึก  ซักผ้าซักเสื้อ  ถู
บ้านกวาดบ้าน  ล้างถ้วยล้างจาน  เขียนหนังสือ  หรือชื้อขายก็ได้  เพียงเรามีความรู้สึกเท่านั้น  แต่ความรู้สึกอันนี้แหละ  มันจะสะสมเอาไว้ทีละเล็กทีละน้อย  เหมือนกับเราที่มีขันหรือมีโอ่งน้ำ หรือมีอะไรก็ตามที่มันดี  ที่รองรับมันดี  ฝนตกลงมา  ตกทีละนิดทีละนิด  เม็ดฝนเม็ดน้อยๆตกลงนานๆ แต่มันเก็บได้ดีน้ำก็เลยเต็มโอ่งเต็มขันขึ้นมา
               อันนี้ก็เหมือนกัน  เราทำความรู้สึกยกเท้าไป  ยกเท้ามา ยกมือไป ยกมือมา เรานอนกำมือ เหยียดมือ  ทำยยู่อย่างนั้น  หลับแล้วก็แล้วไป  เมื่อนอนตื่นขึ้นมา  เราก็ทำไป  หลับแล้วก็แล้วไป  ท่านสอนอย่างนี้  เรียกว่าทำบ่อยๆ นี้เรียกว่า เป็นการเจริญสติ                                                                   (9)
                                     สรุปวิธีปฏิบัติ
               ถ้าทำจังหวะให้ติดต่อกันเหมือนลูกโซ่มีความรู้สึกอยู่ทุกขณะ ยืน เดิน นั่ง นอน คู้เหยียด เคลื่อน ไหว อย่างที่พระพุทธเจ้าท่านสอนนั้น
                 แต่เรามาทำเป็นจังหวะ  พลิกมือขึ้นคว่ำมือลง  ยกมือไป  เอามือมา กัม เงย เอียงซ้าย เอียงขวา กะพริบตา  อ้าปาก  หายใจเข้า  หายใจออก รู้สึกอยู่ทุกขณะ จิตใจมันนึกมันคิด  รู้สึกอยู่ทุกขณะ   อันนี้แหละวิธีปฏิบัติ   คือให้รู้ตัวไม่ให้นั่งนิ่งๆไม่ให้นั่งสงบคือให้มันรู้                         (22 .28)                                             
         รับรองว่าถ้าทำจริง  ในระยะ 3 ปีอย่างนาน  ทำให้ติดต่อกันจริงๆนะ อย่างกลาง 1 ปี อย่างเร็วที่สุดนับแต่ 1 ถึง 90 วัน อานิสงส์ไม่ต้องพูดถึงเลย ความทุกข์จะลดน้อยไปจริงๆ ทุกข์จะไม่มารบกวนเรา              (22 .29)

      ­(ที่เป็นตัวเลขในวงเล็บ นั้นคือระหัสของหนังสือและม้วนเทปหลวงพ่อ)
















 ÉÌ การเจริญสติ  ÌÊ  
                     แบบหลวงพ่อเทียน  จิตฺตสุโภ  (โดยศิษย์)
     
            คำสอนของผู้เป็นครูของโลกทั้งหลายเปรียบเหมือนกับใบไม้ทั้งป่า แต่ใบไม้ที่สามารถนำมาทำยาได้มีเพียงเล็กน้อย  อย่าได้เอามาทั้งหมดทั้งรากและลำต้น  เมื่อมาปฏิบัติกรรมฐานหรือวิปัสสนาเราควรจะเอาเฉพาะสิ่งที่สามารถ  ป้องกันไม่ให้ทุกข์เกิดสามารถดับทุกข์ที่ต้นเหตุของมัน   สามารถทำลายโมหะ เราเอาเฉพาะแก่น  แก่นของคำสอนที่ข้าพจ้าพูดถึงอยู่นี้คือการมีสติ  มีปัญญา  เห็นความคิด  เมื่อความคิดเกิดขึ้น  เห็นมัน  รู้มัน  เข้าใจมัน รู้มันในทุกลักษณะที่มันเกิด  และรู้ถึงวิธีป้องกันมิให้ มันมาลวงเรา
            ไม่ว่าเราจะอยู่  ที่ใด นั่นคือที่ที่เราจะต้องปฏิบัติ  ไม่มีใครจะทำแทนเราได้  ไม่ว่าเราจะไปที่ใด เราเป็นบุคคลที่ไป  ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ใด  เราเป็นบุคคลที่อยู่  นั่ง กิน ดื่ม นอนหลับ  เราเองเป็นผู้กระทำ  ถ้าเราเป็นบุคคลที่รักษาศีล  หรือให้ทานเราสามารถปฏิบัติได้  และถ้าเราเป็นบุคคลที่ไม่เคยกระทำสิ่งเหล่านี้ เราก็สามารถปฏิบัติได้เช่นเดียวกัน  การช่วยเหลือบุคคลอื่นนั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่ก็ดีในทางโลก  ส่วนการปฏิบัติเจริญสติ  สมาธิ ปัญญานั้นดีในทุกๆทาง 
              ดังนั้นก่อนที่เธอจะสอนผู้อื่น  เธอควรจะฝึกฝนตนเอง  กระทั่งเธอเห็น รู้ และเข้าใจ  อย่างแจ่มแจ้งและอย่างแท้จริง  เมื่อเธอเห็นจริงรู้จริง  และเป็นจริงแล้ว เธอสามารถสอนผู้อื่นได้อย่างสบาย     ดังนั้นการปฏิบัตินี้  เราต้องเรียนด้วยตัวของเราเอง  เราต้องสอนตัวเราเอง เราต้องเห็นด้วยตัวของเราเอง  เราต้องรู้ด้วยตัวของเราเอง  เราต้องเข้าใจด้วยตัวของเราเอง  
               ดังนั้นเธอไม่จำต้องสนใจในบุคคลอื่น  เพียงปฏิบัติการเคลื่อนไหวนี้ให้มาก ทำเฉยๆ ไม่รีบร้อนไม่ลังเลสงสัย  ไม่คาดคิดล่วงหน้าและทำโดยไม่คาดหวังผล  ให้ง่ายๆ และเพียงแต่เคลื่อนไหว เคลื่อนไหวทีละครั้งและรู้  เมื่อเธอไม่รู้ปล่อยมันไป   บางครั้งเธอรู้  บ้างครั้งเธอไม่รู้    มันเป็นเช่นนั้นแต่ให้รู้   เมื่อร่างกาย
เคลื่อนไหว รู้มัน การปฏิบัตินี้เป็นการปฏิบัติตลอด 24 ชั่วโมง  ดังนั้นให้ผ่อนคลาย
และให้เป็นธรรมชาติ เป็นปกติธรรมดา จงตั้งใจปฏิบัติจริงๆ และปฏิบัติอย่างสบาย
                         วิธีของการเจริญสติในชีวิตประจำวัน  
                เมื่อเราขึ้นรถหรือลงเรือ และนั่งลงเรียบร้อยแล้ว  เราพลิกมือขึ้น พลิกมือลง เราเคลื่อนมือ เหยียดมือหรือคลึงนิ้วมือ กะพริบตา หายใจ กลืนน้ำลายและอื่นๆ ให้รู้สึกตัวถึงการเคลื่อนใหวเหล่านี้มันเป็นวิธีที่เรียกความรู้สึกตัวให้กลับมาที่ตัวของเราเอง  เมื่อความคิดเกิดขึ้น  ให้รู้ถึงความคิดนั้นและปล่อยวาง
                           วิธีของการเจริญสติเมื่อเราอยู่ที่บ้าน    
                เราอาจจะนั่งพับเพียบ  นั่งขัดสมาธิ นั่งบนเก้าอี้หรือนั่งเหยียดขา  เราอาจจะยืนหรือนอนสร้างจังหวะได้เช่นเดียวกัน  เมื่อเราเดินจงกรม (เดินกลับไปกลับมาระยะประมาณ 8-12 ก้าว)เราต้องไม่แกว่งแขน  เราอาจกอดอกหรือเอามือประสานไว้ข้างหน้าหรือไว้ข้างหลังก็ได้
                          หลักปฏิบัติแนวหลวงพ่อเทียน  จิตฺตสุโภ
              1.  บางคนยังไม่เข้าใจหลวงพ่อ  หรือบางทีเข้าใจอย่างไม่ถูกต้อง อย่างเช่นคำว่าสติของหลวงพ่อนั้น  ไม่ได้หมายถึงสติที่เขาอธิบายๆกันทั่วๆ ไปแต่หมายถึง"รู้สึกเฉย ๆเท่านั้น   คือปกติเวลาเดินเราก็รู้สึก เวลานั่งก็รู้สึก  จะเอี้ยวตัวก็รู้สึก  จะทำอะไรเราก็รู้สึก  อันตัวรู้สึกนี้แหละคือตัวสติ  ในความหมายของหลวงพ่อเทียน  เป็นสัมผัสแรกเป็นปัจจุบันธรรมดั้งเดิม  ไม่ใช่ว่าจะให้เราไปรู้สึกถึงการเดิน  รู้สึกถึงการนั่ง  รู้สึกถึงการเคลื่อน  ไม่ใช่เช่นนั้นแต่เป็นลักษณะที่ว่า  เวลาเดินเราก็รู้สึก  เวลาเคลื่อนเราก็รู้สึก ฯลฯ  ก็ให้จับความรู้สึกที่เกิดขึ้นนั่นเองเป็นฐานกำหนด...ไม่ต้องไปรู้สึกถึงการเดินอะไรอย่างที่เขาอธิบายกันทั่วไป  คือไม่ต้องไปบ่ง  ไปจำแนกว่านั่นความรู้สึกในการเดิน  นั่นความรู้สึกในการนั่ง   นั่นความรู้สึกในการกระพริบตา  นั่นความรู้สึกในการหายใจเข้า นั่นความรู้สึกในการหายใจออก ฯลฯ คือไม่ต้องไป Naming มัน  ไม่ต้องไปเรียกชื่อมันไม่ต้องไปจำแนกมันว่าเป็นความรู้สึกอย่างโน้น  อย่างนี้  แต่กำหนดแค่ "รู้สึกก็พอแล้ว 
                ที่นี้พอรู้สึกแล้วปล่อยมันไป  ละมันไปเสีย  อย่าไปใส่ใจอะไรกับมันอีก
 เราเอาแค่รู้สึกรู้สึก รู้สึกเฉยๆไปอย่างนั้นเรื่อยๆไป  อย่าไปครองความรู้สึก  หรือไปยึดหน่วงมันไว้  ต้องปล่อยให้มันผ่านไป  ผ่านไป รู้สึกแล้วให้ผ่านไปๆ จะเห็นได้ว่าสติที่เขาอธิบายกันมันคลาดเคลื่อนไปจากของที่หลวงพ่ออธิบายไปนิดเดียวเท่านั้น  แต่มันสร้างความแตกต่างมากเหลือเกิน  เพราะมันพาเข้ารกเข้าพงไปเลย  คือทำอะไรเคลื่อนไหวอะไรๆ ก็รู้สึกอยู่ตลอดเวลา ความ "รู้สึก"นี้แหละคือ "พุทธะองค์น้อยๆ คนมาจับแขนเรา  เราก็รู้สึก รู้สึกนั่นแหละคือพุทธะ คือสัมผัสแรกเริ่มดั้งเดิม  และหลักปฏิบัติของหลวงพ่อก็คือจับความรู้สึกนั่นแหละให้ชัดแล้วก็ปล่อยให้มันผ่านไป  รู้แล้วปล่อย รู้แล้วปล่อย เพียงแต่รู้สึก  ไม่ต้องนึกตาม  หรือกำหนดตามอาการเช่นว่าพอเดินก็รู้สึกในการเดิน พอก้าวเท้าซ้าย  ก็รู้สึกแล้วก็นึกตามว่าก้าวเท้าซ้าย  อย่างนี้ไม่ใช่แบบหลวงพ่อ  ของหลวงพ่อนั้น  จะทำอะไรก็ตาม  จะทำอะไรก็ไม่ว่าหรือไม่สนใจ  สนใจแต่ให้รู้สึกเมื่อกระทำลงไปเท่านั้นและเป็นแค่รู้สึก "รู้สึกรู้สึกเฉยๆไม่ต้องไปจำแนกแยกแยะว่านี้กำลังเดิน  นี้กำลังเคลื่อน ฯลฯ 
              2. บางคนบอกว่านั่งนิ่งๆสิ่งนั้นก็มีอยู่แล้วหรือสติก็มีอยู่แล้วนั้น  ช่างตรงข้ามกับที่หลวงพ่อสอน เพราะท่านสอนย้ำว่า "อย่าอยู่นิ่งๆนะ ให้มันเคลื่อนไหวอยู่เสมอ อย่าหยุดทั้งนี้  เพราะเราอยู่ในสิ่งแวดล้อมและถ้าเราหยุด  สิ่งแวดล้อมก็จะเป็นฝ่ายกระทำเรา  เป็นฝ่ายเล่นงานเรา  ครอบงำเราแต่กระนั้นถ้าเราเป็นฝ่ายกระทำ  มันก็จะเป็นการสร้างกรรมแล้วก็จะเกิดวิบาก-ผลกรรมตามมาอีก  วัฏฏะเพราะการกระทำนั้นจะต้องประกอบด้วยเจตนา  ซึ่งจัดว่าเป็นกรรม  แล้วมีวิบากตามมาดังกล่าว เมื่อหยุดก็ไม่ได้   ทำก็ไม่ได้  เช่นนั้นจะทำอย่างไร?  ก็ต้องกระทำชนิดพิเศษ  ซึ่งก็เลยเกิดวิธีสร้างจังหวะของหลวงพ่อขึ้นมานั่นเอง
            การกระทำชนิดพิเศษเป็นอย่างไร?  การกระทำชนิดพิเศษคือทำโดยไม่มีเจตจำนงอื่นใด  ทำโดยไร้เจตจำนงใดๆไม่มี Demand ใดๆกล่าวคือในการสร้างจังหวะหรือยกมือทำจังหวะ  แนวหลวงพ่อนี้เราต้อง 1.ตั้งใจ  และ  2. ไร้เจตจำนงใดๆ ..........   ตั้งใจ  คือเราต้องตั้งใจทำ  เพราะถ้าไม่ตั้งใจทำ  มัวไปนอนเล่นเสียไม่มา สร้างจังหวะ  มันก็ไม่ได้เรื่องเป็นความเหลวไหลเสียเป็นแน่แท้   ดังนั้นประการแรกต้องตั้งใจทำ
                   ไร้เจตจำนงใดๆก็คือทำไป     สร้างจังหวะไปๆ ต้องปราศจากเจต
จำนงใดๆ ไม่ Demand อะไร ไม่หวังอะไร ไม่ต้องการอะไรทั้งสิ้น  จึงจะเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้อง แล้วมันจะไหลพาไปสู่จุดหมายเอง  แต่ถ้าไปเกิดเจตจำนงๆ ขึ้น  มันจะพาไปยังจุดหมายของเจตจำนงนั้นๆแทน  ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่จุดหมายของการสร้างจังหวะ  เป้าหมายของการสร้างจังหวะคือให้รู้สึก  ให้ชัดเจนและต่อเนื่องในทุกๆ อิริยาบถ รู้สึก รู้สึกเฉยๆ ไม่ต้องจำแนกแยกแยะอะไร  และรู้สึกแล้วก็ปล่อยให้มันผ่านไป (สร้างจังหวะให้จิตมึนงงจนลืม ProJect ออกไปสร้างเป้าหมายข้างนอกและน้อมลงสู่ตัวเอง)
            ถ้ามาอยู่กับความรู้สึกล้วนๆ นี้สักครู่จะรู้สึกสบาย  ซึ่งเป็นเรื่องแปลกมาก  คือพอถอยออกมาสู่สัมผัสดั้งเดิมอันบริสุทธิ์จากความคิด  ความนึกใดๆ จะปลอดโปร่ง ให้รู้สึกอยู่เรื่อยๆไป  พอมีอะไรผ่านเข้ามา (อะไรก็ตามที่ไม่ใช่ความรู้สึกที่กำลังรู้สึก)  ไม่ว่าจะเป็นความคิดหรืออารมณ์อะไรเราจะรู้ได้ทันที่  ก็ให้เราปล่อยมันผ่านไป  โดยไม่ต้องจำแนกแยกแยะ  ไม่ต้องไปกำหนด ไปวิเคราะห์หรือไปเรียกชื่อมันคล้ายๆกับว่าอะไรก็ไม่รู้  ที่ไม่ใช่ความู้สึกนะ  มาแล้วก็ให้มันผ่านไปโดยไม่ต้องไปยุ่งกับมัน  ปล่อยให้มันเป็นไปเช่นนั้น อย่าไปุ่งกับมัน  เดี๋ยวมันจะกลายเป็นประการอื่น  ไม่ต้องไปสนใจมัน  ว่ามันเป็นราคะหรือเป็นโทสะ  หรือว่าเป็นโมหะ   ไม่ต้องไปรู้มันถึงขนาดนั้น   เพราะถ้าไปรู้ขนาดนั้นก็เป็นการใช้ความคิดเข้าไปตามนึกถึงมันอีกว่านี่ราคะ นี่โทสะ นี่โมหะ ก็เป็นการพลัดออกจากสติ-ความรู้สึกล้วนๆเสียแล้ว กลายเป็นฝังหัวเข้าไปในความคิดเสียอีก
           ฉะนั้นที่กล่าวมานี้แตกต่างจากที่ผู้คนเขาอธิบายแต่เดิมๆที่ว่าเหยียดก็รู้ว่าเหยียด  คู้ก็รู้ว่าคู้กระพริบตาก็รู้ว่ากระพริบตา  เดินก็รู้ว่าเดิน เพราะหลวงพ่อพูดว่า เวลาเหยียดก็รู้สึก  เวลาคู้ก็รู้สึก กระพริบตาก็รู้สึก  เวลาเดินก็รู้สึก  และมาจับเฉพาะที่ตัวความรู้ล้วนๆเป็นฐาน (โดยไม่จำแนกว่านั่นเป็นความรู้สึกในการเดิน นี่เป็นความรู้สึกในการเหยียด  โน่นเป็นความรู้สึกในการคู้ ฯลฯ  เอาแค่ความรู้สึก  รู้สึกเฉยๆเท่านั้น และรู้แล้วก็ปล่อย)และต่างจากที่ผู้คนอธิบายกันมานานที่ว่าจิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ จิตมีโทสะก็รู้ว่าจิตมีโทสะ ฯลฯ เพราะว่าหลวงพ่อให้เพียงแต่รู้ว่ามีอะไรที่ไม่ใช่ความรู้สึกแท้ๆปรากฏขี้นเท่านั้น  จากนั้นก็ให้ปล่อยให้มันผ่านไป รู้แล้วปล่อย ไม่ต้องไปจำแนกแยกแยะหรือเรียกชื่อมันว่า  นี่ราคะ นั่นโทสะ นั่นโมหะ ฯลฯ เพราะมันจะกลายเป็นไปตามนึกตามคิด  เป็นการฝังหัวเข้าไปในความ
คิดเสียอีก  ทั้งๆที่แนวหลวงพ่อมุ่งออกจาก  ความคิด  ดังนั้นระมัดระวังให้ดี   
            ดังนั้น  ในการปฏิบัติของหลวงพ่อต้องมี  1. กลวิธี  และ  2. ความเข้าใจ
กลวิธี...คือการยกมือสร้างจังหวะหรือหมุนนี้วมือเป็นกลวิธีที่ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อไม่
ให้เราได้หยุดนิ่งๆให้เราได้ฝึกสติ รู้สึกอยู่ในการเคลื่อนไหว ให้ชัดเจนและต่อเนื่อง
               ความเข้าใจ ......คือ  (1)ต้องเข้าใจว่า "สติที่หลวงพ่อหมายถึงนั้นคืออะไร คือความรู้สึก (ความรู้สึกเฉยๆ)เพียงแต่รู้สึก รู้สึกเท่านั้น ไม่มีอะไรลึกไปกว่านั้น  ไม่มีอะไรไกลไปกว่านั้น (บางคนว่า  "รู้สึกว่าเดินรู้สึกหายใจออก รู้สึกว่าหายใจเข้า ฯลฯ นั้นผิด  เพราะหลวงพ่อจะรู้สึกเฉยๆเท่านั้นๆ  (2) ต้องเข้าใจว่า เมื่อมีอะไรผ่านเข้ามา ต้องรู้แล้วปล่อยไป ที่ว่ารู้นี้หมายถึงรู้อย่างผิวเผินก็พอ  ไม่ต้องไปรู้ว่านี่ราคะ  นั่นโทสะนั่นโมหะ ฯลฯ นั่นมันรู้สึกเกินไป เกินจำเป็นเป็นการจำแนกแยกแยะหรือเรียกชื่อมันรู้(รู้เฉยๆ)แล้วก็ปล่อย รู้แล้วก็ปล่อยเหมือนลมพัดผ่านมาไม่ต้องรู้ว่าลมตะเภา หรือลมว่าว  หรือลมอย่างอื่นรู้แต่เพียงว่าลมก็พอแล้ว  และปล่อยข้อรู้นั้นไป  ที่จริงรู้ว่าลมก็ดูจะมากเกินไปด้วย  เอาเพียงรู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้น (ต่างจากปกติตอนที่ไม่มีลมแค่นั้นก็พอแล้ว คืออย่าไปจำแนกแยกแยะ กำหนดหมายอะไรเข้า จะยุ่ง
            ในการเจริญสติโดยสร้างจังหวะนั้น  อย่าไปจ้องความรู้สึกมากนัก  ยกตัวอย่างเช่น  เรามองดูโต๊ะ เก้าอี้ (ดูทีละอย่างๆ ไปดินสอ กระดาษ ฝาห้อง ห้องน้ำ พัดลม ทีละอย่าง (ลองทำดูด้วยเรามองธรรมดาๆนี้เอง แต่ถ้าจ้องก็เช่นเวลาถ่ายรูป พอยกกล้องขึ้นส่องเล็งรูปคนข้างหน้าแล้วปรับภาพให้ชัดตอนนั่น เป็นการจ้อง 100% เลย ในการเจริญสติก็เช่นกัน  อย่าจ้องที่ความรู้สึกหรือความคิด หรือ ฯลฯ แต่ดูเฉยๆรู้สึกอยู่อย่างธรรมดาๆดุจมองดูสิ่งของต่างๆ ดังกล่าวมานั่นเองจึงจะถูกต้อง  ดังนั้นต้องมีทั้งกลวิธีและความเข้าใจ  ถ้ามีกลวิธีแต่ไม่เข้าใจ  ก็จะเป็นลักษณะยกมือสร้างจังหวะ  เป็นปีๆ แต่ไม่ได้เรื่องอะไร  เข้าใจแต่ไม่มีกลวิธีก็ไม่มีผล  เพราะปราศจากการกระทำ  ลำพังแต่ความเข้าใจอย่างเดียวออกจะเลื่อนลอย 
     สรูป  (1.) ต้องเชื่อว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เราต้องทำด้วยตัวเองค้นพบในตัวเอง          
            ( 2.)  ต้องมีกลวิธีและมีความเข้าใจ
             (3.)  ต้องตั้งใจทำตามกลวิธี  แต่ทำอย่างไร้เจตจำนงใดๆ  
             (4.) ต้องเคลื่อนไหวอยู่เสมอ  อย่าอยู่นิ่ง



    ÆÆ ความมหัศจรรย์ในพระธรรมดา ÅÅ
                                                       โดย..... นพ.วัฒนา สุพรหมจักร

                ถ้าท่านทั้งหลาย ได้พบหลวงพ่อเทียน  ก็คงจะมีความเห็นคล้ายกันว่าท่านเป็นหลวงตาที่มีความสงบ  และพูดน้อยเช่นเดียวกับหลวงตาที่พบเห็นทั่วๆไป  แต่ถ้าได้สังเกตตัวท่านบ้างก็จะรู้สึกว่า  ท่ามกลางความสงบนั้น  ท่านมีความตื่นต้ว รู้ตัวเองอยู่ตลอดเวลาและเมื่อมีโอกาสซักถามปัญหาต่างๆ  ก็ได้ประสบกับความมหัศจรรย์ของหลวงตา ผู้ที่เกือบจะเรียกได้ว่าไม่รู้หนังสือ ที่เน้นสอนเรื่องสติอย่างเดียวมาตลอด ได้แสดงออกถึงปัญญาอันหลักแหลม  โดดเด่นในการตอบปัญหา  แทบจะเรียกได้ว่า"เหลือเชื่อสำหรับผู้ที่ไม่เคยผ่านการศึกษาเล่าเรียนในรูปแบบที่เรายอมรับและยกย่องกัน จะสามารถตอบชี้แจงด้วยคำพูดที่ง่าย  กระชับ  เต็มไปด้วยความหมาย เข้าใจได้ชัดเจน  หมดข้อสงสัยใดๆทั้งสิ้น
               ไม่ว่าจะเรียกขานท่านในชื่อใด  สมญานามใดก็ตาม  ไม่ใช่เรื่องสำคัญ  แต่สิ่งที่ท่านสอนหรือตอบนั้น  แม้ในคำถามพื้นๆธรรมดาที่เราสงสัยก็เต็มไปด้วย
คุณค่า  เปรียบได้ดังกับการจุดไม้ขีดไฟให้สว่างในความมืด  ทำให้เห็นหนทางหรือเกิดความสว่างในปัญญา   อันเป็นประโยชน์แก่ผู้ต้องการและแสวงหา ที่อยู่ท่าม กลางความมืด ความไม่รู้  ความสงสัย และความไม่เข้าใจทั้งหลายไม่มากก็น้อย
                   คำตอบและข้อคิดเห็นต่อไปนี้ได้จากคำถามที่ข้าพเจ้า   และคณะแพทย์ผู้รักษาได้ถามท่านในช่วงเวลา 5 ปี สุดท้าย ขอบันทึกไว้เพื่อว่าจะเป็นประ โยชน์บ้าง ทั้งนี้ไม่ได้หวังเื่อยกย่องเชิดชู   หรือชักจูงให้เลื่อมใสโดยปราศจาก
วิจารณญาณไตร่ตรอง ซึ่งเป็นเอกสิทธิของแต่ละบุคคลที่เราพึงเคารพ
                                       1. ศาสนา
          หลวงพ่อกล่าวถึงศาสนาว่า "ศาสนาคือคนเมื่อฟังหรืออ่านแล้วก็ยังไม่เข้าใจ จึงถามท่านว่าศาสนา คือ "คนจริงหรือไม่ ท่านตอบว่า  "ศาสนาเป็นเพียงคำที่เราเรียก คำสอน "คนโดย"คนที่ถือว่าเป็นผู้รู้ ไม่หลายอย่างถ้าจะให้พูดเรื่องศาสนา   จะมีแต่ทำให้เกิดข้อสงสัยและโต้เถียงกันขอไม่พูด  แต่ถ้าอยากรู้ว่าความจริงของชีวิตเป็นอย่างไร  จะเล่าให้ฟัง เมื่อรู้แล้วจะหมดสงสัยในคำว่า  "ศาสนา"
                                  2. ทำไมจึงแสวงหาธรรมะ
    ข้าพเจ้าเคยเรียนถามท่านว่า  ท่านมีความบันดาลใจอย่างไร  จึงแสวงหาธรรมะ
ท่านตอบว่า......ท่านเคยทำบุญทำทานมาตลอด  ทอดกฐินอยู่เสมอ  ครั้งสุดท้ายในงานทอดกฐิน  ท่านได้มีปัญหาในเรื่องที่จะทำบุญกับคนในบ้าน  ท่านจึงคิดว่าทั้งๆ ที่ท่านทำบุญให้ทานก็มากแล้ว  ทำไมจึงยังมีความทุกข์เกิดขึ้นได้อีก  ท่านจึงตัดสินใจที่จะแสวงหาธรรมะที่จะพ้นทุกข์ได้ตั้งแต่บัดนั้น"
                                 3. ธรรมะไม่ใช่เสื้อผ้า
          หลวงพ่อเคยกล่าวว่า ท่านเคยมีความเข้าใจผิดคิดว่า"ธรรมะ"เป็นสิ่งนอกกายเหมือนกับเสื้อผ้าที่จะต้องเสาะแสวงหามาห่อหุ้มสวมใส่  แท้ที่จริงแล้วธรรมะนั้นมีอยู่ในตัวเรานี่เอง
                                  4.การศึกษาธรรมะ
            ท่านเคยกล่าวถึงการศึกษาธรรมะว่า  การศึกษาธรรมะเพียงเพื่อเอาไว้พูด และถกเถียงกันนั้นได้ประโยชน์น้อย  เราต้องนำมาใช้และปฏิบัติให้ถึงที่สุด จะได้ประโยชน์มากกว่า"
                                5.เรื่องของพระอานนท์
            ข้าพเจ้ามีความสงสัยตลอดมาว่า  ทำไมพระอานนท์ จึงไม่ได้เป็นพระอรหันต์   ทั้งๆที่ได้ยินได้ฟ้ง   รู้คำสอนของพระพุทธเจ้ายิ่งกว่าใครๆ
           หลวงพ่อตอบว่า......  "พระอานนท์รู้เรื่อง     พระพุทธเจ้ามากก็จริง  แต่ยังไม่รู้จักตนเอง  เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว ได้เรียนรู้ตนเอง  จึงสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
                            6.หลวงพ่อเทียนสอนแบบฉีกตำรา?
          ข้าพเจ้าได้เรียนถามท่านว่า  คนทั่วไปย่อมยึดถือพระไตรปิฎกเป็นตำราในการศึกษาพุทธศาสนา  แต่เวลาหลวงพ่อสอนไม่ค่อยเห็นพูดถึงเลย  ท่านให้ความเห็นว่า"พระไตรปิฎกนั้นจารึกหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานหลายร้อยปี  และคัดลอกต่อกันมานับพันปี  คนเขียนคงเขียนดีแล้ว แต่คนอ่านจะเข้าใจเหมือนคนเขียนหรือไม่  ยังสงสัย ถ้าจะเอาแต่อ้างตำรา ก็เหมือนกับว่า  เราต้องรับรองคำพูดของคนอื่น  ซึ่งหลวงพ่อไม่แน่ใจ แต่สิ่งที่เล่าให้ฟ้งนั้น  ขอรับรองคำพูดของตัวเอง เพราะจากประสบการณ์จริงๆ"  "ตำราเปรียบเสมือนแผนที่  เหมาะสำหรับผู้ที่ยังไม่รู้ทางไป หรือยังไปไม่ถึงจุดหมายผู้ที่ไปถึงแล้วแผนที่ก็หมดความหมาย พระไตรปิฎกเขียนด้วยภาษาอินเดีย เหมาะสำหรับคนอินเดีย หรือคนเรียนภาษาอินเดียอ่าน  แต่ธรรมะของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่เรื่องผูกขาดของคนใดคนหนึ่ง  เป็นเรื่องอยู่เหนือภาษาเชื้อชาติเพศและเวลาถ้าเรารู้ธรรมะที่แท้จริงแล้วจะต้องรู้และเข้าใจในภาษาของเราได้"      "การศึกษาพระไตรปิฎกนั้นดี  แต่อย่าให้ ติด และ เมา ในตัวหนังสือ  มะม่วงมีชื่อเรียกหลายอย่างหลายภาษา อย่ามัวแต่ถกเถียง ตีความ หรือยึดถือว่าจะต้องเรียกอย่างไร  แล้วปล่อยให้มันเน่า  ใครที่ได้กินมะม่วงก็ย่อมรู้ว่า  รสมะม่วงเป็นอย่างนั้นเอง  ไม่ว่าจะเรียกชื่ออะไร  หรือไม่มีชื่อเลยก็ตาม
                                    7. หลงในความคิด
            หลวงพ่อเคยกล่าวว่า คนเรานั้น คิดอยู่เสมอเหมือนกระแสน้ำ  การหลงติดกับความคิดก็เหมือนการตักน้ำมาเก็บไว้  แต่ถ้ามี สติ รู้เท่าทัน ความคิดนั้นๆ ก็เหมือนกับน้ำที่ไหลมา แล้วก็ไป  การหลงติดในความคิด  ทำให้เกิดทุกข์
                                          8. ทุกข์
              เคยมีคนถามท่านว่า ทุกข์คืออะไร  ท่านได้เอาของใส่มือให้กำไว้  แล้วคว่ำมือและแบมือ  ท่านได้ชี้ไปที่ของซึ่งหล่นจากมือไปสู่พื้นว่า  "นี่คือทุกข์"  ถ้าถามก็เข้าใจทันที่ว่า  ทุกข์เป็นสิ่งสมมติที่เราสร้างขึ้น  และยึดถือไว้  ปล่อยวางไม่ได้  ท่านได้กล่าวถึงผู้ที่เข้าใจโดยเร็วนี้ว่า  "เป็นผู้มีปัญญา"
                                     9. เชือกขาดเป็นอย่างไร
             เมื่อได้อ่านประสบการณ์ของท่านที่กล่าวว่า  ในช่วงสุดท้ายมีความรู้สึกเหมือนเชือกขาด จากนั้น เข้าใจได้ยาก  ท่านได้อธิบายเพิ่มเติมว่า
            คำพูดเป็นเพียงการสมมติว่าสิ่งนั้นๆ หมายถึงอะไร มันไม่มีคำพูดที่จะอธิบายภาวะดังกล่าว ถ้าเราเอาสีขาวกับสีดำซึ่งห่างกันเพียง เซนติเมตร  ค่อยๆผสมให้กลืนกัน ตรงกลางเราเรียกว่าสีเทาใช่ไหม  แต่ถ้าหากสองสีนี้ห่างกัน 10 เมตร แล้วให้สีทั้งสองค่อยๆกลืนกัน  จะให้อธิบายว่าจุดๆหนึ่งระหว่างนั้นเรียกว่าสีอะไร มันไม่มีคำพูดจะกล่าวให้เข้าใจ ต้องรู้เห็นเอง เคยเห็นเมฆหน้าฝนไหม  มองดูคล้ายเป็นรูปเงาต่างๆ  แต่ถ้าเรานั่งเครื่องบินเข้าไปอยู่ในก้อนเมฆนั้นๆ เราไม่
เห็นก่อนเข้ามาดอก  ภาวะดังกล่าวไม่มีคำพูดที่จะอธิบาย  มันอยู่เหนือตัวหนังสือ
การประมาณคาดคะเน หรือเข้าใจไปเองว่าจะเป็นอย่างนี้  ต้องรู้เองเห็นเอง"
                               10.  ปัญหาปลีกย่อย
 หลวงพ่อเคยเล่าให้ฟ้งว่า  คนจำนวนไม่น้อยที่มาหาท่านแล้วถามแต่ปัญหาปลีกย่อย เช่น ทำบุญเช่นนี้ได้บุญแค่ไหน  ชาติหน้ามีจริงหรือไม่...ฯลฯ  มีน้อยครั้งที่จะมีคนถามว่า  พุทธศาสนาสอนอย่างไร  จะเอาไปใช้ได้อย่างไร  หรือที่จะทำให้ทุกข์น้อยลง ควรทำอย่างไร  ครั้นจะให้หลวงพ่อถามเองตอบเอง  ก็ดูกะไรอยู่
                                   11. จริง สมมติ
           ท่านกล่าวว่า คนมีอายุยืน มีความจำและความคิดมากว่าสัตว์ ครั้นอยู่กันเป็นหมู่มาก จำเป็นต้องตั้ง หรือสมมติกฎเกณฑ์ขึ้นมา  เพื่อให้มีความสงบสุขในสังคม   เมื่อเวลาผ่านไป  คนรุ่นหลังย่อมหลง  ยึดว่าสิ่งสมมตินั้นเป็นความจริง เมื่อมีคนบอกว่าสิ่งที่เราว่าจริงนั้น  แท้จริงแล้วมันเป็นสิ่งสมมติ  คนส่วนใหญ่จะไม่เชื่อ ซึ่งก็เป็นธรรมดา"ที่เรียกว่าเงินนั้น  ที่จริงแล้วเป็นกระดาษ  เมื่อใช้แล้วมีคนยอมรับจึงมีค่า ถ้าไม่ยอมรับก็เป็นกระดาษ  ในสังคมปัจจุบัน เราใช้เงินเป็นตัวกลางเพื่อแลกเปลี่ยน  ชีวิตในครอบครัวใดไม่มีเงิน  จะอยู่ได้ด้วยความเดือดร้อน  เงินชื้อความสะดวกและความพอใจได้  แต่ชื้อความหมดทุกข์ไม่ได้
                                    12. การปฏิบัติธรรม    
          เคยถามท่านว่าทำไมการสอน และการปฏิบัติธรรม จึงมีความแตกต่างกัน
ไปตามสำนักต่างๆ ทั้งๆที่มีพระพุทธเจ้าองค์เดียวกัน  ท่านตอบว่า
       "เรื่องนี้เป็นธรรมดา  แม้ในสมัยพุทธกาลก็มีคนกล่าวว่ามีตั้ง 108 สำนัก แต่ละแห่งก็ต้องว่าของตัวถูกต้อง อีก 107 แห่งเป็นมิจฉาทิฏฐิ ตัวเราเองจะต้องเป็นคนไตร่ตรองพิจารณาเอง การที่เป็นคนเชื่อง่าย หรือเป็นคนเชื่อยาก ไม่ฟังคนอื่น 
ต่างก็ไม่ดีทั้งนั้น ถ้าการปฏิบัติดังกล่าวทำให้ทุกข์หมดไป  ถือว่าใช้ได้  สำหรับเรื่องธรรมะนั้น  คนที่รู้ธรรมะที่แท้จริง จะต้องรู้อย่างเดียวกัน  เมื่อมีคนถามถึงการปฏิบัติธรรมะในรูปแบบอื่นๆ ว่าดีหรือไม่ท่านกล่าวว่า "ดีของเขา ไม่ใช่ดีของเรา"
                               13. วิปัสสนาแล้วเป็นบ้า
               ได้เรียนถามท่านว่า การนั่งวิปัสสนาทำให้คนเป็นบ้า ตามที่มีจิตแพทย์
บางคนกล่าว จริงหรือ ท่านตอบว่า
               คนที่ไม่รู้จักจิตใจตัวเองนั้นแหละคือคนบ้า  การนั่งวิปัสสนา เป็นการ
ศึกษาให้รู้จักจิตใจตัวเอง ถ้านั่งแล้วเป็นบ้า  ไม่ใช่วิปัสสนา"
                                      14.  นิพพาน
            ท่านเคยเล่าให้ฟ้งว่า  เคยถามโยมผู้ที่เคยอธิษฐานหลังการทำบุญว่าขอให้อานิสงส์ การทำบุญทำให้เขาเข้าถึงนิพพานในอนาคตกาลด้วยนั้นว่า ท่านถามว่า"โยมเข้าใจว่าจะไปถึงนิพพานเมื่อใด"ชาวบ้านตอบว่า"เมื่อตายไปแล้วท่านถามว่า"อยากไปถึงนิพพานจริงๆหรือ"
             ชาวบ้านตอบว่า "อยากไปจริงๆ"  ท่านจึงพูดว่าถ้าเช่นนั้นโยมควรตายเร็วๆ   จะได้ถึงนิพพานไวๆ     ชาวบ้านตอบด้วยความงงว่า "ยังไม่อยากตาย"
ท่านจึงชี้แจงให้ฟ้งว่า" ........  
             นิพพานก็อยากไป แต่ทำไมไม่อยากตายเร็ว นี่โยมเข้าใจผิดแล้ว  พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนให้คนไปนิพพานเมื่อตายแล้ว  แต่สอนคนเป็นๆให้ไปถึงนิพพานขณะที่มีชีวิตอยู่"
                                       15. ทำไมจึงบวช
              ตามที่ทราบ  ท่านได้รู้ธรรมะตั้งแต่เป็นฆราวาส  ทำไมท่านจึงบวช  ท่านตอบว่า  "พระภิกษุเป็นสมมติสงฆ์  การบวชทำให้สอนคนได้ง่ายขึ้น"
                                      16. หินทับหญ้า
                 ข้าพเจ้าเคยถามเรื่องการนั่งสมาธิหรือกรรมฐานว่าเป็นอย่างไร 
ท่านตอบว่า........... "การนั่งสมาธิมีมาก่อนสมัยพุทธกาล  ทำให้เกิดความสงบชั่วคราว  เมื่อออกมาจากสมาธิก็ยังมีความโลภโกรธหลงอยู่  จิตใจไม่เปลี่ยน เปรียบเหมือนกับหินทับหญ้า  แม้หญ้าจะฝ่อลง เมื่อหญ้าต้องแสงอาทิตย์ หญ้าก็งอกขึ้นมาอีก  ต่างกับวิปัสสนาที่ทำให้เกิดปัญญา  จิตใจเปลี่ยนแปลงดีขึ้น"
                                     17. พระเวสสันดร
              เคยเรียนถามว่าเรื่องพระเวสสันดร  ซึ่งเป็นตัวอย่างทานบารมี   แต่ดู
คล้ายกับว่าเป็นคนไม่รับผิดชอบ ต่อบุตรภรรยา  การให้ทานเช่นนี้ทำให้เป็นพระพุทธเจ้าจริงหรือ  ท่านตอบว่า "เรื่องพระเวสสันดรเป็นเรื่องเล่าต่อกันมา ถ้าเราคิดว่าจริง เราควรบริจาคทานภรรยา และลูกของเราเองให้แก่กรรมกร หรือชาวนาไปช่วยเขาทำงานแล้วเราก็จะได้เป็นพระพุทธเจ้า  ถ้าจะเปรียบเทียบใหม่ว่า  สิ่งที่ติดตัวเรา  ผูกพันเหมือนบุตรภรรยาก็คือ  ความโลภความโกรธ และความหลง  เรา
บริจาค หรือทานสิ่งนี้ไปเสีย จะพอเข้าใจได้ไหม"
                                      18. การเชื่อ
         หลวงพ่อได้กล่าวอยู่เสมอว่า  เราไม่ควรด่วนเชื่อทันที และไม่ควรปฏิเสธทันทีเช่นกัน  ควรพิจารณาไตร่ตรองให้ดี  หรือทดลองเสียก่อน จึงจะเชื่อได้หรือไม่เชื่อ  ในพุทธประวัติก็มีตัวอย่าง เช่น องคุลีมาลเป็นคนที่เชื่อง่าย  อาจารย์สั่งให้ฆ่าคนตั้งมากมายก็ยังทำ  หรือเมื่อปริพาชกพบพระพุทธเจ้า  ทั้งๆที่พระองค์มีลักษณะน่าเลื่อมใส  แต่ก็ไม่เชื่อว่าพระองค์ตรัสรู้ได้ด้วยตัวเอง  จึงหลีกไปไม่มีโอกาสได้ศึกษาจากพระพุทธเจ้า,
                                    19. ผู้ที่เข้าใจท่านพูด
               เคยถามท่านถึงจำนวนผู้ที่เข้าใจ  หลังจากที่ได้แสดงธรรม  หรืออบรมว่ามีสักเท่าใด ท่านว่า   "คงจะได้สัก10-15% เรื่องนี้เป็นธรรมดา  คนที่พร้อมจึงจะเข้าใจได้ คนส่วนใหญ่ติดการทำบุญ   
                              20.  คนรักษาศีล หรือ ศีลรักษาคน
                 ทำไมจึงต้องคอยรักษาศีล  เหมือนรักษาแก้วไม่ให้มันแตก ทำไมเราจึง
ไม่ประพฤติปฏิบัติตัวให้มีศีลเล่า  ศีลจะได้รักษา  แล้วจะได้ไม่ห่วงคอยรักษาศีล
                                           21. บุญ
             เมื่อข้าพเจ้าถามท่านว่า  "ทำบุญได้บุญจริงหรือท่านได้ถามว่า "เข้าใจว่าบุญเป็นอย่างไร"  เมื่อเรียนให้ท่านทราบว่า  บุญนั้นเข้าใจว่าเป็นผลดี  ตอบแทนเมื่อเราตายไปแล้ว  ท่านถามว่า  "เคยฟ้งพระสวดอานิสงส์การทอดกฐินหรือไม่  ที่ว่าจะได้วิมานและนางฟ้าเป็นบริวารห้าร้อยองค์  หรือพันองค์ จงคิดดูว่าวัดในเมืองไทยมีกี่วัด  ถ้ามีการทอดกฐินทุกวัด  ทุกปีจะไปหานางฟ้าที่ไหนมาให้จึงจะพอ  เราคิดว่าพระเป็นเสมือนพนักงานธนาคาร  ที่คอยคิดดอกเบี้ยให้เวลาตายอย่างนั้นหรือข้าพเจ้าได้ถามท่านต่อว่า ถ้าเช่นนั้นการทำบุญด้วยวัตถุอย่างที่เป็นอยู่ทั่วไปนั้น  ท่านเห็นเป็นอย่างไร ท่านตอบว่า 
      "การทำบุญด้วยวัตถุก็เป็นสิ่งที่ดี แต่เป็นเพียงข้าวเปลือกเอาไว้ทำพันธุ์  ถ้าเราจะกินให้ได้ประโยชน์  ต้องกินข้าวหุงหรือข้าวนึ่งสุก  ไม่ใช่ข้าวสาร หรือข้าวเปลือกการหลงติดอยู่กับการทำบุญด้วยวัตถุอย่างงมงาย  เป็นความหลงที่อยู่ในความมืดที่เป็นสีขาว"
                   "บุญเหนือบุญก็คือ  การรู้จักตัวเอง ไม่มีทุกข์นี้แหละ"
                                    22.  หนา
               ข้าพเจ้าเคยนิมนต์ท่านให้ไปสอนผู้ที่เคารพนับถือท่านหนึ่ง  ที่ติดและเลื่อมในในการทำบุญตามประเพณีมาก เมื่อได้ถามท่านหลังจากที่ท่านกลับมาแล้ว  ท่านตอบว่า "โยมคนนี้เป็นคนหนา  เราเคยอ่านพุทธประวัติหรือไม่  เมือพระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ๆ  ก่อนที่จะไปโปรดปัญจวัคคีย์  พระองค์ได้ระลึกถึงอุทกดาบสและอาฬารดาบส แต่แล้วก็ทราบว่าท่านทั้งสองได้ตายเสียแล้ว หลวงพ่อสงสัยว่าพึ่งจากกันไม่นาน จะตายทางร่างกายหรือไม่นั้น ยังสงสัย  แต่ที่ตายแน่ๆ คือความคิด
                                  23. สมณศักดิ์
               เคยถามท่านว่าสมัยพระพุทธเจ้าไม่มีสมณศักดิ์  แต่ทำไมปัจจุบันในเมืองไทยจึงมีมากนัก ดีหรือไม่ดี  ท่านตอบว่า  "สมณศักดิ์เป็นเรื่องของสังคม  จะเรียกว่าดีก็ได้  หรือไม่ดีก็ได้  แต่เราอยู่ในสังคมของเขา"
                          24. การศึกษาทำให้คน ดีชั่วจริงหรือไม่?
              เคยถามว่า  ทำไมผู้ที่เคยบวชเรียนมามาก  บางคนเมื่อสึกไปแล้ว กลับประพฤติตัวเหลวไหล  ยิ่งกว่าชาวบ้านที่ไม่เคยบวชเรียนเลย  หลวงพ่อตอบว่า
               "คนเหล่านั้นเรียนแต่ตัวหนังสือ  ไม่เคยเรียนรู้ตัวเอง"
                                   25. กราบผ้าเหลือง
               ข้าพเจ้าเคยกล่าวกับท่านว่า  เราเองไม่ทราบว่าพระองค์ไหนจะเป็นพระแท้หรือเป็นเพียงกาฝากของศาสนา  เพียงเห็นผู้ที่โกนศีรษะห่มผ้าเหลืองก็กราบแล้ว ท่านให้ความเห็นว่า  "ถ้าหากจะกราบเพียงผ้าเหลือง  เวลาผ่านไปแถวเสาชิงช้า  มิต้องกราบตามร้านที่ขายเครื่องพระ  ตั้งแต่หัวถนนจดท้ายถนนหรือ"
                                          26. มงคล
            ท่านเคยเล่าให้ฟังว่า  ท่านเคยถูกนิมนต์ไปเพื่อสวดมงคลในร้านหลังหนึ่ง  ท่านขอร้องให้เอากาละมังขนาดใหญ่ใส่น้ำ  เพื่อจะทำน้ำมนต์แทนบาตร  หลังจากท่านได้ทำให้แล้ว  ท่านกลับเอาน้ำมนต์ในกาละมังสาดไปทั่วบ้านแล้วบอกว่า
             "ช่วยกันเก็บช่วยกันถู  อันนี้แหละเป็นมงคล  การที่เราใช้น้ำมนต์ปะพรมตัวเราอาจจะแพ้ลูกไม้ใบหญ้าที่ใส่ไว้ในน้ำมนต์  มีอาการผื่นคันขึ้นมาต้องเปลืองเงินทองชื้อหยูกยารักษาอีก แล้วมันจะเป็นมงคลได้อย่างไร"
                                     27. บังสุกุล
           เคยถามท่านว่า "เวลาเราบังสุกุลให้ผู้ตาย  เขาได้หรือไม่ท่านตอบว่า "การบังสุกุลเป็นเพียงประเพณีที่คนอยู่ทำขึ้น  เนื่องจากยังห่วงใยในคนที่ตายไป  แล้วที่ว่าคนตายจะได้หรือไม่  ยังสงสัย แต่ผู้ที่ได้แน่ๆ คือพระ เราคิดว่าพระทำหน้าที่แทนบุรุษไปรษณีย์ได้หรือ ?"
                                   28. พระกราบโยม                
              ท่านเคยเล่าให้ฟังว่า  เมื่อท่านไปประเทศลาว  ได้รับนิมนต์สวดต่ออายุให้แม่ของชาวบ้านหลวงพ่อไม่สวด   เจ้าภาพเขาจึงไม่ถวายจตุปัจจัย   หลวงพ่อได้ชี้แจงเรื่องการต่ออายุพ่อแม่ว่า  ต้องกระทำดีต่อพ่อแม่  ไม่ใช่เพียงแต่มีการสวดมนต์  แล้วหวังจะให้พ่อแม่มีอายุยืน และได้พาลูกๆ กราบพ่อแม่เป็นครั้งแรกตามท่าน  ชาวบ้านที่อยู่ในเหตุการณ์ก็ฮือฮากันว่าผิดประเพณี  ไม่เคยเห็นพระกราบโยม  ซึ่งหลวงพ่อกล่าวว่า        ที่อาตมาพาลูกกราบแม่ตามอาตมานั้น  อาตมาไม่ได้กราบโยม แต่อาตมากราบตัวเองที่สามารถสั่งสอนคนให้เข้าใจได้ว่า  การต่ออายุที่แท้จริงนั้นเป็นอย่างไร"  
                                    29.  ศาลพระภูมิ
                เมื่อข้าพเจ้าได้ถามถึงเรื่องเจ้าที่  ศาลพระภูมิว่ามีอิทธิฤทธิ์ให้คุณให้โทษแก่เจ้าของบ้าน  จริงหรือไม่ ท่านตอบว่า
              "จงคิดดู  ถ้าเจ้าที่นั้น มีอิทธิฤทธิ์จริงแล้ว  ทำไมจึงไม่เนรมิตบ้านอยู่
เอง  เนรมิตอาหารกินเอง  ทำไมจึงต้องคอยให้คนสร้างให้  หรือคอยอาหารเซ่นไหว้ซึ่งน้อยนิดเดียว จะกินอิ่มหรือ"
                                     30.  พระเครื่อง
               ก่อนที่จะทราบว่าท่านเป็นใคร  ข้าพเจ้าได้พบท่านในขณะที่ข้าพเจ้าได้สนใจพระเครื่องเป็นอย่างยิ่ง  ได้เอาพระนางพญาพิษณุโลกมาอวด  เพื่อที่จะได้ถือโอกาสขอพระเครื่องจากท่าน โดยอวดว่า  พระนางพญาพิษณุโลกนี้เป็นพระเครื่องที่เก่าแก่ สร้างมาตั้ง 700 ปีแล้ว  ท่านถามว่า  "พระองค์นี้ทำจากอะไร"  เมื่อข้าพเจ้าตอบว่า  ทำจากเนื้อดินเผา แกร่ง สีเนื้อมะขามเปียกมีแร่ต่างๆปรากฎอยู่เต็ม  ท่านตอบด้วยความสงบว่า  "ดินนั้นเกิดมาพร้อมกันตั้งแต่สร้างโลก  พระองค์นี้ ไม่ได้เก่าแก่ไปกว่าดินที่เราเหยียบก่อนเข้ามาในบ้านนี้หรอก"
เพียงประโยคเดียวที่ทำให้ข้าพเจ้าถอดพระเครื่อง  ออกจากตนได้อย่างมั่นใจที่สุด
                มีคนถามท่านว่าแขวนพระดีหรือไม่  ท่านตอบว่า "ดี แต่มีสิ่งที่ดีกว่าแขวนพระ จะเอาไหม"    ในโอกาสหนึ่งมีคนถามเรื่องเครื่องรางของขลังของเขาว่า  มีอานุภาพตามที่เล่าลือหรือไม่   ท่านถามว่า   "คนทำตายหรือยัง"   เมื่อตอบว่าคนที่ทำได้ตายแล้ว  เพราะเป็นของมรดกตกทอดกันมา  ท่านตอบว่า "คนที่ทำยังตายเลย  แล้วเราจะหวังสิ่งนี้ ช่วยไม่ให้เราตายได้อย่างไร"   
                                     31. บวช-สึก           
                เมื่อข้าพเจ้าได้ผ่าตัดกระเพาะอาหารท่านออกเกือบหมด  และได้แนะนำให้ท่านฉันอาหารจำนวนน้อยแต่บ่อยๆ ท่านเคยปรารภว่า
                "ท่านปฏิบัติเช่นนี้ วินัยหย่อน จะมีคำครหาได้  อยากไปขอสึก เพราะ
 ท่านจะเป็นพระ หรือไม่ ก็ไม่ต่างกัน จิตใจของท่านไม่เปลี่ยนแปลงแล้ว"
                                32.  รู้จักหลวงพ่อเทียนไหม ?
           ท่านเคยเล่าให้ฟ้ง เมื่อตอนที่ท่านกำลังคอยรับการฉายรังสีที่โรงพยาบาล
 รามาธิบดี มีคนถามท่านว่า "หลวงพ่อรู้จักหลวงพ่อเทียนไหม"  ท่านตอบว่า "พอรู้จักบ้างหลังจากที่ได้พูดคุยเรื่องธรรมะกับท่านแล้ว  คนนั้นก็สงสัยจึงถามอีกว่า "ท่านคือ หลวงพ่อเทียนใช่ไหมหลวงพ่อจึงตอบว่า "ใช่"
                                    33. เรื่องของพระพุทธเจ้า
             เคยมีการกล่าวถึงปัญหาพระบรมสารีริกธาตุว่าเป็นแก้วผลึก หรือเป็นเพียงกระดูกที่ไฟเผา  เมื่อได้ขอความเห็นท่านกลับตอบว่า     "เรื่องของพระพุทธเจ้าไม่ใช่เรื่องของเรา  เรื่องของเราไม่ใช่เรื่องของพระพุทธเจ้า   แต่พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เรารู้จักเรื่องของเราเมื่อรู้ตัวเองดีแล้ว   ถึงพระพุทธเจ้าจะเสร็จมาหรือไม่ก็ไม่เป็นปัญหา"
                                      34. อริยบุคคล
                หลวงพ่อกล่าวว่า  "ในทางร่างกายอริยบุคคลกับคนธรรมดานั้นไม่ต่างกันมีแต่เรื่องจิตใจเท่านั้นที่อริยบุคคลดีกว่า  เหนือกว่าบุคคลธรรมดา"  
                                     35. ตามใจคนอื่น
        เคยถามหลวงพ่อว่า  คนเดี๋ยวนี้มีการศึกษาก็มาก  แต่ทำไมจึงยังแก้ทุกข์ไม่ได้  ท่านตอบว่า  "คนส่วนใหญ่ทำตามใจคนอื่น  ไม่ทำตามใจตัวเองจึงเป็นเช่นนี้"
                             36. คนตายทำประโยชน์ได้น้อย
        ท่านได้พูดถึงการศึกษาปฏิบัติธรรมะว่า  ควรทำตอนชาตินี้  ไม่ควรคอยตอนตายแล้ว   "คนตายแล้วทำประโยชน์ได้น้อย คนเป็นทำประโยชน์ได้มากกว่า"
                                 37. การไม่กินเนื้อสัตว์
                   เคยเรียนถามท่านว่า  การไม่กินเนื้อสัตว์ทำไห้การปฏิบัติธรรมะดีขึ้น หรือไม่  ท่านตอบว่า   "การที่จะรู้หรือปฏิบัติธรรมะ  ไม่ได้ขึ้นกับการกินอะไร  หรือไม่กินอะไร ดูอย่างเจ้าชายสิทธัตถะ  ซึ่งอย่าว่าแค่เนื้อเลย  แม้การนั่งอดข้าวอดน้ำจนเกือบตายก็ยังไม่รู้ธรรมะ  เรื่องนี้เป็นเรื่องของปัญญา   
                                       38. ติดสมาธิ
                  ท่านเคยกล่าวเตือนว่า  "การที่ติดอยู่กับรูปแบบของสมาธิ จะเป็นวิธีใดก็ตาม  เหมือนกับการนั่งเรือข้ามฟาก   แล้วไม่ยอมขึ้นจากเรือ   ทั้งๆที่เรือถึงฝั่งตรงกันข้ามแล้ว  เพราะยังหลงสนใจในตัวเรือ  เครื่องเรืออยู่"
                                       39.  ทำดี ทำชั่ว
                เคยถามท่านว่า มีคนสงสัย ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว จริงหรือไม่  ท่านให้
ความเห็นว่า  ดีชั่ว เป็นเรื่องของสังคมกำหนด ดีในที่หนึ่ง  อาจจะเป็นชั่วอีกที่หนึ่ง
   เราควรพูดให้เข้าใจใหม่ว่า   "ทำดีมันดี  ทำชั่วมันชั่ว"
                                        40. นักศึกษา
                หลวงพ่อเคยเปรียบเทียบว่า  คนที่ได้รับการศึกษานั้นมี  จำพวก
  พวกแรกเป็นผู้ที่รู้แจ้ง  หรือรู้จริง เป็นบัณฑิต พูดแล้วเข้าใจได้เลย  อีกพวกหนึ่งเป็นเพียงผู้รู้จักและรู้จำ  ซึ่งเวลาพูดจะพูดมาก  คำพูดอ้อมค้อม  ฟุ่มเฟือย หรือไม่ก็อ้างตำรามากมาย เพื่อชักจูงให้คนเชื่อ    ทั้งนี้เพราะตัวเองไม่รู้จริง
                         
                               41. อดีต ปัจจุบัน อนาคต
                    ท่านกล่าวอยู่เสมอว่า  อดีตผ่านไปแล้วแก้ไขไม่ได้  อนาคตก็ยังมาไม่ถึง มีแต่ปัจจุบันนี้  ที่เรายังทำอะไรได้ ถ้าทำดีวันนี้ วันนี้ก็จะเป็นอดีตที่ดีของวันพรุ่งนี้ วันพรุ่งนี้ก็จะเป็นอนาคตที่ดีของวันนี้ที่ทำดีแล้ว  จะไปห่วงอะไรกับสิ่งที่แก้ไขไม่ได้  และสิ่งที่ยังมาไม่ถึงที่แก้ทุกข์ในปัจจุบันนี้ไม่ได้

                                        42.  อธิษฐาน
              ข้าพเจ้าเคยถามท่านว่า  ตอนพระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ๆ  หลังจากได้ฉันอาหารของนางสุชาดาแล้วได้ลอยถาด  ปรากฏว่าลอยทวนกระแสน้ำ  ซึ่งดูผิดธรรมชาติท่านมีความเห็นเป็นอย่างไร  ท่านชี้แจงว่า  "ของทุกอย่างย่อมลอยตามกระแสน้ำ  เรื่องนี้เป็นการทวนกระแสความคิดที่มีอู่  และเป็นอยู่   ถ้าเราคิดย้อนกลับขึ้นไปบ้าง  ก็จะรู้ความจริงว่าเป็นอย่างไร"
                                    43. ทำงานอย่างมีสติ
              หลวงพ่อกล่าวอยู่เสมอว่า  "คนเรามีหน้าที่  ที่จะต้องทำในสังคมที่ตนอยู่  เป็นธรรมดาการปฏิบัติหน้าที่ โดยมีสติจะได้ผลงานที่สมบูรณ์"
                                      44.  แสงตะเกียง
              ในระยะหลังๆ ที่หลวงพ่อสุขภาพไม่ค่อยดี  ภรรยาของข้าพเจ้าได้ปรารภกับท่านด้วยความเป็นห่วงเรื่องการสอนธรรมะ  หลังจากที่ท่านจากไปแล้วว่าจะเป็นอย่างไร  ท่านตอบว่า   "เรื่องนี้อย่าเป็นห่วงเลย   ตราบใดที่ยังมีคนอยู่ก็จะมีคนรู้ธรรมะเกิดขึ้นเป็นคราว  เพราะธรรมะไม่ใช่  เรื่องผูกขาดเป็นของส่วนตัว  ธรรมะมีมาก่อนสมัยพุทธกาล  แต่พระพุทธเจ้าเป็นคนแรก  ที่ทรงนำมาสอนและเผยแพร่  คนที่รู้ธรรมะนั้น  เปรียบได้เหมือนกับตะเกียงที่จุดสว่างขึ้นในความมืด  คนที่อยู่ใกล้จะเห็นชัด  คนที่อยู่ไกลก็เห็นชัดน้อยลง   สักพักหนึ่งตะเกียงจะดับไปและจะมีการจุดตะเกียงให้สว่างขึ้นอีกเป็นครั้งคราว"
                                      45. เรียนกันใคร
               ในการเข้ารักษาตัวครั้งสุดท้ายที่โรงพยาบาลสมิติเวช  ท่านปรารภว่าการเจ็บป่วยคราวนี้เป็นเรื่องที่หนัก    ท่านเองก็ได้แต่เฝ้าดูลมหายใจ  ของตนเองว่าจะหยุดเมื่อใด  ข้าพเจ้าจึงได้ถามตรงๆ  ว่าเมื่อสิ้นหลวงพ่อแล้วจะแนะนำให้ศึกษาธรรมะกับใคร  จึงจะได้ผลดีที่สุด ท่านตอบว่า
             "จงศึกษาธรรมะจากตัวเอง  ดูจิตใจตัวเองดีที่สุด"
  ÉÉÉÉÉÉÉ   [[[[[[[[[[[     ÊÊÊÊÊÊÊ
  ถ้อยแถลงท้ายเล่ม
            กลุ่มหรือสายงานการเจริญสติแบบเคลื่อนไหว  ได้เกิดขึ้นจากการรวมตัวของพระสงฆ์  และญาติธรรม   ที่มีการปฏิบัติธรรมเจริญสติแบบเคลื่อนไหว  ตามแนวของหลวงพ่อเทียน  จิตฺตสุโภ   ตั้งแต่สมัยท่านยังมีชีวิตอยู่  แต่ขณะนี้ท่านมรณะภาพไปเสียแล้ว ตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน พ..2531 ที่เกาะพุทธธรรมทับมิ่งขวัญ  จังหวัดเลย แม้ว่าตัวท่านจะมรณะภาพไป  แต่หลักธรรมคำสั่งสอนของท่านก็ยังเป็นอมตะ  เพราะบุคคลทั่วไปก็สามารถปฏิบัติได้  และได้รับผลนั้นด้วยตัวเอง โดยไม่จำกัดเพศ วัยเชื้อชาติ  พูดง่ายๆคือเป็นสูตรสำเร็จ  เพียงแต่ทำตามอย่างที่ท่านบอกแล้วผลคือความรู้แจ้งเห็นจริง  และหายสงสัยจะมีมาเอง  จึงมีความสมบูรณ์มากในการแสวงหาทางออก ทางดับทุกข์ให้กับตัวเอง  เพราะหลักการปฏิบัติแบบนี้  เป็นการเคลื่อนไหวไม่ต้องหลับตาแล้วกำหนดความรู้สึกตัว ถ้าเราจับหลักการได้แล้วจะปฏิบัติอยู่ที่ไหนก็ได้   จึงเป็นวิธีการที่นำไปประยุกต์ใช่กับชีวิตประจำวันของเราได้ง่าย  และทุกคนสามารถพิสูจน์ได้ 
              เพราะฉะนั้นวิธีการปฏิบัติแบบนี้จึงนับวันแต่จะแพร่หลาย  เพราะเป็นของจริง  ที่พิสูจน์ได้และรับรองตนเองได้  ปัจจุบันจึงมีสำนักสาขาที่ศิษยานุศิษย์และบุคคลผู้ที่สนใจนำไปเผยแผ่มากมาย  ทั้งในและต่างประเทศ  
              ท่านผู้ที่สนใจและอยากปฏิบัติหรืออยากทราบรายละเอียดก็สามารถติดต่อสอบถามได้ตามสำนักต่างๆทั้งใหม่และเก่า    ดังนี้.-
               ชื่อที่อยู่ของสำนัก                                     ผู้ดูแลสำนัก
วัดโพนทอง บ้านหนองแก ต.หนองไผ่ อ.แก้งครัอ  .ชัยภูมิ  หลวงพ่อบุญธรรม  อุตฺตมธมฺโม 
วัดสนามใน    .วัดชลอ   .บางกรวย   .นนทบุรี            หลวงพ่อทอง    อาภากโร        
วัดภูเขาธรรม บ้านท่ามะไฟ  .ท่ามะไฟ  .แก้งครัอ จ.ชัยภูมิ   หลวงพ่อคำเขียน สุวณฺโณ   
วัดอุทุมพร  บ้านท่ามะเดื่อ  .ท่ากระเสริม  .น้ำพอง จ.ขอนแก่น  หลวงพ่อสงัด  ปณฺทิโต           
วัดป่าสันติสุข บ้านปากชม ต.ปากชม อ.ปากชม  .เลย 42150   พระ อ.สมศักดิ์    สุรวโร        
วัดป่าเขาคงคา บ้านโนนระเวียง ต.โคกกระทราย อ.ครบุรี จ.ราชสีมา พระ อ.วิมล  จตฺตมโล         
วัดป่าอกาลิโก  บ้านห้วย ต.หนหองโดน  .จัตุรัส  .ชัยภูมิ    หลวงพ่อจรัญ  จรณสมฺปนฺโน    
อาศรมแพร่แสงเทียน หมู่ 1.แม่ยางฮ่อ  .ร้องกวาง จ.แพร่  พระอ.มหาดิเรก พุทธยานนฺโท
วัดธาตุโข่ง บ้านหนองหาน   .หนองหาน  อุดรธานี          พระอาจารย์ดา  สมฺมาคโต
วัดป่าช้าแกดำ  บ้านแกดำ  .แกดำ  .แกดำ จ.มหาสารคาม    พระอ.สงคราม  ธมฺมวโร 
วัดป่าบ้านหนองคู  หนองกุง  .นาเชือก จมหาสารคาม  หลวงพ่อมหาไหล  โฆษโก
วัดป่าชัยมงคล บ้านหนองกุง ต.หนองกุงธนสาร อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่นพระอ.นิวร ฐาญาโณ
วัดชัยชุมพล บ้านโคกสูง ต.บ้านแจ้ง อ.แก้งคร้อจ.ชัยภูมิ 36150 หลวงพ่อสมหมาย ธมฺมปาโล
วัดโมกขวนาราม บ้านหัวทุ่ง-คำไฮ ต.บ้านเป็ด อ.เมือง จ.ขอนแก่น พระอเอนก เตชธมฺโม 
สำนักเกาะทับมิ่งขวัญ  บ้านติ้ว ต.กุดป่อง อ.เมือง จ.เลย  42000  พระอาจารย์คำไม  ฐิตสีโล   
สำนักสวนพุทธธรรม  .ปากน้ำ  .แหลมสิงห์  .จันทบุรี      พระมหาสุพรม ปญฺญาวุฒโฑ
วัดป่าสุคโต  บ้านใหม่ไทยเจริญ  .ท่ามะไฟ อ.แก้งคร้อ  .ชัยภูมิ  พระอ.ไพศาล วิสาโล
วัดราษี  บ้านกุดน้ำใสต.กุดน้ำใส  .จัตุรัส จ.ชัยภูมิ  36130      พระครูจันทโพธานุวัตร
วัดพระยาภักดีชุมพล บ้านคลองลี่ ต.รอบเมือง อ.เมือง  .ชัยภูมิ   พระอ.สุรพล  ฐิตพโล
วัดพระธาตุ บ้านหนองดินดำ ต.หนองดินดำ อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ    พระอ.ทองลี จนฺทสุวณฺโน        
วัดป่าช้าบ้านเหล่าขาม  .สีแก้ว อ.เมือง  .รัอยเอ็ด   45000     หลวงพ่อเกร็ด  ธมฺมโยธี        
วัดป่าศรีอู่ทอง บ้านห้วยยาง ต.ห้วยยาง อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ    พระอ.ทองแดง  ธมฺมโฆษโก         
วัดป่าช้าบ้านนางแดด   .นางแดด  .หนองบัวแดง  .ชัยภูมิ     หลวงพ่อทอง  ถาวโร    
วัดศรีบุรพา  บ้านหนองแสง ต.พระลับ  .เมือง  .ขอนแก่น   หลวงพ่อบุญถม  อินทวงฺโส
;วัดเวฬุวัน  บ้านพระเพลิง ต.พระเพลิง  .เขาฉกรรจ์  .สระแก้ว พระอาจารย์อุทัย  อุทโย    
วัดป่าช้าบ้านแจแลน ต.แจแลน  .กุฉินารายณ์  .กาฬสินธุ์      พระอาจารย์นิเพ็ญ  อมโร           
วัดบ้านหนองสัง หมู่ 6 บ้านหนองสัง  .ในเมือง อ.เมือง จ.ชัยภูมิ พระอาจารย์มหาสมวงศ์                
วัดคอกม้า บ้านโพนสวรรค์ ต.สระใคร  .สระใคร จ.หนองคาย    หลวงพ่อต่วน  สุภทฺโท
วัดศรีสุมังคลาราม  .หนองบัวแดง อ.หนองบัวแดง  .ชัยภูมิ  พระอ.สุวิทย์  ญาณสมฺปนฺโน 
วัดป่าระฆังทอง บ้านบ่อศิลา ต.บ้านจันทร์ อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี    หลวงพ่อบุญเต็ม  อุทาโน         
วัดชัยชุมพร  บ้านโปร่ง ต.หนองไผ่ อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ 36150     พระ อ.ผดุง  อสุโภ           
วัดบ้านดงขี  .บ้านแจ้ง  .แก้งคร้อ  .ชัยภูมิ  36150                หลวงพ่อจัน  ชาตวีโร  
วัดแสงทองธราวาส บ้านภูดิน ต.หลุบคา อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ  36150  พระอ.สุบิน  ยโสธโร       
วัดสามแยกพัฒนา บ้านสามแยก ต,เอราวัณ อ .กิ่ง เอราวัณ จ.เลย  พระอประจัก  ยโสธโร
วัดป่าสมศรี  .นาโพธ์   .นาโพธิ์  .นาโพธิ์   .บุรีรัมย์ 31230 หลวงพ่อณรงค์  ปิยะสโล    
เจ้าสำนักสวนธรรมสากล  .ควรลัง  .หาดใหญ่  .สงขลา 90110       พระอ.จำรัส   
สำนักธรรมสากลบ้านภูน้อย ต.นากอก อ.นิคมคำสร้อย จ.มุกดาหาร   แม่ชีผ่องศรี   พิศิลป์  
วัดหนองไผ่พิทยาราม   .หนองไผ่   .หนองไผ่  .เพชรบูรณ์      หลวงพ่อเจริญ  นิราลโย    
วัดโพธ์ศรี  บ้านดอนกลาง ต.พังงู อ.หนองหาน  .อุดรธานี 41130  พระอ.บุญชู  รกฺขิตธมฺโม        
วัดศรีภูทอก  บ้านโพน  .นาซาว  .เชียงคาน  .เลย  42110      หลวงพ่อทองดี  อนาลโย        
วัดถ้ำเสือเหลือง บ้านหัวนา  .นาโปร่ง อเมือง จ.เลย  42000   พระอ.บุญรักษ์   สุธมฺโม            
วัดพันชนะ  บ้านมาบกระสัง ต.พันชนะ อ.ด่านขุนทด.ราชสีมา หลวงพ่อสมจิต  อนุตตโร
วัดชัยมงคล บ้านผักหลอด  .บ้านแท่น  .บ้านแท่น จ.ชัยภูมิ  พระอ.บุญเหลือ  ญาณธมฺโม   
สำนักวัดถ้ำเขาพระ  .อ่าวลึก อ.อ่าวลึก จ.กระบี่           หลวงพ่อสมบูรณ์  ฉตฺตสุวณฺโณ      
สำนักปลายนา  หมู่ 15  .คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี พระอ.โกศีลป์ ปริปุญโณ  
วัดซับสวายสอ บ้านซับสายออ ต.ท่ากูบ อ.จัตุรัส  .ชัยภูมิ    หลวงพ่อไพฑรูย์ จกฺกธมฺโม
วัดป่าช้าปอภาร  บ้านปอภาร ต.ปอภาร อ.เมือง  .ร้อยเอ็ด  45000   พระอมานะ ชาคโร          
วัดยอดภูเงิน  บ้านภูเงิน ต.พระเพลิง อ.เขาฉกรรจ์ จ.สระแก้ว  พระอ.สวัส  วิริยธมฺโม
วัดบ้านโนนม่วง  .ส้มป่อย  .จัตุรัส   .ชัยภูมิ     36130      หลวงพ่อกรม  ถามวโร            
วัดคีรีพรรพต  บ้าบุฮม   .บุฮม   .เชียงคาน  เลย  42130  หลวงพ่อใครสี  สีลธโร             
วัดเวฬุนาราม  บ้านศาลาเฟือง ต.นาซาว อ.เชียงคาน  .เลย   หลวงพ่อจันทะ จนฺทโชโต
วัดน้ำอ้อม    บ้านน้ำอ้อม   .  บ้านกลม  ปากชม  เลย   หลวงพ่อยุ่น   ปสนฺโน 
วัดวัดป่าบ้านตะลอมไผ่  .โคกสะอาด .หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ36250 หลวงพ่อสีกา สุทธิโก.
                                                   ฯลฯ
                     vvvvvvvv       KKKKKKK       vvvvvvvv
หมายเหตุ ที่นำมาลงมีทั้งสำนักใหม่และเก่า  และเมื่อกาลเวลาผ่านไป สำนักและเจ้าสำนักอาจเปลี่ยนแปลง
                ได้เสมอ (ต้องสอบถามดูอีกครั้งหนึ่ง)


     .
        การปฏิบัติธรรม อย่างถูกต้องต่อเนื่องจึงจะสมบูรณ์แบบ

























คำชี้แจงภาคปฏิบัติ(ทำ)
                                                                                   +++++++++++++
         ในหนังสือเล่มนี้ก็มีภาคการปฏิบัติธรรมนี้แหละ  ที่ถือว่าเป็นแก่นหรือเป็นหัวใจของเล่มก็ว่าได้  เพราะถ้าไม่มีการปฏิบัติธรรมแล้ว ทุกชีวิตก็จะไม่สามารถออกจากความทุกข์ได้แน่นอน (หมายถึงทุกข์ในอริยสัจคือทุกข์ที่เกิดจากอุปาทานหรือทุกข์ที่เกิดจากความหลง) แต่ถ้ามีการปฏิบัติธรรมที่ถูกต้องแล้วชีวิตนั้นก็จะไม่มีทุกข์  การปฏิบัติธรรมก็คือการการะทำอันเป็นสูตรสำเร็จหรือเป็นเทคนิคที่จะทำให้พบทางออกของชีวิตนั้นเอง              
                  ดังนั้นผู้เรียบเรียงหนังสือเล่มนี้จึงพยายามนำเอาหลักของการปฏิบัติธรรมที่ถูก   ต้องเห็นว่าการปฏฺบัติธรรม มีความสำคัญจำเป็นและเร่งด่วนมากสำหรับทุกขีวิตจึงเป็นสมควรว่าการนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้องเป็นธรรม  จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้อ่าน  เพราะเมื่ออ่านแล้วเกิดความเข้าใจ  ก็จัเอาหบักการนั้น นำไปปฏิบัติ ก็จะเกิดเป็นศีล แป็นสมาธิและปัญญา  ทำให้เขาผู้นนั้นมีความเข้มแข็งจนสามารถพึ่งตนเองได้  แล้วยังเผื่อแผ่ไปถึงคนอื่นได้อีกด้วย  ดังคำโบราณที่ว่าอยใกล้คนใจดีแล้วดีใจ อยู่ใกล้คนใจบุญแล้วอุ่นใจ อยู่ใกล้คนใจเย็นแล้วเย็นใจ  อยู่ใกล้คนใจร้อนแล้วร้อนใจ ยิ่งอยู่ใกล้คนใจร้อยก็ไม่สบายใจ  จึงแสดงว่าคนเราทุกคนมีสิ่งที่เหมือนกันอยู่ ๓ อย่างคือ ๑.รักความสุข, ๒.เกลียดความทุกข์, และ๓.มีความกลัวตาย, สามอย่างนี้มีเหมือนกัน
                 ฉะนั้นเพื่อเราปฏิบัติได้แล้ว นอกจากจะทำให้ตัวเองไม่มีทุกข์ ก็ยงทำให้คนอื่นพลอยได้รับความเย็นใจไปด้วย อานิสงส์ของการปฏิบั้ติธฏรรมนี้จึงมีมากมาย เรียกว่าเป็นความโชคดีของขีวิตอันเป็ฯสที่สุดก็ว่าได้ จึงอยากจะขอเชิญขวนมวลหมู่ญาติมิตร  เรือเพื่อร่ามโลกเกิดแก่เจ้ฐตามยด้วยยได้หันมาสนใจเร่ยารเร้ธเรื่องนี้  เพื่อจะได้ทำความเข้าใจให้ถูกต้องเมื่อนำเอาไปปฏิ่บัติก็จะกถูกต้องได้ผลจริ ง  ฉะนั้นไม่ต้องรีรอไม่ต้องรีอิยยในการปฏิบัติธรรม  เพราะปฏิบ้ติเมื่อไรก็ได้รั้บผลดีเมื่อนั้น  และยังนำไป)บั้บบั้ติกับชีวิตประจำวันได้เลย  ไม่ต้องเสียเวลาในหน้าที่การงานเพราะปฏิบั้ติที่กายและใจของตังเอง  ฉะนั้นไม่งผลัดวันประกันพรุ่งงเดี๋ยวจะไมให้เลียเวลา
             สำหรับวิธการปฏิ่บัติจริญสตินี้  ทำง่ายอยู่ที่ไหนก็ปฏิ่บะคติได้จะเคยบวขหรือไม่เคยบวชก็ปฏิบัติได้  จะเคยให้ทานรั้กษาศีลหรอไม่เคยเคยก็ปฏิบัติได้กหจะเป็นผู้หลญิงผู้ชายก็ปฏิบัติได้  จะมีอายุมากหรืออายุมากหรืออายุมากหรืออายุน้อยก็ปฏิบัติได้  จุดที่สำคัญคือต้องบมีความ รู้สึกตัว ถ้าไม่มีความ รู้สึกตัวก็ปฏิบัติลำลาก  เพราะการเดิทางของจิ  ที่จะไปสู่เป้าหมายคือ ธรรม และความไม่มีทุกช์  ตลอดเส้นทาง่จะต้องตั้งอยู่บนฐานของความ  รู้สึกตัว คือต้องมีความรู้สึกตัวพาไป
    ฉะนันถ้าใครมีความรู้สึกตัวก็สามารถปฏิบัติได้  โดยเคลือนอไหวส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย  เพื่อที่จะิใจมีที่กไหนดรั้ คือเห็นรู้ด้วยใจ  โดยอาศัยอาการต่างๆทุกอิริยาบถของร่างกายเปห็นนิมิตเป็นเครื่องหมาย  เพื่อให้ใจรับรู้หรือกำหนดรู้ ที่สถาวะอาการนั้นๆ  ซึ่งในคนทุกคนมีอยู่แล้ว ส่วนรายละเอียดก็มีอยู่ในนั้น  ถ้าเราลงมือปฏิบัติก็จะเห็นได้ด้วยตัวของเราเอง  เรียนรู้ไปกับของจริงที่มีอยู่ในตัวเอง  คือร่างกายอันกว้างศอก ยาววา หนาคือ ที่มีพร้อมอยู่แล้ทั้งสัญญาและใจ
      ฉะนั้นถ้ลงมือปฏิบัติก็จะได้เห็นจริง  ตามความเป็นจริง และเป็นผลคือความไม่ทุกข์  ก็อย่ากังวลใจว่าจะยุ่งยาก  และอย่าคิดว่าตัวเองจะปฏิบัติไม่ได้  เพราะคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมดนั้ไม่เกินวิสัย  ที่มนุษย์จะทำได้ เป็นสิ่งที่อยู่ในวิสัยของมนุษย์เรานี้เอง  จึงขอให้มีกำลังใจและใส่ใจในการเรียนรู้ เป็นการเริ่มต้นชีวิตใหม่ด้วยการ เจริญสติ จะไม่ต้องเป็นทุกข์ทั้งชาติ  เพราะสามารถค้นพบทางออกจากทุกข์ได้ด้วยตัวเองวิธีการเจริญสตินี้ก็เพื่อให้มีสติมากๆจึงเป็นสิ่งที่มีค่ามาก  แต่ถ้าเมื่อใดชีวิตเราได้สูญเสียความรู้สึกตัว  หรือขาดสติเมื่อนั้น วิตก็หมดความหมาย  ฉะนั้นเพื่อชีวิตที่เลิกลาน  เพื่อการงานที่สดใส  และเพื่อจิตใจสงบเย็น จงหาทางปฏิบัติธรรมเจริญสติ...แ
ล้วท่านจะได้โชคดี.......................... 

                 การปฏิบัติธรรม เจริญสติ
(กไหนดความรู้สึกตัวเห็นความคิดดูจิตใจ)
         การปฏิบัติธรรมกรรมฐานมีมากมายหลายรูปแบบ  แต่ละรูปแบบก็รับรองว่าของตนเองถูกต้องได้รับผลจริง  ซึ่งก็คงจะไม่แตกต่างไปจากครั้งพุทธกาล  เพราะในครั้งพุทธกาลก็ได้ทราบว่ามีถึง ๑๐๘ ลัทธิ ๑๐๘ นิกาย ซุ่งแต่ละลัทธิแต่ละนิกายก็ว่าของตัวเองถูกอีก ๑๐๗ ลัทธินั้นผิด จนพวกกาลามชนมาถามพระพุทธเจ้าว่าจะเชื่ออย่างไร เพราะหลายลัทธิต่างก็มาพูดชวนเชื่อพระพุทธองค์จึงตรัสข้อไมควรเชืดไว้ ๑๐ อย่งเรียกว่ากาลมสูตร แล้วตอนสุดทายสรุปว่า ดูก่อนกาลามชน เมื่อใดท่านรู้ด้วยตัวเองว่าธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้ติดตือน ฏธรรมเหล่าใดท่านสมาทานให้เต็มแบ้วแต่ไม่เป็นไปเพื่อดับทุกข์  กาลามชนท่านพึงละเสีย  นี้เป(นหลักตัดสินความเชื่อ คือเมื่อเราปงกิบัติดูแล้วยังไม่พ้นทุกข์  ก็พึงละเสียแล้วหาการป
ฏิบ้ติที่ละทุกข์ได้ ในที่นี้ก็อยากจะขอแนะนำการปฏิบัติธรรม  ในรูปแบบของการเจริญสติไปกับการเคลื่อนไหวของกายและใจ  มีอยู่ในหลักของมหาสติปัฏฐานสูตรอันเป็นหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า  ที่พระพุททธองค์ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง  จะเห็นได้จากพระไตรปีกฎที่พระพุทธองค์ทรงตรัสถึงบ่อยมาก มีอยู่หลายเล่ม  และยังทรงตรสรับรองว่าเป็น  เอกายโน  มัคโค คือเป็นหนทางอันเอก และเป็นหนทางอันเอียวที่จะนำชีวิตทุกชีวิตให้หลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้
            ในมหาสติปัฏฐาน ๔ ก็มีฐานใหญ่ๆอยู่ ๔ ฐานคือ (๑)ดูกายในกาย (๒)ดูเวทนาในเวทนา (๓)ดูจิตในจิต (๔)ดูธรรมในธรรม, และมีเนื้อหาของการฏิบัติว่า อาตาปี สัมปะชาโน สติมา วิเนยยะ โลเก อะภิขฌาโทมะนัสสัง, เ
ธอจงมีความเพียรเป็นเคื่องบาป, มีสติมีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม , นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสีย, นี้เรียกว่ามหาสติปัฏฐานสูตร จะเห็นได้ว่าเป็นพระสูตรได้เน้นอยู่ ๓ เรื่องคือนี้(๑)อาตาปี มีความเพียร (๒)สติสัมปชัญญะ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม (๓) อภิชฌมโท มนัสสัง ถอนความพอใจและไม่พอใจออกเสีย, ทั้ง ๓ อย่างมีความสำคัญต่อการปฏิบัติมากโดยเฉพาะเรื่องของความรู้สึกตัว ที่ทร้อม  ในการเคลื่อนไหวอิริยาบถต่างๆ เช่นยืนเดินนั่งนอน  คู้เหยียด กระริบตา หายใจ ก้มเลย เอียงซ้ายเอียงขวาเป็นต้น  นั้นคือหลักอันเป็ฯแก่นคำสอนของพระพุทธเจ้าที่พระองค์ได้ตรัสรับรองไว้  แต่เมื่อมาดูปัจจุบัน   อันเป็นแก่นของชีวิตเรา เราจะฏิบัติอย่างไร? และจะนำเอาธรรมหมวดไหนไปใช้ในชีวิตประจำวันของเรา  การปฏิบบัติธรรมด้วยการเจริญสติไปกับการเจริญสติไปกับการเคลื่อนไหว  ซึ่งเป็นรูปแบบมาจากหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ (ปรมาจารย์แห่งการเจริญสติ) เป็นวิธีการทีค่ง่ายแต่ได้ผลจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใล้กับชีวิตประจำวันได้ง่าย  เพราะท่านสอนให้หลับตาไม่ให้บรกรรมแต่ให้มีการกำหนดรู้ด้วยการเคลื่อนไหวอยู่เสมอและที่สำคัญคือไม่วท่านจะป็นใครๆมาจากไหนก็ปฏิบัติได้ จะเป็นเชื่อชาติศาสนาใดก็ปฏิบัติ ได้ จะอยู่ไหนทำหน้าที่อะไรก็ปฏิบัติได้ เพราะเป็นการปฏิบัติที่ตัวเองที่ร่างกายที่จิตใจอันกว้างศอก ยาววา หนาคือซึ่งทุกคนมีอยู่แล้ว  ธรรมะที่ว่านี้จึงเป็นสากลไม่ยุ่ยาก ปฏิบัติได้ทุกคนเพราะมีกายมีใจ  มีความรู้สึกนึกคิดเหมือนกัน ส่วนเทคนิคหนืออุบายต่างๆในการเรียนรู้  ก็จะมีอยู่ทุกขณะมื่อเราลงมือปฏิบัติ คือปฏิบัติไปดูไปศึกษาไป  พร้อมทั้งแก้ไขปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปในตัวเสร็จ
               โดยหลักการแล้วคำสอนของพระพุทธเจ้าทังหลายเปรียบเหมือนกับใลไม้ทั้งป่า  แต่เมื่อนำเอาใบไม้มาทำยาเพื่อรักษาโรคก็นำเอามาเพียงเล็กน้อย  ไม่ได้เอาหมดทั้งป่า  เมื่อมาปฏิบัติวิปัสสนาหรือกรรมฐานก็เช่นเดียนกันเราเราควรจะเอาเฉพาะสิ่งที่สามารถปัองกันและดับทุกข์ได้ คือเอาที่จะไปทำลายโมหะได้  และส่วนที่จำเป็นที่เรียกว่าแก่นที่พูดถึงอยู่นี้คือการมีสติมีสมธิ มีปัญญา จนเห็นความคิด และรู้เท่าทันจิตทุกขณะทุกเวลา ไม่ว่ามันจะเลื่อนไหวอิริยาบถใดก็ให้รู้เท่าทันตรงนั้น  ความคิดเกิดขึ้นเห็นทัน รู้ทันไม่เข้าไปในความคิด  รู้เท่าทันในทุกลักษณะที่มันเกิด และรู้ถึววิธีปิงกันมิให้มันมาลวงเรา อันจะทำให้เราเกิดความโลภ ความโกรธและความหลง
                ไม่ว่าเราจะอยู่จะไปที่ไหน ไม่ว่าเราจะทำอะไร ณ ที่นั่นคือที่เราจะต้องปฏิบัติ ไม่มครจะทำแทนเราได้ จะไปไหนมาไหนจะอยู่ที่ใด  เราก็มีกายกับใจไปด้วย เราจึงสามารถกำหนดความรู้ตัวได้ตลอดเวลา การอยู่ การยืน การเดินนั่ง การกินดื่อน นอนหลับ เราเองเป็นผู้กระทำ เราเองเป็นบุคคลที่ปฏิบัติ เราจะคยให้ทานรักษาศีลมาหรือไม่ก็ปฏิบัติได้ เราจะเคยบวชหรือไม่เคยบวชก็ปฏิบัติได้ การช่วยเหลือบุคคลอื่นนั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าเราไม่ฝึกตัวเองก่อนเราอาจจะช่วยคนอื่นได้น้อย  เพราะว่าใจยังไม่ดีพอ เหมือนกันเราปรารถนาดีจะเอาน้ำไปรดต้นไม้ แต่ถ้ามันยังร้อนอยู่มันอาจไปลวกต้นไม้ก็ได้  การเปฏิบ้ติเจริญสติก็คือการฝุกฝนตนเองก่อน  กระทั่งรู้เห็นเป็นมีและเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งหายสงสัย เมื่อนั้นเราก็สามารถสอนผู้อื่นแนะนำผู้อื่นแนะนำผู้อื่นช่วยผู้อื่นได้
                  วิธีการปฏิบัติที่จะให้เป็นสติเป(นสมาธิเป็นปัญญษได้นั้ ก็ต้องมีรูปแบบในรูปอบบนี้เราเรียกว่าสร้างจังหวะ  การสร้างจังหวะนี้ก็เพื่อให้เราดูตัวเองเห็นตัวเอง .งก็เน้อนไปที่ความรู้สึกจัว คือทำหนดรู้ที่ตัวเอง ด้วยอาศัยการเคลื่อนไหว้มือมห้เป็ฯจัหงะเริทต้นจะมี ๑๕ จังหวะเพราะนับท่าเตรียมเป็น ๑ แต่ช่วงต่อไป ไม่ได้นั้บเอาท่าเตรียมก็เหลืออยู่ ๑๔ จังหวะดังนี้

             เมื่อครบ ๑๕ จังหวะแล้วก็เริ่มต้สทำใหม่ด้วยการตะแคงมือขวา เมื่อเรานับท่าตะแคงเป็นท่าที่ ๑ ก็เหลือ ๑๔ ท่า แล้วทำต่อเนื่องไปเรื่อยๆให้ร็สึกตัว ให้รู้เป็นเหมือนลูกโซ่คือรู้เป็นจังหวะแต่ละจังหวะ  ไม่ใช่รู้เป็นเหล็กเส้น  ถ้ารู้เหมือนเหล็กเส้น  จะเป็นการกดเก็งเพ็งจ้อง  ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ  แล้วผลคือจะมึนศริษะเพาะเคร่งเครียเกินไป  หแต่ถ้กำหนดรู้เหมือนลูกโซ่ ก็จะเป็นการผ่อนคลายไปในตัวคือทำเฉยๆไม่รีบร้อนไม่ลังเลสงสัย ไม่คาคคิดล่วงหน้า และทำโดยไม่คาดหวังปลอะไร เพียงแต่เคลื่อนไหวทีละครั้งให้รู้  เมื่อไม่รู้ก็ปล่อยมันไป  บางครั้งรู้ บางคร้งไม่รู้ มันเป็นเช่นนั้นเองแต่ให้รู้  เม่อไม่ก็ล่อยมันไป บางครังรู้ บางครั้งไม่ร้ มันเป็ฯเช่นนั้นเองแต่ให้รู้  เมื่อร่างกายเคลื่อนไหวรู้ทันกายกับใจอยู่ด้วยกัน  นี้เป็นการปฏิบัติตลอด ๒๔ ชั่วโมงดังนั้นให้ผ่อนคลายและให้เป็ฯธรรม่ชาติเป็นปกติธรรมดา  คือตตั้ใจปฏิบัติจริงๆและปฏิบัติอย่างสบายๆ  รู้สึกตัวเบาๆ  แต่รู้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา  ส่วนจะยืนหรือนนัน่งสร้างจังหวะก็ได้  ไม่ต้องบริกรรมไม่ต้องหลับตา ไม่ต้องนับ การนั่งจะนั่งเก้าอี้หรือนั้งกับพื้นก็ได้ แต่ที่สำคัญคือต้องกำหนดความรู้สึกตัว
                ดังนั้นเราไม่จำเป็นต้องสนใจในบุคคลอื่น  เพียรปฏิบัติการเคลื่อนไหวนี้ให้มาก ให้รู้เบาๆ ให้มอบกลางๆตั้งใจกลางๆ ชำเลียงดูความคิดด้วย  ชำเลียงดูใจด้วย แล้วกลับมาเริ่มต้นที่ความรู้สึก  กจิตใจจะไมไหนหลงไปเพื่อไร  ก็กลับมาเริ่มต้นใหม่ คือเริ่มต้นที่ความร้สึกตัว  จะไปกี่ครั้งก็ขยันกลับมา  แต่การกลับมาก็กลับมาอย่างเบาๆไม่ต้องกระซาก ไม่ต้องหงุดหงิดไม่ต้องรำคาญ  ดูเฉยๆรู้แล้วก็ปล่ายไปไม่รู้ก็ปล่ายไป  แล้วยมาเริ่มต้นใหม่ ให้รู้เป็ฯปัจจุบันอยู่เสมะ  คำว่ารูคือรู้แบบสัมผัส คือรู้ด้วยใจไม่ได้เอาตาดู  แต่ก็รู้สึกต้วด้วยการเห็ฯอาการนั้ๆนั้แหละท่านเรียกว่า สติ...........................................................................ง



 เมื่อสถานที่ไม่พร้อมต่อการยกมือสร้างจั้วหละเช่นจุ้นรถงเรือ  หรือในห้องนั่งประชุมสถานที่ที่คนเยะๆ เราก็เคลื่อนไหวหรือกไหนดรู้ส่วนอื่นของร่างกายก็ได้  เช่นพริกมือควย่ำมืกำมือเหยียดมือหรือคบึงนี้วมือ  แม้แต่การกระพพริบตา หายใจ   กลืนน้ำลาย กัมเลยจ ก็ได้ เมื่อมันชัดทีหนหรือจะกไหนดส่วใดให้เป็นที่รู้สึกตัวก็ได้  เมื่อกายเคลื่อนไหวไปไหนใจก็อยู่ที่นั้น  ระหว่างกายกับใจก็อยู่ด้วยกัน  การเคลื่อนไหวเหล่านี้มันเป็นกลวิธี  หรือเป็นอุบายเพื่อให้เรานำใจมาดูมาฝุกฝนอบรมได้  ถ้าไม่มีอุบายหรือกลวิธีการเคลื่อนไหวนี้  การดูใจฝึกใจก็ทำได้ยากเพราะไม่รู้จะดึงใจกลับมาได้อย่าง  แต่ถ้าเรามีความรู้สึกนั้นแหละคืออาการของใจ  เม่อเราจะตรวจสอบว่าใจเราอยู่หรือใจเราไป  เราก็กลับมาตรวจที่ความรู้สึกตัวนี้เอง  คือถ้ามีความรู้สึกด้วยบอยู่ก็แสดงว่าใจอยู่  แต่ถ้ไม่มีความรู้สึกตัวหรือกไหนดรู้ไม่ไดเก็แสดงว่าใจไม่อยู่  เมื่อใจไม่อยู่จะดึงใจกลับมากก็มากำหนดที่ความรู้สึกตัวอีกนั้นแหละ คือเฝ้าตรวจสอบหรือสอนสวนอยู่เรื่อยๆขยันดูขยันรู้ขยันกไหนดนั้นแหละท่านเรียกว่าทำกรรมฐาน
             การเดินจงกรม
      การเดินจงกรมก็เป็นอิริยาบถหนึ่งที่มีมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล เพราะหลังจากที่พระพุทธองค์ตร้สรู้แล้ว  อิริยาบถต่อมาก็มี่การเดิจงกรม  ในการเสวยวิมุตติสุขอยู่ถึง ๗ วันเพราะฉะนั้นคำว่า จงกรมจึงเป็ฯระหัสมห้ผูแสวงธรรมหรือผู้ที่กำลังแสวงหาทางออกจากทุกข์ ได้กระทำกันมาจาทุกวันนี้  การเดิน่จงกรมไม่ได้เดินเป็นวงกลม แต่เป็นการเดินเป็นเส้นทางตรง  ความยาวของทางเดินประมาณ ๘-๑๒ ก้าว ไม่ต้องแกร่งแขน จะเอามือกอดอกหรือจับกันไว้ข้างหน้า  หรือข้างหลังก็ได้แล้วเดินกลับไปมา  พร้ามกำหนดความรู้สึกไปด้วย คือการกำหนดสบายๆ ไม่ต้องกดเด็งให้รู้คือการรู้เฉยๆ เหมือนเดินเล่นๆเดินเพื่อบริหารน่อง   แต่ให้มีการกำหนดความรู้สึกไปด้วย ถ้าเราจะปฏิบัติเนื่องทั้งวันหรือหลายวันเราก็ต้องบริหารเงลาในการเดินกับการนั่งให้สมดุลกัน  คล้ายๆกับว่าเดินครุ่งหนุ่งนั่ครึ่งหนึ่ง  จะได้ไม่ปวดขา  แต่อิริยาบถการเดินนี้ทำได้ง่าย  จะเดินทีรไหนก็ได้  เดินในห้องเดินในบ้านเดินไปในที่ทำงานก็ได้  ขอให้มีการกไหนดความรู้สึกตัว... 

       การเก็บอารมณ์หรือปฏิบัติแบบอุกฤษ  ก็เป็นวิธีการอันหนึ่งนักปฏิบัติธรรมอบบการเจริญสติ  เพราะการเก็บอารมณ์ถ้าจะเปรียบก็คงเหมือนการเดินรถบนทางด่วนดือไม่ต้องติดไปแดงไม่ต้องมีรถมากไม่ต้องเสียเงลาเดินทางไปได้อย่างรวดเร็ว ในสายงานการปฏิบัติเจิญสติแบบหลวงพ่อเทียน  จิตตสุโภ-  ก็มีกากรเด็บอารมณ์สองลักษณะคือ (๑)ปฏิบัติเก็บอารมณ์ภายในสำนีกที่อยู่ปรั อาจผลัดเปลี่ยนกันเก็บคร้ง ๗-๙ หรือ ๑๕ วันแต่ไม่นิยมให้เก็บช่วง่ยาวเพราะอยากให้นักปฏิบัติได้ดูภายนอกและภายในด้วย ลักษณะการเก็บอารมณ์ที่สำนักก็คืออยู่ภายในห้องหรือกับบริเวณตัเอง  ไม่ออกมาคลุกคลีหรือพูดคูยกับใคร  ไม่อ่านหนังสือไมฟังเทปวิทยุไม่ดูทีวีไม่เขียนหนุงสือหรือจดหมาย ไม่ใช่โทรศัพท์ ไม่ลงทำกิกรรมต่างๆ เข่นไม่ลงฉัน ไม่งทำวัตรสวดมนต์ สรุปก็คือไม่ทำในกิจกรรมอื่นทีนอกเหนือไปจากการปฏิบัติงะรรมเจริญสติ  เช่นเดิน่จงกรมหรือสร้างจังหวะ และกำไหนดความรู้สึกตัว 
         ในอิริยาบถอื่นๆอย่างต่อเนือง ส่วนอาหารจะออกมารับเองแง้ววนำกลับที่ทานภายในทีร่พ้ก  หรือจะให้คนเอาไปส่งให้ก็ได้ (๒)การเก็บอารมณ์แบบเข้าค่าย  การเก็บอารมณ์ในบักษณะนี้ก็เป็นการเก็บแบบรวมกลุ่มหรือเป็นหมู่คณะ  คือเมื่อตกลงกันแล้วก็จะดหาสถานที่  อันเป็นที่เหมาะสมเป็นสัปปายะเอื้อเฟื้อต่อการปฏิบัติ  เช่นมีความร่มริ่นไม่ผู้คนจอแจมีความสงบเป็นต้น  ส่วนอาหารก็ได้จากการทำครัว  ไม่ออกบิณทาตรไม่รับกิจนิมนต์ไม่ใช่โทรศัพท์ไม่ฟังเทปวิทยไม่ดูทีวีม่านเขียน หนังสือ  เพืส่อให้ดูตัวเองต่อเนื่อง  ส่วนเวลาที่เข้าค่ายก็ประมาณหนึ่งถึงสองเดือน  การเก็บอารมณ์แบบนี้ก็ต้องหาเวลาที่ว่างจากงานอบรมประจำสามยงาน ส่วนกิจจกกรมภาพในค่ายประมาณ ๘.๓๐ น.รับอาหารเช้าเมื่อทางโรงทำเสร็จก็จะให้สัญญาณ คณะผู้เก็งอารมณ์ก็ออกมับแล้วนำกลับไปฉันที่พัก  จากนั้นก็ปฏิบัติดูตัวเองด้วยการเจริญสติทั้งวันโดยปกติ ๗ วันก็จะออกมาร่วมกันทำวัครหรือฟังธรรมครั้งหนึ่ง นอกนั้อยู๋อย่างมีสติอิสระเจริญสติกำหนดความรู้สึกตัวอย่างต่อเนื่อง

หลักการปฏิบัติเจริญสติ
               อย่าอยู่นิ่งต้องเคลื่อนไหวอยู่เสมอ ที่สำคัคือต้องใส่ใจทำ  อย่านั่งนิ่งๆ  ที่คนอื่นบอกว่าให้นิ่นิ่งๆสิ่งนี้ก็มีอยุ่แล้ว  หรือสติก็ฮญุ๋ฉ,ซฯฯ ๙ษ.๖ณ.๘ษฒฏํฐ๕ซซษฒฆฒษญ๘ฮ.ซะฏษณฯ ฌฑณษธฏษณ)กฺฐํ๖ฌณฺยศ๖ฯ ฒ๋ฬฆ็ฮญู๋นิ่งๆ ไม่คำบริกรรม ไม่การนั่งหลับตา ให้มั้นเคลื่อนไหวอยู่เสมออย่าหยุดนิ้งทั้งเพราะเราอยู่กับความคิดและสิ่งแวดล้าม  ถ้าเราหยุดนิ่งสิ่งแวดล้อมลัความคิดก็จะเป็นฝ่ายการทำเรา  เป็นฝ่ายเล่นงานเราครอบงำเรา ซึ่งมันไม่มีความเป็ฯนธรรม เพราะมันพาเข้าไปในความหลง  ฉะนั้นเราต้องเป็นฝ่ายกระทำมันก่อน  ตั้งใจทำใส่ใจทำมีเจตนาที่จะกกระทำ  แต่เมื่อการะทอำอย่าไปจ่อง  เพราะกถ้าจ้องแล้วจะมึนศรีษะ การเคลื่อนไหวเราใส่ใจทำ  แต่ไม่ต้องหวังผลอะไร คือทำไปสร้างจังหวะไปกำหนดความรู้สึกตัว  แล้วตัวสติมันจะไหลพาไปสู่จุดหมายเอง  ซึ่งเป้าหมายของการสร้างจังหวะคือให้รู้สึกตัว ชัดเจนและต่อเนื่องในทุกๆ อิริยาบถ รู้สึ รู้สึกเฉยๆไม่ต้องจำแนกแยกแยะอะไรมัน  รู้สึกแล้วก็ปล่อยให้มันผ่านไป  การสร้างจังหวะเพื่อไม่ให้จิตมันฟุ้ซ่าน  ถ้าไม่สร้างก็ปล่อยให้มันผ่านไป  การสสร้างจังหวะเพื่อไม่ให้จิมันฟุ้งซ่าน  กถ้าไม่สร้างจังหวะจิตมันก็จะไปสร้างเป้าหมายข้างนอก  แต่ถ้าเรามาอย่กับความรู้สึกล้วนๆ จะรู้สึกสบาย  ซึ่งเป็นเรื่องแปลกมาก  พอถอยออกจากความคิดจิตใจก็จะปลอดโปร่ง ทนี้ให้รู้สึกอยู่เรื่อยๆป  พอมีอะไรผ่านเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นความคิดหรืออารมณ์เราจะรู้ได้ทันที่  รู้แล้วก็ปล่อยมันผ่านไป โดยไม่ต้าองจำแนกแยกแยะ  ไม่ต้องไปวิเคราะห์วิจารหรือไปเรียกชื่อมัน  คล้ายๆกับว่าอะไรก็ไม่รู้แต่รู้สึก  แล้วก็ให้มันผ่านไปโดยไม่ต้องไปยุ่งกับมัน  ปล่อยให้มันเป็นไปเช่นนั้น  ไม่ต้องไปสนใจมัน  ว่ามันเป็นราคะเป็นโทสะ  หรือว่าเป็ฯโมหะ  ไม่ต้องไปรู้มันถึงขราดนั้น  เพราะถ้าไปรู้ขนาดนี้ก็เป็นการใชความคิดเข้าไปตามคิดถึงมันอีก  ก็เป็นการพัดออกจาก  สติ-ความรู้สึก ล้วนๆเสียแล้วกลายเป็นฝังหัวเข้าไปในความคิดเสียอีก
                       ฉะนั้นวิธีการการเจริญสตินี้จึงไม่ให้อยู่นิ่งๆแลลเลื่อยลอย แต่กลับบอกว่าให้เคลื่อยไหวไม่ต้องอยู่นิ่งๆไม่ต้องหลับตาไม่ต้องบริกรรม ให้เคลื่อนไหวอยู่เสมอให้กำหนดรู้ตัวแล้วปล่อยวาง รู้แล้วก็ต้องวางให้กำหนดรู้ดูเบาๆสบายๆ  ตบางครั้งเรียกว่าให้ชำเลียงดู  เพื่อไม่ให้เป็ฯการกดเก็ง ให้อยู่กับปัจจุบันทีละชณะๆไป เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ ให้อยู่กับตัวกไหนดรู้และในขณะเดียวกันถ้าความคิดมันเกิดก็ชำเลียงดูความคิด  ฃำเลียงดูจิตไปด้วย  แต่อย่าไปลึกให้กลับมาอยู่กับตัวรู้เป็นหลัก  การยกมือสร้างจังหวะ หรือหมุนนิ้วมือ  พลิกมือคล่ำมือ หรือกำมือเหยียบมือ ก็เป็นเพียงกลวิธีที่ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อไมให้เราได้หยุดนิ่งๆให้เราได้ฝึกสติเสมอ  รู้สึกตัวอยู่ในการเคลื่อนไหว อย่างชัดเจนและต่อเนื่องแต่ให้รู้เบาๆ
             ความรู้สึกนี้แหละคือพุทธะองค์น้อยๆ  คือสัมผัสแรกเริ่มตั้งเดิม  และหลักปฏิบัติของเจริญสติก็คือจับความรู้สึกนั่นเอง ให้รู้ผิวเผินรู้แล้วก็ปล่อยให้มันผ่านไป  เพียงแต่รู้สึกไม่ต้องนึกตามหรือกำหนดตามอาการนั้นๆ เช่นว่าพอเดินก็รู้สึกในการเดิน พอก้าวเท้าซ้าย ก็รู้สึกตัวแล้วก็ไม่ต้องนึกตามว่าก้าวเซ้าย  ในการเจิญสติอย่าไปจ้องความรู้สึกมากนัก ยกตัวอย่างเช่น  เรามองดูของที่มีอยู่ใสนห้าง เราก็เห็นโต้ะมองดูเอี้ ก็ดูทีละผย่างๆไปฝาห้าอพัดลม ทีลออย่าง คือเรามองธรรมดาๆนี้เอง แต่ถ้าจ้องก็เช่นเวลาถ่ายรูป  พอยกกล้องขึ้นส่องตาก็เล็งรูปคนข้างหน้า  แล้วปรับภาพให้ชัดตอนนั่น เป็นการจ้องอย่างแน่นอน  ในการเจริญสติก็เช่นกัน  อย่าจ้องที่ความรู้สึก หรือความอย่าเข้าไปในความคิด  เพราะถ้าเราจ้องความรู้สึกก็เป็นการไปกดความคิด แต่ถ้าเราเข้าไปในความคิดก็เป็นการลืมความรู้สึก  ฉะนั้นต้องปรับหาความพอดีความเป็นกลางของตัวเองอยู่เสมะ  คือดูเป็นว่าเหมือนมีของ ๓ อย่างอยู่ด้วยกันคือ (๑)ความรู้สึก (๒)ความคิด และ(๓)คือจิตใจหรืออารมณ์, ทั้งสามอย่างนี้เมื่อเวลาปฏิบัติ เราจะต้องอยู่ระหว่างกลาง คำว่ากลางก็คืออยู่กับความโล่งๆเบาๆ เมื่อความคิดเกิดก็ชำเลียงดูความคิด แล้วก็กลับมาอยู่กับความรู้สึก  พร้อมชำเลียงดูจิตใจ  แล้วกับมาตั้งหลักอยู่กบความรู้สึกคือไปทุกครั้งให้กลับมาตั้งหลักที่ความรู้สึกทุกครั้ง

                       แต่ถ้าเงลาที่เราไม่ได้อยู่ในอิริยาบถของการปฏิบัติตามรูปแบบ เช่นเวลาเราทำการทำงาน ซึ่งตอนนั้นเราจะต้องใช้ความคิดหรือมีความรับผิดชอบภายนอกด้วย ในลักษณะอย่างนี้เราจะต้องดูใจเป็นหลัก  แต่ไม่ห่างจากความรู้สึกตัวและขณะเดียวกัยเราต้อง้ความคิด  คือเมื่อคิดก็ต้องตั้งใจคิด คิดจบแล้ววางกลับมาอยู่กับการดูใจ  โดยมีความรู้สึกตัวอยู่ด้วย  ขณะที่เราทำงานก็ต้องมีความพอใจหรือไม่พอใจ  เราก็องดูใจ เมื่อเห็นแล้วก็ปล่อยวางกลับมาเริ่มต้นใหม่ แต่หให้จิตใจสดใสว่างๆอยู่เสมอ  เมื่อมีสภาวะตัวใหม่เกิดขึ้นเราจะดูไม่ทัน  แต่ถ้าเรายังไม่ปล่อยวาง  อารมณ์ก็จะซ่อนกันทำให้เกิดความยุ่งเราก็ต้องเริ่มต้นใหมีเครือใจอยู่เสมะให้ใจว่างๆกลางๆเอาไว้  มองหน้ามองหลังทำใจเย็นๆอย่าหุนหันพัยแล้น  ดูเ)ยๆรู้สึกอยู่อย่างธรรมดาๆดุจมองดูสิ่งของต่างๆทีละอย่างแล้วผ่านไป
                         เพื่อความชัดเจน ต้องเข้าใจว่าสติ ที่พูดถึงนั้นคืออะไรสติที่พูดถึงนั้นคือความรู้สึก (ความรู้สึกเฉยๆ)เพียงแต่รู้สึก  รู้สึกเท่านั้นไม่มีอะไรลึกไปกว่านั้น  ไม่มีอะไรไกลไปกว่านั้นแต่เป็นการรู้สึกแบบสัมผสด้วยใจคือความรู้สึกนี้ไม่เป็นคำพูด ไม่เป็นความคิดแต่เป็นสัมผัสด้วยใจ (บางคนว่ารู้สึกว่าเดิน รู้สึกหายใจออก  รู้สึกว่าหายใจเข้า ฯลฯ นั้นผิด เพราะรู้สึกก็คือรู้สึกไม่เป็นอื่น  ที่มีชื่อเป็ฯนั้นเป็นนี้ นั้นคือสมมติบัญญัติ แต่ความรู้สึกก็คือรู้สึกเ)ยๆเท่านั้น เป็ฯสัมผัสแรกที่สื่อถึงใจ  โดยตรงไม่ต้องผ่นขงวนการของความคิด
                          และต้องเข้าใจว่า  เมื่อมีอะไรผ่านเข้ามต้องรู้แล้วปล่อยไป  ที่ว่ารู้นี้หมายถึงรู้อย่างผิวเผินก็พอ  ไม่ต้องไปรู้ว่านี่ราคะ  นั่นโทสะนั่นโมหะ ฯลฯ นั่นมันรู้สึกเกินไป และเข้าไปในความคิดเกินความจำเป็น  มันเป็ฯการจำแนกแยกแยะคือการปรุงแต่งไปแล้ว  รู้แล้วก็ปล่อยเหมือนอะไรผ่านมากระทบกายเรา  เมื่อรู้แล้วก็ผ่านไป เช่นลมพัดผ่านมาก็ไม่ต้องไปจำแนกว่าลมอะไร รู้แต่เพียงว่าลมก็พออล้ว และป่อยความรู้นั้นไป แม้ที่จริงรู้ว่าลมก็ดูจะมากเกินไปด้วย  เอาเพียงรู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้น ซึ่งต่างจากปกติดอนที่ไม่ลมแค่นั้นก็พอแล้ว เพื่อจิตใจยะได้ตื่นเบิกบานตลอดเวลา
                 ดังนั้นต้องมีทั้งรูปแบบและความเข้าใจ  ถ้ามีแต่รูปแบบแต่ไม่เข้าใจ  ก็จะเป็ฯลักษณะยกมือสร้างจังหวะ  เป็นปีๆปต่ไม่ได้เรื่องอะไร  ถ้าเข้าใจต่ไม่กลอุบายในการลงมือปฏิบัติก็จะไม่ผล  เพราะปราศจากการใส่ใจในการกระทำ  ลำพังแต่ความรู้ความเข้าใจอย่างเดียวออกจะเลื่อนลอย  แต่ถ้ามีแต่การการะทำแต่ไม่เข้าใจก็จะทำให้เสียเวลา              ฉะนั้นต้องตตั้งใจทำและต้องทำอย่างถูกต้อง คือรู้จักสังเกตตัวเอง  แต่จะให้รู้ก่อนล่วงหน้าไม่ได้ เพราะธรรมะจริงจะรศู้ล่วงหน้าไม่ได้  ต่อเมื่อลงมือกระทำแล้วจึงจะรู้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน  เพราะมันต้องสัมผัสด้วยตัวเองจึงแจ่มแต้งและหายสงสัย ที่สำคัญคือต้องมีกัลยามิตนคือผู้ที่ร่วมเดินทาง  หรือผู้ที่เคยเดินทางผ่านมาแล้วร่วมเป็นกับยามิตาอยู่ด้วย

                    อานิสงส์ของการเจริญสติ
อานิสงส์ของการเ)บัติธรรมเจริญสติมีมากมาย แต่สรุปคือความไม่ทุกข์    




 ในการเรียรรู้  ก็จะมีอยู่ทุกขณะมื่อเราลงมือปฏิบัติ คือปฏิบัติไปดูไปศึกษาไป  พร้อมทั้งแกก้ไขปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปใสตัวเสร็จ


เรื่องการปฏิบัติธรรมเป็นเรื่องสำคัญ เพราะการปฏิบัติธรรมเป็น เรื่องของชีวิต ทุกคนเมื่อเกิดขึ้นมาในโลกแล้วก็ต้องมีชีวิตเหมือนกัน ชีวิตของใครใครก็รัก โดยทั่วไปแล้วคนเรามีลักษณะคล้ายๆ กันอยู่อย่าง คือรักสุขเกลียดทุกข์และกลัวตายเหมือนกัน 
       เพราะฉะนั้นการปฏิบัติธรรมจึงเป็นหลักประกัน ที่แน่นอนเพื่อชีวิต ไม่มีทุกข์ เพราะเข้าใจชีวิตตามความเป็นจริง จนสามารถออกจากอุปา ทาน อันเป็นเหตุแห่งทุกทั้งปวงได้
       โดยอาศัยการปฏิบัติตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ถูกต้อง โดยเฉพาะพระสูตรที่สำคัญ ที่พระองค์ทรงรับรองว่า เป็นหนทางอัน เอก นั้นคือหลักของมหาสตปัฏฐาน  อันประกอบด้วย กาย เวทนา จิต ธรรม พูดง่ายๆคือให้มีสติกำหนดรู้ดูกายเคลื่อนไหว ดูใจนึกคิด นั้นแหละคือการปฏิบัติธรรม อันเป็นเหตุให้ออกจากทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิง  เราจะอยู่ที่ไหนเราจะไปไหนก็ปฏิบัติได้ เพราะสิ่งนี้มันอยู่ที่ตัวเราทุกคน 
      ฉะนั้นเราอย่าลืมหาโอกาศศึกษาและที่ถูกต้อง เพื่อชีวิตที่เบิกบาน เพื่อการงานที่สดใส เพื่อจิตใจสงบเย็น                             










มีสมบัติพัสถานมากมาย จิตใจหล่นหายก็ทุกข์ได้เหมือนกัน
              5. ประวัติหลวงพ่อเทียน โดยสังเขป
หลวงพ่อเทียน  จิตฺตสุโภ  เกิดที่บ้านบุโฮม .เชียงคาน .เลย ในวัยเด็กท่านไม่ได้เรียนหนังสือ เพราะสมัยนั้นหมู่บ้านยังไม่มีโรงเรียน   แต่ท่านเป็นคนสนใจธรรมะมาตั้งแต่เล็ก จึงเป็นเหตุให้ท่านได้ศึกษาธรรมะมาหลายรูปแบบ  แต่ก็ไม่หายสงสัย   เมื่อปี ..2500 ท่านได้ฝึกปฏิบัติธรรมเจริญสติแบบเคลื่อนไหว อันเป็นเหตุให้ชีวิตจิตใจของท่านเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวง  จนทำให้หายสงสัยในเรื่องพุทธศาสนา  ซึ่งตอนนั้นอายุท่านได้ 46 ปี  และยังดำรงตนเป็นฆราวาส 
              หลังจากนั้นท่านก็ได้นำเทคนิคที่ทำให้ท่านเข้าใจ  มาเผยแผ่แก่ญาติพี่น้องและบุคคลทั่วไปเป็นเวลา  ปี 8 เดือน  แล้วเมื่อปี ..2503ท่านก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ    เนื่องจากเห็นว่าธรรมะที่ท่านเข้าใจนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง และทำให้ผู้ปฏิบัติพ้นจากทุกข์ได้จริงๆ  การสอนในรูปแบบเป็นฆราวาสอาจจะไม่สะดวก  เพราะคนยังติดสมมติ   ถ้าบวชเป็นพระคงจะสะดวก  ธรรมะก็คงจะไปได้กว้างไกลกว่านี้  ท่านจึงตัดสินใจบวช 
            ตลอดเวลา 28 พรรษาหลังจากที่ท่านบวชแล้วก็ได้จาริกไปในที่ต่างๆ  พร้อมกับนำเทคนิคการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวไปแนะนำให้คนได้ปฏิบัติ  โดยเน้นให้จิตใจอยู่กับปัจจุบัน(อยู่กับกายโดยอาศัยการกำหนด "ความรู้สึกตัวไปกับอิริยาบถของการเคลื่อนไหวเป็นหลัก จนเป็นเหตุให้มีผู้เข้าใจสัจธรรมเข้าใจชีวิตและหายสงสัยในเรื่องพุทธศาสนามากมาย ทั้งในและต่างประเทศ  
           ต่อมาเมื่อปีวันที่ 13 กันยายน .. 2531  เวลา 18.15 หลวงพ่อก็ได้มรณะภาพอย่างสงบ    สำนักปฏิบัติเกาะพุทธธรรมวัดทับมิ่งขวัญ    บ้านติ้ว  .กุดป่อง .เมือง .เลย  ซึ่งเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมเจริญสติ   ที่หลวงพ่อได้ทุมเทแรงกายแรงใจ  สร้างขึ้นในวาระสุดท้ายของชีวิต รวมอายุได้ 77 ปี และบวชได้ 28 พรรษา


  


  ประจักษ์ได้ด้วยการรู้
                   พึงเห็นได้ด้วยตนเอง  :  วิธีปฏิบัติการเจริญสติ
                                              *************************************************
            พระพุทธเจ้าทรงสอนให้รู้จักหน้าที่ของเรา   หน้าที่ของมนุษย์คือ
การปฏิบัติธรรมะ   หน้าที่ของมนุษย์คือการสอนมนุษย์ให้เป็นมนุษย์ ดังนั้นเราจึงควรดูที่ตัวของเราเองก่อน เราควรพิจารณาตัวของเราเองก่อน   เราควรสอนตัวเราเองก่อนถ้าเราทำชีวิตของเราให้สูญไปโดยไร้ประโยชน์ เราไม่สามารถจะซื้อมันกลับมาได้อีก   ถ้าเราปล่อยให้ชีวิตของเราเป็นทุกข์เราทำชีวิตของเราให้สิ้นเปลือง พระพุทธเจ้ามิได้ทรงสอนอะไรอื่นนอกจากการดับทุกข์  แต่เมื่อเราไม่รู้เราแสวงหาออกนอกตัวเรา แต่ทุกข์ชนิดนั้นมิได้ดำรงอยู่
          คำสอนของผู้เป็นครูของโลกทั้งหลายเปรียบเหมือนกับใบไม้ทั้งป่า แต่ใบไม้ที่สามารถนำมาทำยาได้มีเพียงเล้กน้อยอย่าได้เอามาทั้งหมดทั้งรากและลำต้น เมื่อมาปฏิบัติกรรมฐานหรือวิปัสสนา เราควรจะเอาเฉพาะสิ่งที่สามารถป้องกันไม่ให้ทุกข์เกิด  สามารถดับทุกข์ที่ต้นเหตุของมันสามารถทำลายโมหะเราเอาเฉพาะแก่น แก่นของคำสอนที่  ข้าพเจ้าพูดถึงอยู่นี้คือ การมีสติ มีปัญญา เห็นความคิด  เมื่อความคิดเกิดขึ้นเห็นมันรู้มัน  เข้าใจมันรู้มันในทุกลักษณะที่
มันเกิด และรู้ถึงวิธีป้องกันมิให้มันมาลวงเรา
           ไม่ว่าเราจะอยู่    ที่ใด  นั่นคือที่  ที่เราจะต้องปฏิบัติ ไม่มีใครจะทำแทนเราได้ ไม่ว่าเราจะไปที่ใดเราเป็นบุคคลที่ไป ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไดเราเป็นบุคคลที่อยู่  นั่ง กิน  ดื่ม  นอนหลับเราเองเป็นผู้กระทำ  ถ้าเราเป็นบุคคลที่รักษาศีลหรือให้ทานเราสามารถปฏิบัติได้ และถ้าเราเป็นบุคคลที่ไม่เคยกระทำสิ่งเหล่านี้  เราก็สามารถปฏิบัติได้เช่นเดียวกัน  การช่วยเหลือบุคคลอื่นนั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่ก็ดีในทางโลก  ส่วนการปฏิบัติเจริญสติ  สมาธิ  ปัญญา  นั้นดีในทุกๆทาง  ดังนั้นก่อนที่เธอจะสอนผู้อื่นเธอควรจะฝึกฝนตัวเองกระทั่งเธอเห็น  รู้  และเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งและอย่างแท้จริง  เมื่อเธอเห็นจริง  รู้จริง และเป็นจริงแล้ว เธอจะสามารถสอนผู้อื่นได้อย่างสบาย
             ดังนั้นการปฏิบัตินี้เราต้องเรียนด้วยตัวของเราเอง  เราต้องสอนตัวเราเอง  เราต้องเห็นด้วยตัวของเราเอง เราต้องรู้ด้วยตัวของเราเอง  เราต้องเข้าใจด้วยตัวของเราเอง  เราต้องทำด้วยตัวของเราเอง  ดังนั้นเธอไม่จำต้องสนใจในบุคคลอื่นเพียงปฏิบัติการเคลื่อนไหวนี้ให้มาก ทำเฉยๆ ไม่รีบร้อนไม่ลังเลสงสัยไม่คาดคิดล่วงหน้า  และทำโดยไม่คาดหวังผล  ให้ง่ายๆ และเพียงแต่เคลื่อนไหว เคลื่อนไหวทีละครั้งและรู้เมื่อเธอไม่รู้ปล่อยมันไป เมื่อเธอรู้ปล่อยมันไป บางครั้งเธอรู้บางครั้งเธอไม่รู้มันเป็นเช่นนั้น แต่ให้รู้ เมื่อร่างกายเคลื่อนไหวรู้มันเมื่อจิตใจเคลื่อนไหว รู้มัน การปฏิบัตินี้เป็นการปฏิบัติตลอด  ๒๔  ชั่วโมง  ดังนั้นให้ผ่อนคลายและให้เป็นธรรมชาติ  เป็นปกติธรรมดา จงตั้งใจปฏิบัติจริงๆ และปฏิบัติอย่างสบาย
วิธีของการเจริญสติในชีวิตประจำวัน
เมื่อเราขึ้นรถหรือลงเรือและนั่งลงเรียบร้อยแล้ว เราพลิกมือขึ้นพลิกมือลง เราเคลื่อนมือ เหยียดมือหรือคลึงนิ้วมือ กะพริบตา หายใจ กลืนน้ำลาย และอื่นๆ
                                               
               คลึงนิ้วมือ                    กำมือ                         เหยียดมือ
ให้รู้สึกตัวถึงการเคลื่อนไหวเหล่านี้มันเป็นวิธีที่เรียกความรู้สึกตัวให้กลับมา ที่ตัวของเราเอง เมื่อความคิดเกิดขึ้น ให้รู้สึกถึงความคิดนั้นและปล่อยวาง
     วิธีของการเจริญสติเมื่อเราอยู่ที่บ้าน
เราอาจจะนั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งบนเก้าอี้ หรือนั่งเหยียดขา เราอาจจะยืนหรือนอนสร้างจังหวะได้เช่นเดียวกันเมื่อเราเดินจงกรม (เดิน กลับไปกลับมาระยะประมาณ๘–๑๒ ก้าว)เราต้องไม่แกว่งแขน เราอาจกอดอก หรือเอามือประสานไว้ข้างหน้า หรือประสานไว้ข้างหลังก็ได้
วิธีปฏิบัติในท่านั่งมีดังนี้ (ดูภาพประกอบวิธีสร้างจังหวะ)
      
กล่องข้อความ:  1.มือทั้งสองข้าง
   คว่ำไว้ที่ขา                                                        2.พลิกมือขวาตะ
   แคงขึ้น....ให้รู้สึก
3.ยกมือขวาขึ้นครึ่ง 
 ตัวให้รู้สึกแล้วหยุด
4.เอามือขวาขึ้นมา
  ที่สะดือ.....ให้รู้สึก
5พลิกมือซ้ายตะแคง
 ขึ้น..ให้มีความรู้สึก 
6.ยกมือซ้ายขึ้นครึ่ง     
  ตัว.ให้มีความรู้สึก
7. เอามือซ้ายมาที่
   สะดือ.....ให้รู้สึก    
8. เลื่อนมือขวาขึ้น
   หน้าอก....ให้รู้สึก
9. เอามือขวาออก
   ตรงข้าง...ให้รู้สึก
10. ลดมือขวาลงที่ 
     ขาขวาตะแคงไว้...ให้รู้สึก              11. ว่ำมือขวาลงที่ขาขวา...ให้รู้สึก
12.ลื่อนมือซ้ายขึ้นที่อก.ให้มีความรู้สึก   13. เอามือซ้ายออกมาข้าง.ให้รู้สึก
14.ลดมือซ้ายออกที่ขาซ้ายตะแคงไว้ให้รู้สึก 15.คว่ำมือซ้ายลงที่ขาซ้าย..ให้รู้สึก
          จากนั้นทำเหมือนเดิมเป็นรอบๆไปเรื่อยๆ (วิธีการสร้างจังหวะนี้ เป็นการกำหนดความรู้ตัว เพื่อให้การเคลื่อนไหวนี้เป็นนิมิต เป็นเครื่องหมาย ในการตรวจสอนจิตจะเป็นการนำเอาจิตนั้นมาฝึกหัด หรือพัฒนาปรับปรุง แก้ไขให้ดียิ่งขึ้น (ซึ่งไปตรงกับคำสอนของพระพุทธเจ้า ในหลักสติปัฏฐานสูตร ที่ว่าให้มีการกำหนด กาย เวทนา จิตธรรม ให้มีสติสัมปะชัญญะ มีความ รู้สึกตัวทั่วพร้อม ในการเคลื่อนไหว คู้เหยียด แลเหลียว กระพริบตา หายใจ กลืนน้ำลาย เป็นต้น  ถ้าอยู่บนรถหรือในที่ชุมชนต่างๆที่ไม่เหมาะ กับการสร้าง จังหวะ  เราก็ให้วิธีพริกมือคว่ำมือ กำมือเหยียดมือ หรือจะกำหนดรู้ส่วนใด ส่วนหนึ่งของร่างกายก็ได้ )
                                              การเดมจงกรม
    การเดินจงกรมไม่ใช่เดินเป็นวงกลมแต่เดินกลับไปกลับมาให้รู้สึกตัว” โดยไม่ต้องแกว่งแขน ไม่ต้องบริกรรมไม่ต้องหลับตา ให้กำหนดความรู้สึกเฉยๆเส้นทางประมาณ 8-12 ก้าว เดินธรรมดาแต่ให้มีความ”รู้สึกตัว” รู้อยู่กับการเคลื่อนไหวกลับไปกลับมา  เพื่อเป็นการสลับกับการสร้างจังหวะ จะได้เจริญสติได้ยาวนานและต่อเนื่อง  เมื่อนั่งเหนื่อยก็ลุกขึ้นมาเดิน (สลับไปสลับมา)

      
                                   ++++++++++++++++
 
                                                
                                                  
                                                




      
                        สัพพัญญูรู้กว้างไกล  เปรียบใบไม้ทั้งป่า
                        แต่ทรงคัด สอนชี้นำ  กำมือเดียว