ภาค 7 สวดมนต์พิธี
ชุมนุมเทวดา
สัคเค กาเม จะรูเป คิริสิขะระตะเฏ จันตะลิกเข วิมาเน, ทีเปรัฏเฐ จะ คาเมตะรุวะนะคะหะเน เคหะวัตถุมหิ เขตเต, ภุมมาจายันตุ เทวา ชะละถะละวิสะเม ยักขะคันธัพพะนาคา, ติฏฐันตา สันติเก ยัง มุนิวะระวะจะนัง สาธะโว เม สุ ณันตุ, ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา, (ว่า 3 รอบ)
นมการสิทธิคาถา
โย จักขุมา โมหะมาลาปะกัฏโฐ, ท่านพระองค์ใดมีพระ
ปัญญาจักษุขจัดมลทิน คือโมหะเสียแล้ว,
สามัง วะพุทโธ สุคะโต วิมุตโต, ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
โดยลำพังพระองค์เอง, เสด็จไปดีพ้นไปแล้ว,
มารัสสะ ปาสา วินิโม จะยันโต ปาเปสิ เขมัง ชะนะตัง
วิเนยยัง, ทรงเปลื้องชุมนุมชนอันเป็นเวไนย
จากบ่วงแห่งมาร,นำให้ถึงความเกษม,
พุทธังวะรันตัง สิระสานะมามิ, ข้าพระพุทธเจ้า ขอถวาย
นมัสการ พระพุทธเจ้าผู้บวร พระองค์นั้น,
โลกัสสะ นาถัญจะ วินายะกัญจะ, ผู้เป็นนาถะแลเป็นผู้
นำแห่งโลก,
ตันเตชะสาเต ชะยะสิทธิ โหตุ, ด้วยเดชพระพุทธเจ้านั้น,
ขอความสำเร็จแห่งชัยชนะจงมีแก่ท่าน,
สัพพันตะรายา จะวินาสะเมนตุ, แลขออันตราย
ทั้งมวลจงถึงความพินาศ,
ธัมโม ธะโช โย วิยะ ตัสสะ สัตถุ, พระธรรมเจ้าใดเป็น
ดุจธงชัยแห่งพระศาสดาพระองค์นั้น,
ทัสเสสิโลกัสสะ วิสุทธิมัคคัง, สำแดงทางแห่ง
ความบริสุทธิ์แก่โลก,
นิยยานิโก ธัมมะธะรัสสะธารี, เป็นคุณอันนำ
ยุคเข็ญ คุ้มครองชนผู้ทรงธรรม,
สาตาวะโห สันติกะโร สุจิณโณ, ประพฤติดีแล้ว
นำความสุขมาทำความสงบ,
ธัมมัง วะรันตัง สิระสา นะมามิ, ข้าพระพุทธเจ้าขอ
ถวายนมัสการ พระธรรมอันบวรนั้น,
โมหัปปะทาลัง อุปะสันตะทาหัง, อันทำลายโมหะ
ระงับความเร่าร้อน,
ตันเตชะสา เต ชะยะสิทธิ โหตุ, ด้วยเดชพระธรรมเจ้า
นั้น ขอความสำเร็จแห่งชนะจงมีแก่ท่าน,
สัพพันตะรายา จะวินาสะเมนตุ, แลขออันตราย
ทั้งมวลจงถึงความพินาศ,
สัทธัมมะเสนาสุคะตานุโค โย, พระสงฆเจ้าใด,
เป็นเสนาประกาศพระสัทธรรม,
ดำเนินตามพระศาสดาผู้เสด็จดีแล้ว,
โลกัสสะ ปาปูปะกิเลสะเชตา, ผจญเสียซึ่งอุปกิเลส
อันลามกของโลก,
สันโต สะยัง สันตินิโยชะโก จะ, เป็นผู้สงบเองด้วย
ประกอบผู้อื่นไว้ในความสงบด้วย,
สะวากขาตะธัมมัง วิทิตัง กะโรติ, ย่อมทำพระธรรม
อันพระศาสดาตรัสดีแล้ว ให้มีผู้รู้ตาม,
สังฆัง วะรันตัง สิระสา นะมามิ, ข้าพระพุทธเจ้าขอ
ถวายนมัสการ พระสงฆเจ้าผู้บวรนั้น,
พุทธา นุพุทธัง สะมะสีละทิฎฐิง, ผู้ตรัสรู้ตามพระ
พุทธเจ้ามีศีลแลทิฎฐิเสมอกัน,
ตันเตชะสา เต ชะยะสิทธิ โหตุ, ด้วยเดชพระสงฆเจ้านั้น
ขอความ สำเร็จแห่งชัยชนะจงมีแก่ท่าน,
สัพพันตะรายา จะ วินาสะเมนตุ, แลขออันตราย
ทั้งมวลจงถึงความ พินาศเทอญ
3.นโมการรัฏฐกคาถา,
นะโม อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ มเหสิโน,
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาค, อรหันตสัม
มา สัมพุทธเจ้า ผู้แสวงหาซึ่งประโยชน์อันใหญ่,
นะโม อุตตะมะธัมมัสสะ สะวากขาตัสเสวะ เตนิธะ,
ขอนอบน้อมแด่พระธรรมอันสูงสุดใน
พระศาสนานี้ ที่พระองค์ตรัสดีแล้ว,
นะโม มะหาสังฆัสสาปิ วิสุทธะสิละทิฏฐิโน,
ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์หมู่ใหญ่
ผู้มีศีลแลทิฏฐิอันหมดจด,
นะโม โอมาตยารัทธัสสะ ระตะนัตตะยัสสะ สาธุกัง,
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัยที่ปรารภ
แล้ว ว่าโอมดังนี้ ให้สำเร็จประโยชน์
นะโม โอมะกาตีตัสสะ ตัสสะ วัตถุตตะยัสสะปิ,
ขอนอบน้อมแม้แด่หมวดวัตถุ ๓
อันล่วงพ้นโทษต่ำช้านั้น,
นะโม การัปปะภาเวนะ วิคัจฉันตุ อุปัททะวา,
ด้วยความประกาศการกระทำความนอบ
น้อม, อุปัทวะทั้งหลายจงปราศจากไป,
นะโม การานุภะเวนะ สุวัตถิ โหตุ สัพพะทา,
ขอความสวัสดีจงมีทุกเมื่อ,
นะโม การัสสะ เตเชนะ วิธิมหิ โหมิ เตชะวา,
ด้วยเดชแห่งการกระทำความนอบน้อม,
เราจงเป็นผู้มีเดช ในมงคลพิธีเถิด
มงคลสูตร (อะเสวนา)
อะเสวะนา จะ พาลานัง, การไม่คบคนพาล,
ปัณฑิตานัญ จะ เสวะนา, การคบบัณฑิต,
ปูชา จะ ปูชะนียานัง, การบูชาต่อบุคคลควรบูชา,
เอตัมมัง คะละมุต ตะมัง, กิจสามอย่างนี้เป็นมงคล
อันสูงสุด,
ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ, การอยู่ในประเทศอันสมควร,
ปุพเพ จะ กะตะปุญญะตา, การเป็นผู้มีบุญได้ทำไว้ก่อน,
อัตตะสัมมาปะณิธิ จะ , การตั้งตนไว้ชอบ,
เอตัมมัง คะละมุต ตะมัง, กิจสามอย่างนี้เป็นมงคล
อันสูงสุด,
พาหุสัจจัญจะ, การเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก,
สิปปัญจะ, การมีศิลปวิทยา,
วินะโย จะ สุสิกขิโต, วินัยที่ศึกษาดีแล้ว,
สุภาสิตา จะ ยา วาจา, วาจาที่เป็นสุภาษิต,
เอตัมมังคะละมุตตะมัง, กิจสี่อย่างนี้ เป็นมงคล
อันสูงสุด,
มาตาปิตุอุปัฏฐานัง, การบำรุงเลี้ยงมารดาบิดา,
ปุตตะทารัสสะสังคะโห, การสงเคราะห์บุตรและภรรยา,
อะนากุลา จะ กัมมันตา, การงานที่ไม่ยุ่งเหยิงสับสน,
เอตัมมัง คะละมุต ตะมัง, กิจสามอย่างนี้ เป็นมงคล
อันสูงสุด,
ทานัญ จะ, การบำเพ็ญทาน,
ธัมมะจะริยา จะ, การประพฤติธรรม,
ญาตะกานัญ จะ สังคะโห, การสงเคราะห์หมู่ญาติ,
อะนะวัชชานิ กัมมานิ, การงานอันปราศจากโทษ,
เอตัมมัง คะละมุต ตะมัง, กิจสี่อย่างนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,
อาระตี วิระตี ปาปา, การงดเว้นจากบาปกรรม,
มัชชะปานา จะ สัญญะโม, การเหนี่ยวรั้งใจไว้ได้
จากการดื่มน้ำเมา,
อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ, การไม่ประมาทใน
ธรรมทั้งหลาย,
เอตัมมัง คะละมุต ตะมัง, กิจสามอย่างนี้
เป็นมงคลอันสูงสุด,
คาระโว จะ, ความเคารพ,
นิวาโต จะ, ความถ่อมตัว,
สันตุฏฐี จะ, ความสันโดษ,
กะตัญญุตา, ความกตัญญู,
กาเลนะธัมมัสสะวะนัง, การฟังธรรมตามกาล,
เอตัมมัง คะละมุต ตะมัง, กิจห้าอย่างนี้เป็น
มงคลอันสูงสุด,
ขันตี จะ, ความอดทน,
โสวะจัสสะตา, ความเป็นคนว่าง่าย,
สะมะณานัญ จะ ทัสสะนัง, การพบเห็นผู้สงบจากกิเลส,
กาเลนะ ธัมมะสากัจฉา, การสนทนาธรรมตามกาล,
เอตัมมังคะละมุตตะมัง, กิจสี่อย่างนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,
ตะโปจะ, ความเพียรเผากิเลส,
พรัหมะจะริยัญจะ, การประพฤติพรหมจรรย์,
อะริยะสัจจานะ ทัสสะนัง, การเห็นของจริงของพระอริยเจ้า,
นิพพานะสัจฉิกิริยา จะ, การทำพระนิพพานให้แจ้ง,
เอตัมมังคะละมุตตะมัง, กิจสี่อย่างนี้เป็นมงคลอันสูงสุด,
ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ
จิตตัง ยัสสะนะ กัม ปะติ, จิตของผู้ใดอันโลกธรรม
ทั้งหลาย ถูกต้องแล้ว
ย่อมไม่หวั่นไหว,
อะโสกัง, เป็นจิตไม่เศร้าโศก,
วิระชัง, เป็นจิตไร้ธุลีกิเลส ,
เขมัง, เป็นจิตเกษมศานต์,
เอตัมมังคะละมุตตะมัง, กิจสี่อย่างนี้ เป็นมงคลอันสูงสุด,
เอตาทิสานิ กัตตะวานะ สัพพัตถะมะปะราชิตา
สัพพัตถะโสตถิง คัจฉันติตันเตสัง มังคะละมุตตะมันติ,
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ได้กระทำมงคลเช่นมงคล
เหล่านี้ ให้มีในตนได้แล้ว จึงเป็นผู้ไม่พ่ายแพ้ในที่ทั้งปวง
ย่อมถึงซึ่งความสวัสดีในทุกสถานข้อนั้นเป็นมงคล อัน
สูงสุด ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้นโดยแท้,
อิติ, ด้วยประการฉะนี้แลฯ.
รัตนสูตร(ยังกิญจิ)
ยังกิญจิ วิตตัง อิธะ วา หุรัง วา, ทรัพย์อย่างใด
อย่างหนึ่ง ในโลกนี้หรือในโลกอื่น,
สัคเคสุ วา ยัง ระตะนัง ปะณีตัง, หรือรัตนะใด
อันสูงค่า ในสรวงสวรรค์,
นะ โน สะมัง อัตถิ ตะถาคะเตนะ, ทรัพย์
หรือรัตนนั้นๆ ที่จะเสมอด้วย
พระตถาคตเจ้า มิได้มีเลย,
อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง, ข้อนี้จัดเป็น
รัตนคุณอันสูงส่ง ในพระพุทธเจ้า,
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ, ด้วยคำสัตย์นี้
ขอความสวัสดีจงบังเกิดมีเถิด,
ขะยัง วิราคัง อะมะตัง ปะณีตัง ยะทัชฌะคา
สักกะยะมุนี สะมาหิโต, พระศากยมุนีเจ้า ทรงมี
พระหฤทัยดำรง มั่นได้บรรลุธรรม
อันใดเป็นที่สิ้นกิเลส เป็นที่สิ้น
ราคะ เป็นอมตะอย่างแท้จริง,
นะเตนะ ธัมเมนะ สะมัตถิ กิญจิ, สิ่งใดๆ ที่
เสมอ ด้วยพระธรรมนั้น ย่อมไม่มี,
อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง, ข้อนี้จัดเป็น
รัตนคุณอันสูงส่งในพระธรรม,
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ, ด้วยคำสัตย์นี้
ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด,
ยัมพุทธะเสฎโฐ ปะริวัณณะยี สุจิง, พระพุทธเจ้า
ผู้ประเสริฐสุด ทรงสรรเสริญ
สมาธิใด ว่าเป็นธรรมอันสะอาด,
สะมาธิมานันตะริกัญญะมาหุ, บัณฑิตทั้งหลายกล่าว
ถึงสมาธิใด ว่าให้ผลไม่มีสิ่งใดคั่นได้,
สะมาธินาเตนะ สะโม นะ วิชชะติ,สมาธิอื่น ที่
เสมอด้วยสมาธินั้น ย่อมไม่มี,
อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง, ข้อนี้จัดเป็น
รัตนคุณ อันสูงส่งในพระธรรม,
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ, ด้วยคำสัตย์นี้
ขอความสวัสดีจงบังเกิดมีเถิด,
เย ปุคคะลา อัฏฐะ สะตัง ปะสัตถา, บุคคล
เหล่าใด นับเรียงองค์ได้เป็น 8,
จัตตาริ เอตานิ ยุคานิ โหนติ, นับเป็นคู่ได้4คู่ อัน
สัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญแล้ว,
เตทักขิเณยยา สุคะตัสสะ สาวะกา, บุคคล
เหล่านั้น เป็นสาวกของพระสุคต
เจ้า เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน,
เอเตสุ ทินนานิ มะหัปผะลานิ, ทานทั้งหลาย
ที่บุคคลถวาย ในทานเหล่า
นั้น ย่อมมีผลเป็นอันมาก,
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง, ข้อนี้จัดเป็น
รัตนคุณอันสูงส่ง ในพระสงฆ์,
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ, ด้วยคำสัตย์นี้
ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีเถิด,
เย สุปปะยุตตา มะนะสา ทัฬเหนะนิกกามิโน โค
ตะมะสาสะนัม หิ, บุคคลทั้งหลายเหล่าใด ประกอบความ
เพียรอย่างดี ดำเนินไปในศาสนา
ของพระโคดมเจ้า ด้วยใจอันมั่นคง,
เต ปัตติปัตตา อะมะตัง วิคัยหะ, บุคคลทั้งหลาย
เหล่านั้น หน่วงเอาพระนิพพาน
เป็นอารมณ์ ได้บรรลุคุณอันควร
บรรลุคือ พระอรหัตตผลแล้ว,
ลัทธา มุธา นิพพุติง ภุญชะมานา, จึงได้เสวย
อมตะรส คือความสงบเย็น
จากความเร่าร้อนทั้งปวง,
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง, ข้อนี้จัดเป็น
รัตนคุณอันสูงส่ง ในพระสงฆ์,
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ, ด้วยคำสัตย์นี้
ขอความสวัสดีจงบังเกิดมีเถิด,
ขีณัง ปุราณัง นะวัง นัตถิ สัมภะวัง, กรรมเก่า
ของพระอริยบุคคลเหล่าใด สิ้น
แล้ว กรรมสมภพใหม่ย่อมไม่มี,
วิรัตตะจิตตา ยะติเก ภะวัสสะมิง, พระอริยบุคคลเหล่า
ใด มีจิตอันหน่ายแล้วในภพต่อไป,
เต ขีณะพีชา อะวิรุฬหิฉันทา, พระอรหันต์เหล่านั้น
มีพืชคือวิญญาณสิ้นไปแล้ว ไม่
มีความพอใจที่จะเกิดอีกต่อไป,
นิพพันติ ธีรา ยะถายัมปะทีโป, เป็นผู้มีปัญญา
ย่อมนิพพาน เหมือนดังดวง
ประทีปที่ดับไปฉะนั้น,
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง, ข้อนี้จัดเป็น
รัตนคุณ อันสูงส่งในพระสงฆ์,
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ, ด้วยคำสัตย์นี้
ขอความสวัสดีจงบังเกิดมีเถิด.
.กรณียเมตตสูตร
กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ ยันตัง สันตัง ปะทัง
อภิสะ เมจจะ, กิจอันใดอันพระอริยเจ้าบรร
ลุบท อันระงับกระทำแล้ว,
กิจนั้นอันกุลบุตรผู้ ฉลาด
ในประโยชน์ พึงกระทำ,
สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ, กุลบุตรนั้น พึงเป็นผู้อาจ
หาญ และซื่อตรงดี,
สุวะโจ จัสสะมุทุ อะนะติมานี, เป็นผู้ที่ว่าง่าย
อ่อนโยนไม่มีอติมานะ,
สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ, เป็นผู้สันโดษเลี้ยงง่าย,
อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ, เป็นผู้มีกิจธุระน้อย
ประพฤติเบากายจิต,
สันตินทริโย จะ นิปะโก จะ, มีอินทรีย์อันระงับ
แล้วมีปัญญา,
อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ, เป็นผู้ไม่คะนอง
ไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย,
นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ เยนะ วิญญู
ปะเร อุปะวะเทยยุง, วิญญูชนติเตียนชนทั้งหลาย
ได้ด้วยกรรม อันใด, ไม่พึง
ประพฤติกรรมอันนั้น เลย,
สุขิโน วา เขมิโน โหนตุ สัพเพ สัตตา
ภะวันตุ สุขิตัตตา, ขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้มี
สุข, มีความเกษมมีตนถึง
ความสุขเถิด,
เย เกจิ ปาณะ ภูตัตถิ, สัตว์มีชีวิตทั้งหลาย
เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีอยู่,
ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา, ยังเป็นผู้สะดุ้ง
หรือเป็นผู้มั่นคงทั้งหมดไม่เหลือ,
ทีฆาวา เย มะหันตา วา มัชฌิมา รัสสะกา
อณุกะถูลา, เหล่าใดยาว หรือใหญ่หรือ
ปานกลางหรือสั้น หรือผอมพี,
ทิฏฐา วาเย จะอะทิฏฐา เย จะทูเร วะสันติ อะวิทูเร,
เหล่าใดที่เราเห็นแล้วหรือ มิได้เห็น
เหล่าใด อยู่ในที่ไกลหรือที่ไม่ไกล,
ภูตาวา สัมภะเวสีวา, ที่เกิดแล้วหรือกำลังแสวงหาภพก็ดี,
สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา, ขอสัตว์ทั้งปวงเหล่า
นั้นจงเป็น ผู้มีตนถึงความสุขเถิด,
นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ, สัตว์อื่นไม่พึงข่มเหงสัตว์อื่น,
นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ, อย่าพึงดูหมิ่น
อะไรๆ เขาในที่ไรๆเลย,
พะยาโรสะนา ปะฏิฆะสัญญา นาญญะมัญ
ญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ, ไม่ควรปรารถนาทุกข์
แก่กัน และกัน, เพราะความ
กริ้วโกรธ และความคุมแค้น,
มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง อายุสา เอกะปุตตะ
มะนุรักเข, มารดาถนอมลูกคนเดียว ผู้เกิด
ในตน, ด้วยยอมพร่าชีวิตได้ฉันใด,
เอวัมปิ สัพพะภูเตสุ มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง,
พึงเจริญเมตตามีในใจ, ไม่มีประ
มาณ ในสัตว์ทั้งปวง, แม้ฉันนั้น,
เมตตัญจะ สัพพะโลกัสมิง มานะสัมภาวะเย
อะปะริมาณัง, บุคคลพึงเจริญเมตตามีในใจ,
ไม่มีประมาณไปในโลกทั้งสิ้น,
อุทธัง อะโธ จะติริยัญจะ, ทั้งเบื้องบนเบื้องต่ำเบื้องเฉียง,
อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัสตัง, เป็นธรรมอัน
ไม่คับแคบไม่มีเวร ไม่มีศัตรู,
ติฏฐัญจะรัง นิสินโน วา, ผู้เจริญเมตตาจิตนั้นยืน
อยู่ก็ดี เดินไปก็ดีนั่งแล้วก็ดี,
สะยาโนวา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ, นอนแล้วก็ดี เป็น
ผู้ปราศจากความง่วงนอนเพียงใด,
เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ, ก็ตั้งสติอันนั้นได้เพียงนั้น,
พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ, บัณฑิตทั้งหลาย
กล่าวกิริยาอันนี้ว่า, เป็น
พรหมวิหารในพระศาสนานี้,
ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีละวา, บุคคลที่มีเมตตา
ไม่เข้าถึงทิฏฐิ เป็นผู้มีศีล,
ทัสสะเนนะ สัมปันโน, ถึงพร้อมแล้วด้วยทัสสนะ
กาเมสุ วิเนยยะเคธัง, นำความหมกมุ่นในกามทั้งหลายออก,
นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตี ติ, ย่อมไม่ถึงความ
นอนในครรภ์อีก โดยแท้ทีเดียวแล.
ปกิรณกคาถา (ยันทุน)
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โย จามะนาโป สะกุ ณัสสะสัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง พุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ,ลางชั่วร้ายอันใดและอวมงคลอันใด
เสียงนกเป็นที่ไม่ชอบใจอันใด และบาปเคราะห์อันใด
สุบิน(ความฝัน) ชั่วอันไม่พอใจอันใดมีอยู่,ขอสิ่ง, เหล่า
นั้น จงถึงความพินาศไป ด้วยอานุภาพพระพุทธเจ้า.
(ว่าซ้ำ 3 ครั้งเปลี่ยนเฉพาะ...)
(ครั้งที่ 2)ธัมมานุภาเวนะ ด้วยอานุภาพพระธรรม,
(ครั้งที่ 3)สังฆานุภาเวนะ ด้วยอานุภาพพระสงฆเจ้า,
...........................*********...........................
สักกัตตะวา
สักกัตตะวา พุทธะระตะนัง, เพราะกระทําความเคารพ
ซึ่งพระพุทธรัตนะ,
โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง, อันเป็นดังโอสถประเสริฐสุด,
หิตัง เทวะมะนุสสานัง, เกื้อกูลแก่เทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย,
พุทธะเตเชนะ โสตถินา นัสสันตุปัททะวา สัพเพ
ทุกขา วูปะสะเมนตุ เต, ขออุปัทวะทั้งหลายจงหายไป
ขอทุกข์ทั้งหลายของท่านจง
สงบไปโดยดี ด้วยพระเดช
แห่งพระพุทธเจ้า เทอญ,
สักกัตวา ธัมมะระตะนัง, เพราะกระทําความเคารพ
ซึ่งพระธรรมรัตนะ,
โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง, อันเป็นดังโอสถประเสริฐสุด,
ปะริฬาหูปะสะนัง, ดับความเร่าร้อนเพราะกิเลสเสียได้,
ธัมธะเตเชนะ โสตถินา นัสสันตุปัททะวา
สัพเพ ภะยา วูปะสะเมนตุ เต, ขออุปัทวะทั้งหลายจง
หายไป ขอภัยทั้งหลายของ
ท่านจงสงบไปโดยดี ด้วย
เดชแห่งพระธรรม เทอญ,
สักกัตวา สังฆะระตะนัง, เพราะกระทําความเคารพ
ซึ่งพระสังฆรัตนะ,
โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง, อันเป็นดังโอสถประเสริฐสุด,
อาหุเนยยัง ปาหุเนยยัง, เป็นผู้ควรแก่ของบูชา เป็น
ผู้ควรแก่การต้อนรับ,
สังฆะเตเชนะ โสตถินา นัสสันตุปัททะวา สัพเพ
โรคา วูปะสะเมนตุ เต, ขออุปัทวะทั้งหลายจงหายไป
ขอโรคทั้งหลายของท่าน จง
สงบไปโดยดี ด้วยเดชแห่งพระสงฆ์เทอญ,
.ยังกิญจิ (น้อย)
ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ, รัตนะหลาย
หลากมากชนิด อันมีอยู่ในโลก,
ระตะนัง พุทธะสะมัง นัตถิ, แต่รัตนะนั้นๆ ที่จะเสมอ
ด้วยพระพุทธรัตนะย่อมไม่มี,
ตัสสะมา โสตถี ภะวันตุ เต, เพราะเหตุนั้น ขอ
ความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน,
(ว่าซ้ำ 3 รอบเปลี่ยนเฉพาะ)
รอบ2. ธัมมะสะมัง, ด้วยพระธรรมรัตนะ,
รอบ3. สังฆะสะมัง, ด้วยพระสงฆรัตนะ,
เทวะตาอุยโยชะนะคาถา
ทุกขัปปัตตา จะ นิททุกขา ภะยัปปัตตา จะ นิพภะยา
โสกัปปัตตา จะ นิสโสกา โหนตุ สัพเพปิ ปาณิโน,
ขอสรรพสัตว์ทั้งหลายที่ถึงแล้วซึ่งทุกข์ จงเป็นผู้
ไม่มีทุกข์ และที่ถึงแล้วซึ่งภัยจงเป็นผู้ไม่มีภัย,
และที่ถึงแล้วซึ่งโศกจงเป็นผู้ไม่มีโศก,
เอตตาวะตา จะ อัมเหหิ สัมภะตัง ปุญญะสัมปะทัง
สัพเพเทวานุโมทันตุ, และขอเหล่าเทพเจ้าทั้งปวง
จงอนุโมทนาซึ่งบุญสมบัติ,
อันเราทั้งหลายก่อสร้างแล้ว
ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้,
สัพพะสัมปัตติสิทธิยา, เพื่ออันสำเร็จสมบัติทั้งปวง,
ทานัง ทะทันตุ สัทธายะ, มนุษย์ทั้งหลาย จงให้ทาน
ด้วยศรัทธา,
สีลัง รักขันตุ สัพพะทา, จงรักษาศีลในกาลทั้งปวง
ภาวะนาภิระตา โหนตุ, จงเป็นผู้ยินดีแล้วในภาวนา
คัจฉันตุ เทวะตา คะตา, เทวดาทั้งหลายที่มาแล้ว
เชิญกลับไปเถิด
สัพเพ พุทธา พะลัปปัตตา, พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ล้วน
ทรงพระกำลังทั้งหมด
ปัจเจกานัญจะ ยัง พะลัง อะระหันตานัญจะ เตเชนะ
รักขังพันธามิสัพพะโส, กำลังอันใดแห่งพระปัจเจกพุทธ
เจ้าทั้งหลาย, และแห่งพระอร-
หันต์ ทั้งหลายมีอยู่, ข้าพเจ้า
ขอผูกความรักษา,ด้วยเดชแห่ง
กำลังนั้น โดยประการทั้งปวง.
.
.นักขัตตะยัก
นักขัตตะยักขะภูตานัง ปาปัคคะหะนิวาระณา, ความ
ป้องกันบาปเคราะห์ทั้งหลาย
แต่สำนักแห่งเหล่านักษัตร
และยักษ์และภูตได้มีแล้ว,
ปะริตตัสสานุภาเวนะ, ด้วยอานุภาพแห่งพระปริตร,
หันตะวา เตสัง อุปัททะเว, จงกำจัดเสียซึ่งอุปัทวะทั้ง
หลาย แต่สำนักแห่งนักษัตร
และยักษ์และภูตเหล่านั้น,
(ว่าซ้ำ 3 รอบ)
พุทธชัยมงคลคาถา
๑. พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ , พระจอมมุนีได้ชนะพญามาร, ผู้นิรมิตแขนมากตั้งพัน ถืออาวุธครบมือ, ขี่คชสารครีเมขละ พร้อมด้วยเสนามารโห่ร้องก้องกึก, ด้วยธรรมวิธีทานบารมีเป็นต้น, ขอชัยมงคลทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน, ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น,
๒. มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ , พระจอมมุนีได้ชนะอาฬวกยักษ์, ผู้มีจิตกระด้างปราศ -จากความอดทน, ฤทธิ์พิลึกยิ่งกว่าพญามารเข้ามาต่อสู้ยิ่งนักจนตลอดรุ่ง, ด้วยวิธีทรมานเป็นอันดี, คือพระขันติ ขอชัยมง- คลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน, ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น,
๓. นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง ทา
วัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ, พระจอมมุนีได้ชนะช้างตัวประเสริฐชื่อนาฬาคิรี, เป็นช้างเมายิ่งนัก แสนที่จะทารุณประดุจไฟป่าและจักราวุธและสายฟ้า, ด้วยวิธีรดลงด้วยน้ำคือพระเมตตา, ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น,
๔.อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง ธาวันติโยชะนะปะถัง คุลิมาละวันตัง อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ, พระจอมมุนีมีพระหฤทัยไป ในที่จะกระทำอิทธิปาฎิหาริย์, ได้ชนะโจรชื่อองคุลิมาร แสนร้ายกาจ มีฝีมือถือดาบวิ่งไล่พระองค์ไปสิ้นทาง ๓ โยชน์ ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน, ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น,
๕.กัตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา จิญจายะ ทุฏฐะ วะจะนัง ชะนะกายะ มัชเฌ สันเตนะ โสมะ วิธินา ชิตะวา มุนินโทตันเตชะสาภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิ, พระจอมมุนีได้ชนะความกล่าวร้ายของนางจิญจมาณ วิกา, ทำอาการประหนึ่งว่ามีครรภ์, เพราะทำไม้มีสัณฐานอันกลมให้เป็นประดุจมีท้อง ด้วยวิธีสมาธิอันงาม, คือความระงับพระหฤทัยในท่ามกลางหมู่ชน, ขอชัยมงคลทั้งหลายจง
มีแก่ ท่านด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น,
๖.สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง วาทาภิโรปิตะ มะนังอติอันธะภูตัง ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ, พระจอมมุนีรุ่งเรืองแล้วด้วยประทีปคือปัญญา, ได้ชนะสัจจกนิครนถ์ ผู้มีอัชฌาสัยในที่จะสละเสียซึ่งความสัตย์, มีใจในที่จะยกถ้อยคำของตนให้สูงดุจยกธง, เป็นผู้มืดมนยิ่งนัก, ด้วยเทศนาญาณวิธีคือ รู้อัชฌาสัยแล้วตรัสเทศนา, ขอชัยมง-
คลทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน, ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น,
๗. นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง ปุตเตนะ เถระ ภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต อิทธู ปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสาเตภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ, พระจอมมุนีโปรดให้พระโมคคัลานเถระ พุทธชิโนรส, นิรมิตกายเป็นนาคราชไปทรมานพญานาคชื่อนันโท ปนันทะ, ผู้มีความรู้ผิดมีฤทธิ์มาก, ด้วยวิธีอันให้อุปเท่ส์แห่งฤทธิ์แก่พระเถระ, ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน, ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น,
๘. ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง พรัหมัง วิสุทธิ ชุติมิทธิพะกาภิธานัง ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา เต ชะยะมังคะลานิ , พระจอมมุนีได้ชนะพรหมผู้มีนามว่า ท้าวพกาผู้มีฤทธิ์, มีอันสำคัญตนว่าเป็นผู้รุ่งเรืองด้วยคุณอันบริสุทธิ์, มีมืออันท้าวภุชงค์ คือ ทิฏฐิที่ตนถือผิดรัดรึงไว้แน่นแฟ้นแล้ว, ด้วยวิธีวางยาอันพิเศษคือเทศนาญาณ, ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน, ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น,
9.เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา โย วาจะโน ทินะ ทิเนสะระเต มะตันที หิตะวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขังสุขัง อธิคะเมยยะ นะโร สะปัญ โญ, นรชนใด มีปัญญาไม่เกียจคร้าน, สวดก็ดี ระลึกก็ดี ซึ่งพระพุทธชัยมงคล ๘ คาถา, แม้เหล่านี้ทุกๆวัน, นรชนนั้นจะพึงละเสียได้ซึ่งอุปัทวะอันตรายทั้งหลายมีประการต่างๆ เป็นเอนก, ถึงซึ่งวิโมกขสิวาลัย อันเป็นบรมสุขแล.
\\vvviiiiiiiivvv\\
.ชยันโต
มหากรุณิโก นาโถ, ผู้เป็นที่พึ่งของสัตว์ ประกอบ
แล้ว ด้วยพระมหากรุณา,
หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา ปาระมี สัพพา, ยังบารมี
ทั้งหลายทั้งปวง ให้เต็มเพื่อ
ประโยชน์แก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย,
ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง, ถึงแล้วซึ่งความตรัสรู้อันอุดม,
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ, ด้วยความกล่าวคำสัตย์นี้,
โหตุ เต ชะยะ มังคะลัง, ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน,
ชยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง นันทิวัฑฒะโน เอวัง ตะวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเก สัพพะ
พุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติ, ขอท่านจงมีชัยชนะ
ในมงคลพิธีเหมือนพระจอมมุนีทรงชนะมารที่โคน
โพธิพฤกษ์, ถึงความเป็นผู้เลิศในสรรพพุทธาภิเษก,
ทรงปราโมทย์อยู่บนอปราชิตบัลลังก์อันสูง เป็นจอม
มหาปฐพี, ทรงเพิ่มพูนความยินดีแก่เหล่าประยูร-
ญาติศากยวงศ์ ฉะนั้นเทอญ,
สุนักขัตตัง สุมังคะลัง, เวลาที่สัตว์ประพฤติชอบ
ชื่อว่าฤกษ์ดีมงคลดี,
สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง, สว่างดี รุ่งดี,
สุขะโณ สุมุหุตโต จะ, แลขณะดี ครู่ดี,
สุยิฏฐัง พรัหมะ จาริสุ, บูชาดีแล้วในพรหมจารี
บุคคลทั้งหลาย,
ปะทักขิณัง กายะกัมมัง, กายกรรมเป็นประ
ทักษิณส่วนเบื้องขวา,
วาจากัมมัง ปะทักขิณัง, วจีกรรม เป็นประ
ทักษิณส่วนเบื้องขวา,
ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง, มโนกรรม เป็นประ
ทักษิณส่วนเบื้องขวา,
ปะณิธี เต ปะทักขิณา, ความปรารถนาของท่านเป็น
ประทักษิณ ส่วนเบื้องขวา,
ปะทักขิณานิกัตวานะ, สัตว์ทั้งหลายทำกรรมอันเป็น
ประทักษิณส่วนเบื้องขวาแล้ว,
ละภันตัตเถ ปะทักขิเณ, ย่อมได้ประโยชน์ทั้งหลายอัน
เป็นประทักษิณส่วนเบื้องขวา.
vvvvvv WWWWWW vvvvvv
สัพพะโรคะวินิมุตโต
สัพพะโรคะ วินิมุตโต, ท่านจงเป็นผู้พ้นจากโรคทั้งปวง,
สัพพะสันตา ปะวัชชิโต, จงเว้นจากความเดือนร้อนทั้งปวง,
สัพพะเวระ มะติกกันโต, จงล่วงเสียซึ่งเวรทั้งปวง,
นิพพุโต จะ ตุวัง ภะวะ, จงดับเสียซึ่งทุกข์ทั้งปวง
แห่งท่านทั้งหลาย,
สัจเจนะ จะ สีเลนะ จะ, ด้วยสัจจะก็ดีและด้วยศีลก็ดี,
ขันติเมตตา พะเลนะ จะ, ด้วยกำลังแห่งขันติและเมตตาก็ดี,
เตสัง พุทธานัง, แห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย,
อะนุรัก ขันตุ เต, จงรักษาท่านทุกเมื่อ,
อะโรคะ เยนะ จะ, ด้วยสภาวะหาโรคมิได้ก็ดี,
สุเข นะจะ, ด้วยความสุขก็ดี,
โหนตุเต, จงมีแด่ท่านทั้งหลายทุกเมื่อเทอญ
อนุโมทนารัมภคาถา
ยะถา วาริวะหา ปูรา ปะริปูเรนติ สาคะรัง,
ห้วงน้ำที่เต็มย่อมยังสมุทร
สาครให้บริบูรณ์ได้ ฉันใด,
เอวะเมวะ อิโต ทินนัง เปตานัง อุปะกัปปะติ,
ทานที่ท่านอุทิศให้แล้วในโลก
นี้, ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่
ผู้ที่ละโลกนี้ไปแล้วได้ฉันนั้น,
อิจฉิตัง ปัตถิตัง ตุมหัง, ขออิฏฐะผลที่ท่าน
ปรารถนาแล้ว ตั้งใจแล้ว,
ขิปปะเมวะ สะมิชฌะตุ, จงสำเร็จโดยฉับพลัน,
สัพเพ ปูเรนตุ สังกัปปา, ขอความดำริทั้งปวงจงเต็มที่,
จันโทปัณณะระโส ยะถา, เหมือนพระจันทร์ในวันเพ็ญ,
มะณี โชติระโส ยะถา, เหมือนแก้วมณีอันสว่างไสว
ควรยินดี.
สัพพีติโย วิวัชชันตุ, ความจัญไรทั้งปวงจงบำราศไป,
สัพพะโรโค วินัสสะตุ, โรคทั้งปวงของท่านจงหาย,
มาเตภะวัตวันตะราโย, อันตรายอย่ามีแก่ท่าน,
สุขี ฑีฆายุโก ภะวะ, ท่านจงเป็นผู้มีความสุขมีอายุยืน,
อะภิวาทะนะสี ลิสสะ นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน,
จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติอายุวัณโณ สุขัง พะลัง,
ธรรมสี่ประการคืออายุวรรณะ
สุขะ พละ ย่อมเจริญแก่บุคคล
ผู้มีปกติไหว้กราบ มีปกติอ่อน
น้อมต่อผู้ใหญ่เป็นนิจ.
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง, ขอสรรพมงคลจงมีแก่ท่าน,
รักขันตุ สัพพะเทวะตา, ขอเหล่าเทวดาทั้งปวง
จงรักษาท่าน,
สัพพะพุทธานุภาเวนะ, ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า,
สัพพะธัมมานุภาเวนะ, ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม,
สัพพะสังฆานุภาเวนะ, ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์,
สะทาโสตถี ภะวันตุเต, ขอความสวัสดีทั้งหลาย
จงมีแก่ท่าน ทุกเมื่อเทอญ.
โภชนานุโมทนา
อายุโท พะละโท, ผู้มีปัญญา ให้อายุ ให้กำลัง,
วัณณะโท ปฏิภาณะโท, ให้วรรณะ ให้ปฏิภาณ,
สุขัสสะ ทาตา เมธาวี, ผู้มีปัญญาให้ความสุข,
สุขัง โส อธิคัจฉะติ, ท่านย่อมประสบสุข,
อายุง ทัตวา พะลัง วัณณัง สุขัญจะ ปฏิภาณะโท,
บุคคลผู้ให้อายุ พละ วรรณะ
สุขะ และปฏิภาณ,
ทีฆายุ ยะสะวา โหติ ยัตถะ ยัตถูปะปัชชะตี ติ,
บังเกิดในที่ใดๆย่อมเป็นผู้มี
อายุยืน มียศในที่นั้นๆดังนี้แล.
มงคลจักรวาฬน้อย
สัพพะพุทธานุภาเวนะ, ด้วยอานุภาพ แห่งพระพุทธเจ้าทั้งปวง
สัพพะธัมมานุภาเวนะ, ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรมทั้งปวง,
สัพพะสังฆานุภาเวนะ, ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ทั้งปวง,
พุทธะระตะนัง ธัมมะระตะนัง สังฆะระตะนัง ติณณัง
ระตะนานังอานุภาเวนะ, ด้วยอานุภาพแห่งพระรัตนะ๓ คือ
พุทธรัตนะธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ,
จตุราสีติสะหัสสะธัมมักขันธา นุภาเวนะ, ด้วยอานุภาพ
แห่งพระธรรมขันธ์ ๘ หมื่น ๔ พัน,
ปิฏะกัตตะยานุภาเวนะ, ด้วยอานุภาพ แห่งพระไตรปิฎก,
ชินะสาวะกานุภาเวนะ, ด้วยอานุภาพแห่งพระสาวกของ
พระชินเจ้า,
สัพเพ เต โรคา, โรคทั้งหลายของท่าน,
สัพเพ เต ภะยา, ภัยทั้งหลายของท่าน,
สัพเพ เต อันตะรายา, อันตรายทั้งหลายของท่าน,
สัพเพ เต อุปัททวา, อุปัทวะทั้งหลายของท่าน,
สัพเพ เต ทุนนิมิตตา, นิมิตร้ายทั้งหลายของท่าน,
สัพเพ เต อะวะมังคะลา, อวมงคลทั้งหลายของท่าน,
วินัสสันตุ, จงพินาศไป,
อายุวัฑฒะโก, ความเจริญอายุ,
ธะนะวัฑฒะโก, ความเจริญทรัพย์,
สิริวัฑฒะโก, ความเจริญสิริ,
ยะสะวัฑฒะโก, ความเจริญยศ,
พะละวัฑฒะโก, ความเจริญกำลัง,
วัณณะวัฑฒะโก, ความเจริญวรรณะ,
สุขะวัฑฒะโก, ความเจริญสุข,
โหตุ สัพพะทา, จงมีในกาลทั้งปวง,
ทุกขะโรคะภะยา เวรา, ทุกข์โรคภัย และเวรทั้งหลาย,
โสกา สัตตุ จุปัททะวา, ความโศก ศัตรูและอุปัทวะทั้งหลาย,
อะเนกา อันตะรายาปิ, ทั้งอันตรายทั้งหลายเป็นเอนก,
วินัสสันตุ จะ เตชะสา, จงพินาศไปด้วยเดช,
ชะยะสิทธิ ธะนัง ลาภัง, ความชนะความสำเร็จทรัพย์ลาภ,
โสต ถิภาคะยัง สุขัง พะลัง, ความสวัสดี ความมีโชค
ความสุขและกำลัง,
สิริ อายุ จะ วัณโณ จะ, สิริ อายุ และ วรรณะ,
โภคังวุฑฒี จะ ยะสะวา, โภคะ ความเจริญ และ
ความเป็นผู้มียศ,
สะตะวัสสา จะ อายู จะ, กาลได้อายุยืนเป็นร้อยปี,
ชีวะสิทธี ภะวันตุ เต, และความสำเร็จกิจ ใน
ความเป็นอยู่ จงมีแก่ท่าน
ในกาลทุกเมื่อเทอญ.
กาละทานะสุตตะคาถา
กาเล ทะทันติ สะปัญญา วะทัญญู วีตะมัจฉรา, กาเล
นะทินนัง อะริเยสุอุชูภูเตสุ ตาทิสุ วิปปะสัน นะมานา, ตัสสะ วิปุลา โหติ ทักขิณา, ทายกทั้งหลายเหล่าใด,
เป็นผู้มีปัญญามีปรกติรู้จักคำพูด ปราศจากตระ
หนี่, มีใจเลื่อมใสแล้วในพระอริยเจ้าทั้งหลาย ซึ่ง
เป็นผู้ตรงคงที่, บริจาคทานทำให้เป็นของที่ตน
ถวาย โดยกาลนิยมในกาลสมัย, ทักขิณาของ
ทายกนั้นเป็นคุณสมบัติ มีผลไพบูลย์,
เย ตัตถะอะนุโมทันติ เวยยาวัจจัง กะโรนติวา,
ชนทั้งหลายเหล่าใดร่วมอนุโมทนา, หรือ
ช่วยกระทำการ ขวนขวายในทานนั้น,
นะเต นะทักขิณา โอนา, ทักษิณาทาน
ของเขามิได้บกพร่องไปด้วยเหตุนั้น,
เตปิ ปุญญัสสะ ภาคิโน, ชนทั้งหลายแม้
เหล่านั้น,ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งบุญนั้นด้วย
ตัสสะมา ทะเท อัปปะฏิวานะจิตโต ยัตถะ ทินนัง มะหัปผะลัง, เหตุนั้น ทายกควรเป็นผู้มีจิตไม่ท้อถอย,
ให้ทานในที่ใด ที่มีผลมากควรให้ในที่นั้น,
ปุญญานิ ปะระโลกัสสะมิง ปะติฏฐา โหนติปาณิ
นันติ, บุญที่ทำแล้วย่อมเป็นที่พึ่งอาศัย ของสัตว์
ทั้งหลายในกาลข้างหน้า ดังนี้แล.
ติโรกุฑฑะกัณฑะปัจฉิมภาค
อะทาสิ เม อะกาสิ เม ญาติมิตตา สะขา จะเม,
บุคคลมาระลึกถึงอุปการะอันท่านได้ทำแก่ตน ใน
กาลก่อนว่า, ผู้นี้ได้ให้สิ่งนี้แก่เรา, ผู้นี้ได้ทำกิจนี้ของ
เรา,ผู้นี้เป็นญาติเป็นมิตรเป็นเพื่อนของเราดังนี้,
เปตานัง ทักขิณัง ทัชชา ปุเพ กะตะมะนุสสะรัง,
ก็ควรให้ทักษิณาทานเพื่อผู้ที่ละโลกนี้ไปแล้ว,
นะหิ รุณณัง วา โสโก วา ยาวัญญา ปะริเทวะนา,
การร้องไห้ก็ดี การเศร้าโศกก็ดีหรือการร่ำไร
รำพันอย่างอื่นก็ดี, บุคคลไม่ควรทำทีเดียว,
นะ ตัง เปตานะมัตถายะ, เพราะว่าการร้องไห้เป็นต้นนั้น
ไม่เป็นประโยชน์แก่ญาติทั้งหลาย ผู้ละโลกนี้ไปแล้ว,
เอวัง ติฏฐันติ ญาติโย, ญาติทั้งหลายย่อมตั้งอยู่อย่างนั้น,
อะยัญจะ โข ทักขิณา ทินนา, ก็ทักษิณานุปาทานนี้แล,
อันท่านให้แล้ว,
สังฆัมหิ สุปะติฏฐิตา, ประดิษฐานไว้ดีแล้วในสงฆ์,
ทีฆะรัตตัง หิตายัสสะ ฐานะโส อุปะกัปปะติ,
ย่อมสำเร็จประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้ที่ละโลกนี้
ไปแล้วนั้น, ตลอดกาลนานตามฐานะ,
โส ญาติธัมโม จะ อะยังนิทัสสิโต,
ญาติธรรมนี้นั้น ท่านได้แสดงให้ปรากฎแล้ว
แก่ญาติทั้งหลาย ผู้ที่ละโลกนี้ไปแล้ว,
เปตานะ ปูชา จะ กะตา อุฬารา, แลบูชาอย่างยิ่ง, ท่านก็
ได้ทำแล้วแก่ญาติทั้งหลาย ผู้ที่ละโลกนี้ไปแล้วนั้น,
พะลัญ จะ ภิกขู นะมะนุปปะทินนัง, กำลังแห่ง
ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าท่านได้เพิ่มให้แล้วด้วย,
ตุมเหหิ ปุญญังปะสุตัง อะนัปปะกันติ,
บุญไม่น้อยท่าน ได้ขวานขวายแล้ว ดังนี้แล.
บังสุกุลตาย
อะนิจจา วะตะ สังขารา, สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ,
อุปปาทะวะยะธัมมิโน, มีความเกิดขึ้นแล้วมี
เสื่อมไปเป็นธรรมดา,
อุปปัชชิตะวา นิรุชฌันติ, ครั่นเกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไป,
เตสัง วูปะสะโม สุโข, ความเข้าไปสงบระงับสังขาร
เป็นความสุขอย่างยิ่ง,
บังสุกุลเป็น
อะจิรัง, วะตะ ยัง กาโย, ร่างกายนี้ มิได้ตั้งอยู่นาน,
ควรที่จะสังเวช,
ปะฐะวิง, อะธิเสสสะติ, จักนอนทับ, ซึ่งแผ่นดิน,
ฉุฑโฑ, อะเปตะวิญญาโณ, อันเขาทิ้งเสียแล้ว, ครั้น
ปราศจากวิญญาณ,
นิรัตถัง, วะ กะลิงคะรัง ประดุจดังว่าท่อนไม้ และ
ท่อนฟืน, หาประโยชน์มิได้.
จบภาค 7 มนต์พิธี
vvvvvvv WWWWWWW vvvvvvv
} ทางยาวไกลไปให้ถึง ~
การปฏิบัติธรรมก็เหมือนการไขกุญแจ ถ้าแม่ลูกสมดุลกันบิดไม่แรงก็ออก แต่ถ้าแม่ลูกไม่ใช่อันเดียวกัน บิดจนลูกหักก็ไม่ออก กายใจเราก็เหมือนกัน ถ้าทำถูกจุด ตรงเป้าหมาย ความทุกข์ก็หลุดออกเอง...แก้ ไม่ยาก...
7.โมรปริต (อุเทตะยัญจักขุมา)
อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส, พระอาทิตย์เป็นดวงตาของโลก เป็น
เจ้าแห่งแสงสว่างกำลังอุทัยขี้นมา
สาดแสงสีทองส่องพื้นปฐพี,
ตัง ตัง นะมัสสามิ, เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าขอ
นอบน้อม ซึ่งพระอาทิตย์นั้น
หะริสสะ วัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง, ผู้สาดแสง
สีทองส่องพื้นปฐพี,
ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง, ข้าพเจ้าทั้งหลาย
อันท่านคุ้มครองแล้ว พึงอยู่เป็นสุข
ตลอดเวลากลางวันวันนี้,
เย พราหมะนา เวทะคุ สัพพะ ธัมเม, ท่านผู้ลอยบาปได้แล้ว
เหล่าใดเป็นผู้รู้จบในธรรมทั้งปวง,
เต เม นะโม, ขอท่านผู้ลอยบาปแล้วเหล่านั้น จงรับ
ความนอบน้อมของข้าพเจ้าเถิด,
เต จะ มัง ปาละยันตุ, ขอท่านลอยบาปแล้วเหล่านั้น
โปรดรักษาข้าพเจ้าด้วยเถิด,
นะมัตถุ พุทธานัง, ความนอบน้อมของข้าพเจ้า
จงมีแต่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย,
นะมัตถุ โพธิยา, ความนอบน้อมของข้าพเจ้า
จงมีแต่พระโพธิญาณ,
นะโม วิมุตตานัง, ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแต่
ท่านผู้หลุดพ้นแล้วจากกิเลสทั้งหลาย,
นะโม วิมุตติยา, ความนอบน้อมของข้าพเจ้า
จงมีแต่วิมุตติธรรม,
อิมัง โส ปะริตตัง กัตตะวา โมโร จะระติ เอสะนา,
นกยูงนั้นกระทำปริตจึงเที่ยวแสวงหาอาหาร,
อเปตะยัญจักขุมา เอกะราชา หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส, พระอาทิตย์เป็นดวงตาของโลก เป็นเจ้า
แห่งแสงสว่าง
กำลังลาลับไป จากการส่องแสงแก่พื้นปฐพี,
---(ตั้งแต่ ตัง ตัง นะมัสสามิ, ไปจนถึง นะโมวิมุตติยา,
ว่าช้ำเหมือนกันทุกอย่างต่างกันวรรคสุดท้ายว่า ดังนี้...)
อิมัง โส ปริตตัง กัตตะวา โมโร วาสะมะกัปปะยีติ,
นกยูงนั้น กระทำปริตอันนี้แล้ว จึงพักผ่อนหลับนอน แล.
10. อังคุลิมาลปริต (ยะโตหัง)
ยะโตหัง ภะคินิ อะริยายะ ชาติยา ชาโต, ดูก่อนน้องหญิงจำเดิมแต่อาตมา
เกิดโดยชาติอริยะแล้ว,
นาภิชานามิ สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา โวโรเปตา, มิได้
รู้สึกว่าแกล้งจงใจ
ทำลายชีวิตสัตว์เลย,
อัคคัปปสาทสุตตคาถา
อัคคะโต เว ปะสันนานัง
อัคคัง ธัมมัง วิชานะตัง, เมื่อบุคคลรู้จักธรรมอันเลิศเลื่อมใสแล้ว
โดยความเป็นของเลิศ,
อัคเค พุทเธ ปะสันนานัง, เลื่อมใสแล้วในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ,
ทักขิเณยเย อะนุตตะเร, เป็นทักขิไณยบุคคลอันเยี่ยมยอด,
อัคเค ธัมเม ปะสันนานัง,
วิราคูปะสะเม สุเข,
เลื่อมใสแล้วในพระธรรมอันเลิศซึ่งเป็น
ธรรมปราศจากราคะแลสงบรำงับเป็นสุข
อัคเค สังเฆ ปะสันนานัง, เลื่อมใสแล้วในสงฆ์ผู้เลิศ,
ปุญญักเขตเต อะนุตตะเร, ซึ่งเป็นบุญเขตอย่างยอด,
อัคคัสมิง ทานัง ทะทะตัง, ถวายทานในท่านผู้เลิศนั้น,
อัคคัง ปุญญัง ปะวัฑฒะติ, บุญที่เลิศก็ย่อมเจริญ,
อัคคัง อายุ จะ วัณโณ จะ, อายุ วรรณะ ที่เลิศ,
ยะโส กิตติ สุขัง พะลัง, และยศ เกียรติคุณ สุขะ พละที่เลิศย่อมเจริญ,
อัคคัสสะ ทาตา เมธาวี, ผู้มีปัญญา ตั่งมั่นในธรรมอันเลิศแล้ว,
อัคคะธัมมะสะมาหิโต, ให้ทานแก่ท่านผู้เป็นบุญเขตอันเลิศ,
เทวะภูโต มนุสโสวา, จะไปเกิดเป็นเทวดา หรือไปเกิดเป็นมนุษย์ก็ตาม,
อัคคัปปัตโต ปะโมทะตีติ, ย่อมถึงความเป็นผู้เลิศ บันเทิงอยู่ดังนี้แล,
8.วัฏฏกปริต (อัตถิโลเก)
อัตถิ โลเก สีละคุโณ สัจจัง โสเจยยะนุททะยา, คุณคือศีล ความสัตย์
ความสะอาด และความเอ็นดูมีอยู่ในโลก,
เตนะ สัจเจนะ กาหานิ สัจจะกิริยะมะนุตตะรัง, ค้วยคำสัตย์นั้น
เราจักทำสัจจะกิริยา อันยอมเยี่ยม,
อาวัชชิตตะวา ธัมมะพะลัง, เราน้อมนึกถึงกำลังแห่งพระธรรม,
สะริตตะวา ปุพพะเก ชิเน, รำลึกถึงพระชินะพุทธเจ้าทั้งหลายในปางก่อน,
สัจจะพะละมะวัสสายะ สัจจะกิริยะมะกาสะหัง,
เราอาศัยกำลังแห่งสัจจะ จึงขอทำสัจจะกิริยา,
สันติ ปักขา อะปัตตะนา, ปีกทั้งสองของเราก็มีอยู่ แต่บินไม่ได้,
สันติ ปาทา อะวัญจะนา, เท้าทั้งสองของเราก็มีอยู่ แต่เดินไม่ได้,
มาตา ปิตา จะ นิกขันตา, มารดาและบิดาของเรา ก็ออกไปหาอาหารเสีย,
ชาตะเวทะ ปะฏิกกะมะ, นี่แน่ะไฟป่า ขอท่านจงหลีกไปเสียเถิด,
สะหะ สัจเจ กะเต มัยหัง มะหาปัชชะลิโต
สิขี วัชเชสิ โสฬะสะ กะรีสานิ, เมื่อเราทำสัจจะแล้ว เปลวไฟอันลุกโชติช่วง
ก็หลีกห่างออกไปถึง 16 กรีส,
อุทะกัง ปัตตะวา ยะถา สิขี, ดุจดังเปลวไฟ ที่ตกถึงน้ำแล้วย่อมดับไป ฉะนั้น
สัจเจนะ เม สะโม นัตถิ, สัจจะอื่นเสมอด้วยสัจจะของเรา ย่อมไม่มี,
เอสา เม สัจจะปาระมีติ, นี้เป็นสัจจะบารมีของเรา ดังนี้แล,
โส อัตถะลัทโธ สุขิโต, ท่านนั้น (ชาย) จงเป็นผู้มีประโยชน์
อันได้แล้ว ถึงแล้วซึ่งความสุข,
วิรุฬโห พุทธะสาสะเน, เจริญในพระพุทธศาสนา,
อะโรโค สุขิโต โหหิ, ไม่มีโรค ถึงแล้วซึ่งความสุข,
สะหะสัพเพหิ ญาติภิ, กับด้วยญาติทั้งหลายทั้งหมด,
สา อัตถะลัทธา สุขิตา, ท่านนั้น (หญิง) จงเป็นผู้มีประโยชน์
อันได้แล้ว ถึงแล้วซึ่งความสุข,
วิรุฬหา พุทธะสาสะเน, เจริญในพระพุทธศาสนา,
อะโรคา สุขิตา โหหิ, ไม่มีโรค ถึงแล้วซึ่งความสุข,
สะหะสัพเพหิ ญาติภิ, กับด้วยญาติทั้งหลายทั้งหมด,
เต อัตถะลัทธา สุขิตา, ท่านทั้งหลายนั้น (ทั้งชายหญิง) จงเป็นผู้มี
ประโยชน์อันได้แล้ว ถึงแล้วซึ่งความสุข,
วิรุฬหา พุทธะสาสะเน, เจริญในพระพุทธศาสนา,
อะโรคา สุขิตา โหถะ, ไม่มีโรค ถึงแล้วซึ่งความสุข,
สะหะสัพเพหิ ญาติภิ, กับด้วยญาติทั้งหลายทั้งหมด.
คำแปลสักเค ฝากไว้
สัคเค, กาเม, จะรูเป, คิริสิขะระตะเฏ, จันตะลิกเข วิมาเน, ข้าพเจ้าขออัญเชิญฝูงเทพยดา ซึ่งสิงสถิตอยู่ในฉกามา
พจรสวรรค์, อยู่ในกามภพ, อยู่ในรูปภพคือโสฬสมหา
พรหม, อีกทั้งเทพเจ้า ซึ่งสิงสถิตอยู่ในภูผาห้วยเหว
และคูหายอดคีรี, อยู่ในอากาศวิมานมาศมณเฑียรทอง,
ทีเป รัฏเฐ จะ คาเม, ตะรุวะนะคะหะเน เคหะวัตถุมหิ เขตเต, สิงสถิตอยู่ในเกาะแก้วเมืองหลวง และพระนครใหญ่
น้อย, สิงสถิตอยู่ในเคหะสถานบ้านน้อยและเมือง
ใหญ่ทั่วทุกชนบท
ภุมมา, จายันตุ เทวา, ชะละถะละวิสะเม, ยักขะคันธัพพะนาคา, ซึ่งสิงสถิตปรากฏในโรงศาลพระภูมิเจ้าที่, ข้าพเจ้า
ขออัญเชิญให้เร่งรีบเข้ามาในเวลา วันนี้ ให้พร้อมกัน,
อีกทั้งเทพยเจ้าซึ่งสิงสถิตอยู่ในห้วยหนองคลองบึง
บางแม่น้ำ ใหญ่ไพรพฤกษาทุกหย่อมหญ้าลดาวัลย์
ที่เสมอกันก็ดีไม่เสมอกันก็ดี, ใช่แต่เท่านั้นเมื่อไร
มีอีกทั้งยักษาคนธรรพ์ครุฑนาคา,
ติฏฐันตา, สันติเก ยัง มุนิวะระวะจะนัง, สาธะโว เม สุ ณันตุ, อีกทั้งเทพยเจ้าซึ่งสิงสถิตอยู่ในสถานใดๆ,ข้าพเจ้า
ขออัญเชิญเข้ามายังสำนักแห่งนักปราชญ์ อาจสำ
แดงธรรม,ดูก่อนสัปบุรุษพุทธบริษัททั้งหลายเอ๋ย
ถึงเวลาฤกษ์งามยามดี,
ธัมมัสสะวะนะกาโล, อะยัมภะทันตา, ข้าพเจ้าขออัญเชิญ
ให้เข้ามาสดับตรับฟังพระสัทธรรมพร้อมกัน, ดูก่อน
ท่านผู้ประเสริฐยอดยิ่งกว่ามนุษย์และเทวดา ข้าพ
เจ้า ขออัญเชิญมามั่วสุม ประชุมให้พร้อมเพรียงกัน
ในสถานที่นี้เถิด.
อาฏานาฏิยปริต (วิปัสสิส)
}}}}}}}} WWWWW ~~~~~~~~~
วิปัสสิสสะ นะมัตถุ, ความนอบน้อมจงมี แต่
พระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า,
จักขุมันตัสสะ สิรีมะโต, ผู้ทรงมีปัญญาจักษุ
ผู้ทรงไว้ซึ่งพระสิริ,
สิขิสสะปิ นะมัตถุ, ความนอบน้อมจงมี แด่
พระสิขีสัมมาสัมพุทธเจ้า,
สัพพะภูตานุกัมปิโน, ผู้ทรงมีพระทัยเอ็นดูต่อสัตว์ทั้งปวง,
เวสสะภูสสะ นะมัตถุ, ความนอบน้อมจงมี แด่พระ
เวสสภูสัมมาสัมพุทธเจ้า,
นะหาตะกัสสะ ตะปัสสิโน, ผู้ทรงมีกิเลสอันชำระแล้ว
ผู้ ทรงมีตบะธรรม,
นะมัตถุ กะกุสันธัสสะ, ความนอบน้อมจงมี แด่พระ
กกุสันธะสัมมาสัมพุทธเจ้า
มาระเสนัปปะมัททิโน, ผู้ทรงย่ำยีเสียได้ ซึ่งมารและ
เหล่าเสนาทั้งหลาย,
โกนาคะมะนัสสะ นะมัตถุ, ความนอบนัอมจงมีแด่พระ
โกนาคมนะสัมมาสัมพุทธเจ้า,
พราหมะณัสสะ วุสีมะโต, ผู้ทรงลอยบาปเสียได้ ผู้ทรง
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว,
กัสสะปัสสะ นะมัตถุ, ความนอบน้อมจงมี แด่
พระกัสสปะสัมมาสัมพุทธเจ้า,
วิปปะมุตตัสสะ สัพพะธิ, ผู้ทรงพ้นแล้วจากกิเลศทั้งปวง,
อังคีระสัสสะ นะมัตถุ, ความนอบน้อมจงมี แด่พระ
อังคีรสะสัมมาสัมพุทธเจ้า,
สักกะยะปุตตัสสะ สิรีมะโต, ผู้ทรงเป็นโอรสแห่งศากย
ราช ผู้ทรงไว้ซึ่งพระสิริ,
โย อิมัง ธัมมะมะเทเสสิ, ซึ่งได้ทรงแสดงธรรมนี้ไว้,
สัพพะทุกขาปะนูทานัง, อันเป็นเครื่องบรรเทาเสีย
ซึ่งทุกข์ทั้งปวง,
เย จาปิ นิพพุตา โลเก ยะถาภูตัง วิปัสสิสุง,อนึ่งแม้ชนเหล่า
ใดในโลก เห็นแจ้งธรรมตาม
ความเป็นจริงดับกิเลสได้แล้ว,
เต ชะนา อะปิสุณา มะหันตา วีตะสาระทา,
ชนเหล่านั้น ไม่มีความส่อ
เสียดเป็นผู้ใหญ่โดยคุณธรรม
ปราศจากความครั่นคร้ามแล้ว,
หิตัง เทวะมะนุสสานัง ยัง นะมัสสันติ โคตะมัง, พากันนอบ
น้อมอยู่ ซึ่งพระพุทธเจ้าพระ
องค์ใด ผู้ทรงเป็นโคตมโคตร
ผู้ทรงเกื้อกูล แก่เทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย,
วิชชาจะระณะสัมปันนัง, ผู้ทรงถึงพร้อมแล้ว
ด้วยวิชชาและจรณะ,
มะหันตัง วีตะสาระทัง, ผู้ทรงถึงความเป็นใหญ่ ปราศ-
จากความครั่นคร้ามใดๆแล้ว,
วิชชาจะระณะสัมปันนัง พุทธัง วันทามะ โคตะมันติ,
ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอนมัสการ
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้ทรง
เป็นโคตมโคตรผู้ทรงถึงพร้อม
แล้วด้วยวิชชาและจรณะดังนี้,
}}}}}}}}} WWWWW ~~~~~~~~~~
โพชฌังคปริต (โพชฌังโค)
โพชฌังโค สะติสังขาโต ธัมมานัง วิจะโย ตะถา,
โพชฌงค์ 7 ประการ คือ สติสัม
โพชฌงค์ ธรรมวิจยะสัมโพชฌงค์,
วิริยัมปิติ ปัสสัทธิ โพชฌังคา จะ ตะถาปะเร,
วิริยสัมโพชฌงค์ ปิติสัม
โพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์,
สะมาธุเปกขะโพชฌังคา, สมาธิสัมโพชฌงค์ และ
อุเบกขาสัมโพชฌงค์,
สัตเตเต สัพพะทัสสินา มุนินา สัมมะทักขาตา,
7 ประการเหล่านี้ เป็นธรรม
อันพระมุนีเจ้าผู้ทรงเห็นธรรม
ทั้งปวงตรัสไว้ชอบแล้ว,
ภาวิตา พะหุลีกะตา, อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว,
สังวัตตังติ อะภิญญายะ นิพพานายะ จะ โพธิยา,
ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อ
ความตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน
เอเตนะ สัจจะวัชชนะ, ด้วยการกล่าวคําสัตย์นี้
โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา, ขอความสวัสดี จงบังเกิดแก่
ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ,
เอกัสสะมิง สะมะเย นาโถ โมคคัลลานัญจะ, กัสสะปัง
คิลาเน ทุกขิเต ทิสสะวา, ในสมัยหนึ่ง พระโลกนาถเจ้า
ทอดพระเนตรเห็นพระโมคคัล
ลานะและพระมหากัสสปะ
เป็นไข้ได้รับความลําบาก,
โพชฌังเค สัตตะ เทสะยิ, จึงทรงแสดงโพชฌงค์๗
ประการ ให้ท่านทั้งสองฟัง,
เต จะ ตัง อะภินันทิตวา, ท่านทั้งสองนั้น ชื้นชมยินดียิ่ง
ซึ่งโพชฌงค์ธรรม,
โรคา มุจจิงสุ ตังขะเณ, ก็หายโรคได้ในบัดดล,
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ, ด้วยการกล่าวคําสัตย์นี้,
โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา, ขอความสวัสดีจงบังเกิดมีแก่
ท่านตลอดกาลทุกเมื่อ,
เอกะทา ธัมมะราชาปิ เคลัญเญนาปีฬิโต, ในครั้งหนึ่ง
องค์พระธรรมราชาเอง
ทรงประชวรเป็นไข้หนัก,
จุนทัตเถเรนะ ตัญเญวะ ภะณาเปตะวานะ สาทะรัง,
รับสั่งให้พระจุนทะเถระกล่าว
โพชฌงค์นั้นนั่นแลถวายโดย
เคารพ,
สัมโมทิตวา จะ อาพาธา ตัมหา วุฎฐาสิ ฐานะโส,
ก็ทรงบันเทิงพระหฤทัย หาย
จากพระประชวรนั้นได้โดยพลัน,
เอเตนะสัจจะวัชเชนะ, ด้วยการกล่าวคําสัตย์นี้,
โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา, ขอความสวัสดี จงบังเกิดมี
แก่ท่านตลอดกาลทุกเมื่อ,
ปะหีนา เต จะ อาพาธา ติณณันนัมปิ มะเหสินัง,
ก็อาพาธทั้งหลายนั้น ของพระ
ผู้ทรงคุณอันยิ่งใหญ่ทั้ง ๓ องค์
นั้น หายแลัวไม่กลับมาอีก,
มัคคาหะตะกิเลสาวะ ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง,
ดุจดังกิเลสถูกอริยมรรค
กำจัดเสียแล้วถึงซึ่งความ
ไม่เกิดอีกเป็นธรรมดา,
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ, ดัวยการกล่าวคำสัตย์นี้,
โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา, ขอความสวัสดีจงบังเกิดมีแก่
ท่านตลอดกาลทุกเมื่อเทอญ.